PR News

สสว. ผนึก ม.ศิลปากร หนุนสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEs ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

สสว. ผนึก ม.ศิลปากร หนุนสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEs ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

สสว. ผนึก ม.ศิลปากรหนุนสร้างความแข็งแกร่งให้ SMEs ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศเติบโตรับการแข่งขันตลาดโลก

สสว. ร่วมกับ ม.ศิลปากร แถลงความสำเร็จโครงการ “Digital Content Cluster Day” เพื่อประกาศศักยภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย และเป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนา เครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SMEs ปี 2561 พร้อมเปิดเวทีจับคู่เจรจาธุรกิจ คาดผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตราว 100 ล้านบาท แนะผู้ประกอบการไทยจดลิขสิทธิ์ เพื่อเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างยั่งยืน

Digital Content Cluster Day

คุณ สุวรรณชัย

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กล่าวว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ทางด้านดิจิทัลคอนเทนต์ได้จัดทำโครงการ “Digital Content Cluster Day” เพื่อประกาศศักยภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย และยังเป็นเวทีในการเจรจาธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มดิจิทัลคอนเทนต์ เพื่อนำไปสู่ขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาคลัสเตอร์  ในการกำหนดกรอบและแนวทางการส่งเสริม SMEs ให้มีความเข้มแข็งยั่งยืน  อีกทั้งยังขานรับนโยบาย Thailand Digital ที่ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ในอนาคต

คุณ สุวรรณชัย

“SMEs นับเป็นกลไกสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการพัฒนาผู้ประกอบการโดยการสร้าง ให้เกิดการรวมกลุ่มหรือเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งแนวคิดในการพัฒนาคลัสเตอร์เป็นเครื่องมือ ที่ สสว. นำนโยบายดังกล่าวมากำหนดแนวทางการส่งเสริม SMEs โดยมุ่งเน้นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่ายให้มี ศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ พร้อมนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาสนับสนุนการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุก” นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล กล่าว

ในการดำเนินโครงการครั้งนี้มีผู้ประกอบเข้าร่วม 400 ราย มีทั้งในรูปแบบรายบุคคลและบริษัท นิติบุคคล ทั้งนี้การจัดโครงการ“Digital Content Cluster Day” เป็นหนึ่งในกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2561 ด้วย

เสวนาผู้ประกอบการ

 ผศ. สมศักดิ์ ชาติน้ำเพ็ชร คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า สำหรับความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผนึกพลังศักยภาพจากภาครัฐ และภาคการศึกษาในการสนับสนุน และส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย เพื่อจะนำไปสู่การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นฐานสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศที่รัฐบาลให้การส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และการส่งเสริมศักยภาพการพัฒนาบุคลากร พร้อมเป็นศูนย์กลางพัฒนาองค์ความรู้และการเตรียมความพร้อมของบุคลากรสำหรับอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

“การจัดทำโครงการฯ เป็นการกระตุ้นความเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ประกอบการ เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการในเครือข่าย ให้มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการพัฒนาช่องทางการตลาดในเชิงรุกผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆ พร้อมกับสร้างการรับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ของไทยให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะสถาบันการศึกษา ในการพัฒนาและผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมจึงให้ความสำคัญในการทำงานร่วมกันกับภาคธุรกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม” ผศ. สมศักดิ์ ชาติน้ำเพ็ชร กล่าว

คุณ ณัฐพร

ผศ. ณัฐพร กาญจนภูมิ ผู้แทนคณะดำเนินงาน มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า สำหรับโครงการฯ ได้พัฒนา Digital Content Cluster ประกอบด้วย เครือข่ายอุตสาหกรรมลิขสิทธิ์ตัวละคร การสร้างแอนิเมชัน และด้านการให้บริการคอมพิวเตอร์กราฟิก ในรูปแบบกิจกรรม AnimaCon Project Pitching พัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน การเขียนบท โดยให้ผู้สร้างแอนิเมชันนำเสนอผลงานต่อนักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรม BusinessMatching เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการ Character licensing และ CG Service กับกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มอุตสาหกรรมข้างเคียงหรือต่อเนื่อง รวมถึงได้มีการจัดสัมมนา และจัดทำการ Web Portal และ Facebook เพื่อเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์สร้างการเข้าถึงผู้ประกอบการ

Digital cluster day

สำหรับผลการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมในโครงการครั้งนี้ตั้งแต่เริ่มมีการระดมความคิดเห็นของกลุ่มคน ในอุตสาหกรรมทั้งสามเครือข่าย โดยเน้นถึงการสร้างระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ (Business Ecosystems) ทั้งนี้เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมาย โดยการดำเนินงานส่งเสริมเครือข่ายผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรม Character Licensing, Animation และ CG Service โดยมีการจัดกิจกรรมในการบ่มเพาะการจัดสัมมนา และเวิร์คชอป การส่งเสริมทางการตลาดและการขยายเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ แต่ละกลุ่มโดยเริ่มดำเนินการ ตั้งแต่เดือนเมษายน – กันยายน 2561

Digital cluster day

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม AnimaCon Project Pitching โดยให้ผู้สร้างแอนิเมชันนำเสนอผลงานต่อ นักลงทุน สื่อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และกิจกรรม Business Matching เพื่อเชื่อมโยงเครือข่าย ผู้ประกอบการ Character licensing และCG Service กับกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มอุตสาหกรรมข้างเคียงหรือ ต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าการนำเสนอผลงานและจับคู่เจรจาธุรกิจในกิจกรรมนี้จะกระตุ้นและต่อยอดให้เกิดเม็ดเงินในอุตสาหกรรมไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท จากผลการสำรวจมูลค่าจากดีป้า ส่วนของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นในปี 60 มีมูลค่า 4,037 ล้านบาท และคาดว่าในปี 61 มีมูลค่ารวมที่ 4,441 ล้านบาท และอุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ในปี 60 มีมูลค่า 1,848 ล้านบาทและคาดว่าในปี 61 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1,998 ล้านบาท ซึ่งมีปัจจัยเติบโตมาจากการขยายตัวของสื่อดิจิทัลและด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์

“ทั้งนี้ในส่วนของผู้ประกอบการถือว่ามีศักยภาพ ซึ่งที่ผ่านมาหลายองค์กรได้ ผลิตผลงานและรับจ้าง ผลิตงานจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งมาเสริมการสร้างรายได้ แต่หากว่าผู้ประกอบการต้องการให้ธุรกิจ มีความเข้มแข็งและยั่งยืน เรื่องการจดลิขสิทธิ์เป็นหัวใจสำคัญที่สามารถนำผลงานไปต่อยอดในอุตสาหกรรมอื่นๆได้ในอนาคต ดังนั้นจึงขอแนะผู้ประกอบการไทยจดลิขสิทธิ์เพื่อเป็นเจ้าของสิทธิ์อย่างยั่งยืน” ผศ.ณัฐพร กาญจนภูมิ กล่าวทิ้งท้าย

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save