ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ DGA ให้แนวคิดที่น่าสนใจ ถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน หากแต่คำว่า “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” เริ่มในยุคของ ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐอเมริกาที่มีการประกาศนโยบายในด้านนี้เมื่ออดีตที่ผ่านมา เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและบริการภาครัฐได้สะดวกขึ้น โดยให้ทุกหน่วยงานนำข้อมูลและบริการขึ้นเป็นระบบออนไลน์ภายในระยะเวลา 1 ปี คือ ค.ศ. 2000
จากอดีต “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” สิ่งที่ประชาชนสามารถสัมผัสได้จากข้อมูลและบริการของภาครัฐไปอยู่บนเว็ปไซต์ เพื่อง่ายต่อความรวดเร็วและสะดวกอย่างเห็นได้ชัด อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์มีความสำคัญบทบาทในการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ถือเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่สำคัญ ดังนั้น หน่วยงานรัฐเริ่มเห็นถึงศักยภาพของอินเทอร์เน็ต จึงเกิดการพัฒนาระบบ Back office ให้สามารถมีส่วนที่ติดต่อต่อกับประชาชนผ่านเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าเป็นการ re-engineering ระบบสารสนเทศภายในของหน่วยงาน และการพัฒนาไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น โดยหน่วยงานได้ตระหนักว่าการเชื่อมโยงหน่วยงานเดียวไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ หากแต่ระหว่างหน่วยงานต้องเกิดการบูรณาการเชื่อมโยงกันมากขึ้น นั่นคือ “รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์” อนาคตของประเทศไทย
การเริ่มต้นของ “รัฐบาลดิจิทัล” เริ่มจากยุคแห่งการพัฒนา บารัค โอบามา ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาในยุคนั่น โลกแห่งการเปลี่ยนแปลงได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้ง การเปิดประตูข้อมูลสู่สาธารณะ ฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ต่อได้ทันที ผลคือ เกิดกระแสรัฐบาลเปิดกันทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Open Government ทั่วโลกการบูรณาการด้านภาครัฐเกิดขึ้น กระแสการเปิดข้อมูลถูกกล่าวถึงในโลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล โลกแห่งการไม่ปิดกั้นด้านข้อมูลของประชาชนเกิดขึ้น ประชาชนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ต่อได้อย่างง่ายและสะดวก ถือเป็นวิธีการใหม่ที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนของโลกแห่ง รัฐบาลดิจิทัล”
วันนี้ “รัฐบาลดิจิทัล” ความหวังอนาคตของประเทศไทย การเปลี่ยนวิธีการทำงานของภาครัฐแบบใหม่ ยกเลิกวิธีทำแบบเดิม อาทิ การกำหนดให้ประชาชนต้องวาดแผนที่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ ก็เปลี่ยนมาให้กรอกจุดพิกัดตำแหน่งโดยใช้ GPS แทน หรือ การให้ส่งสำเนาเอกสารโดยใช้โทรสารก็อาจจะใช้โปรแกรมแช็ตส่งแทน เป็นต้น เหล่านี้คือการคิดใหม่ที่คนภาครัฐต้องเริ่มหันมาให้ความสนใจ เพราะยุคดิจิทัลโลกแห่งการเชื่อมต่อ “รัฐบาลดิจิทัล” จะทำให้กลไกของการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนอย่างภาคประชาชนพร้อมขับเคลื่อนเดินหน้าไปกับประเทศ เกิดการใช้เครื่องมือใหม่ ๆ การทำธุรกรรมออนไลน์ กิจกรรม การตรวจสอบกับภาครัฐ นั่นคือการอนาคตของประเทศไทยกับ “รัฐบาลดิจิทัล” อย่างแท้จริง
ข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกับ “รัฐบาลดิจิทัล” สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ DGA
ประเทศไทยได้มีนโยบายด้านการเปิดข้อมูลตั้งแต่ปี 2558 ที่มีการจัดตั้งเว็บไซต์ Data.go.th ที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลเปิดจากภาครัฐ ปัจจุบันมีข้อมูลเปิดกว่า 1,000 ชุดข้อมูล คือ จุดเริ่มของการไปสู่รัฐบาลดิจิทัลที่จะทำให้ประชาชนมามีส่วนร่วมมากขึ้น