Xiaomi Corporation (“เสียวหมี่” หรือ “กรุ้ป”; Stock Code: 1810:Hong Kong) ประกาศวันนี้ว่าบริษัทนั้นถูกจัดอันดับให้อยู่ที่ 422 จากการจัดอันดับของนิตยสาร Fortune Global 500 list ประจำปี 2563 อีกครั้งในรอบสิบปีที่ผ่านมา
นับเป็นปีที่สองติดต่อกันที่บริษัทถูกจัดลำดับให้เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งถือเป็นบริษัทที่มีอายุการก่อตั้งและระยะเวลาในการดำเนินกิจการน้อยที่สุดที่ได้รับการจัดอันดับในปี 2562 โดยอยู่ในอันดับที่ 468
ปัจจุบัน บริษัทซึ่งอยู่ในอันดับ 422 มีรายได้ 29.795 พันล้านเหรียญสหรัฐ (205.84 พันล้านหยวน) และมีกำไรสุทธิ 1.453 พันล้านเหรียญสหรัฐ (34.8 พันล้านหยวน) ในปีงบประมาณที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 34.8% เมื่อเทียบปีต่อปี นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ในอันดับที่ 7 ในประเภทการบริการอินเทอร์เน็ตและการค้าปลีกอีกด้วย
มร. เหลย จุน ผู้ก่อตั้ง ประธานบริหารและซีอีโอของเสียวหมี่ กล่าวว่า “ปีนี้เป็นปีที่ครบรอบ 10 ปี ของการก่อตั้งเสียวหมี่หากมองย้อนกลับไปในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เสียวหมี่จะไม่สามารถประสบความสำเร็จอย่างทุกวันนี้ได้หากปราศจากการสนับสนุนอย่างจริงใจและไม่เปลี่ยนแปลงจากเพื่อนร่วมงานเกือบ 19,000 คนทั่วโลก รวมไปถึง Mi Fans ผู้ใช้งานพันธมิตรทางธุรกิจและเพื่อนๆ ของเรา”
มร. เหลย จุน กล่าวเสริมว่า “ในปี 2563 ที่ผิดปกติไปจากเดิม เมื่อชีวิตของเราทุกคนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมากมาย ผมต้องการให้ทุกคนยอมรับการขอบคุณและความซาบซึ้งใจในช่วงเวลาที่ยากลำบากเหล่านี้จากผม ผมอยากจะใช้โอกาสนี้เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของเราในการสร้างและมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่อย่างต่อเนื่อง ในราคาที่เข้าถึงได้และเป็นจริงมากที่สุดสำหรับ Mi Fan และผู้ใช้ทุกคนในทั่วทุกมุมโลก”
ในฐานะบริษัทอินเทอร์เน็ตที่มีสมาร์ทโฟนและฮาร์ดแวร์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อบนแพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) เป็นแกนหลักซึ่งก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2553 เสียวหมี่ยังได้รับการจัดอันดับใน China 500 ของนิตยสาร Fortune เช่นกันในเดือนกรกฎาคม โดยอยู่ในอันดับที่ 50 สูงขึ้นสามอันดับจากอันดับที่ 53 ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้บริษัทครองอันดับที่ 24 จาก 50 บริษัทที่มีนวัตกรรมล้ำหน้าที่สุดของโลกในปี 2563 ตามการจัดดับของ Boston Consulting Group และยังติดอันดับที่ 384 ตามการจัดอันดับของนิตยสาร Forbes Global 2000 list ประจำปี 2563 อีกด้วย
เสียวหมี่ยังคงแสดงให้เห็นถึงมูลค่าของแบรนด์ที่ดีและศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่งด้วยรูปแบบธุรกิจแบบ “ไตรกีฬา” ที่เป็นเอกลักษณ์ของบริษัทและยังเป็นผลลัพธ์มาจากการเป็นผู้นำในยุค 5G อีกด้วย
จากข้อมูลขององค์กรวิจัยการตลาดต่างประเทศ IDC ประจำเดือนมิถุนายน 2563 เสียวหมี่ยังคงเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับ 4 ของโลกในแง่ของปริมาณการจัดส่งสินค้า บริษัทยังได้บ่มเพาะและลงทุนในบริษัทอีโค่ซิสเต็มมากกว่า 200 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่เจาะลึกในด้านการพัฒนาฮาร์ดแวร์อัจฉริยะ เราจึงสามารถสร้างแพลตฟอร์ม IoT สำหรับผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีฮาร์ดแวร์อัจฉริยะที่เชื่อมต่อประมาณ 252 ล้านเครื่องได้ ทั้งนี้ยังไม่รวมสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อป ข้อมูล ณ ปลายเดือนมีนาคม 2563
นับตั้งแต่การขยายตลาดไปทั่วโลกของเสียวหมี่ที่เริ่มต้นเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2563 ในส่วนของการขนส่งสินค้า เสียวหมี่เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนท็อป 5 ใน 50 ตลาด ซึ่งคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของ 90 ตลาดทั่วโลกที่บริษัทได้เข้าไปทำการตลาด ตามรายงานของบริษัทวิจัยการตลาด Canalys
มร. โชว จือ ชิว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารระหว่างประเทศของเสียวหมี่ กล่าวว่า “เราสังเกตเห็นถึงผลประกอบการที่ดีในตลาดทั่วโลกของเราในระหว่างปีจนถึงตอนนี้ จนเมื่อไตรมาสที่หนึ่งของปี 2563 เราได้เห็นรายได้จากต่างประเทศที่มากถึงครึ่งหนึ่งของรายได้รวมของบริษัทเป็นครั้งแรก เราได้มุ่งเน้นไปยังทรัพยากรและความสามารถของเราในการขยายการทำตลาดไปทั่วโลกซึ่งเราเริ่มต้นเมื่อ 6 ปีก่อน และยังคงยืนหยัดให้เป็นไปตามพันธกิจของเราในการให้ทุกคนได้เพลิดเพลินไปกับผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ดีที่สุด”
มร. โชว จือ ชิว กล่าวเสริมว่า “แม้จะมีผลกระทบจากการระบาดใหญ่เกิดขึ้นและส่งผลกับเราในช่วงสองสามเดือนแรกของปีนี้ แต่เมื่อมาตรการล็อคดาวน์ค่อยๆ คลี่คลายลง เราได้เห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้น ต้องขอบคุณความพยายามของเราในการป้องกันรักษากระบวนการผลิตและซัพพลายเชนจ์ของเราไว้ และยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทั่วโลก ตลอดจนการดำเนินงานอย่างสุดความสามารถในระบบค้าปลีก omnichannel ทั้งออนไลน์ – ออฟไลน์ของเรา”
จากข้อมูลของ IDC ไตรมาสที่สองของปี 2563 เสียวหมี่เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโดยมียอดการจัดส่งติดต่อกัน 12 ไตรมาส หรือครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 29.4%
ทั้งในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง เสียวหมี่กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้นๆ ในสเปนโดยมีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึง 28% และ 37% ตามลำดับ ซึ่งมากกว่าสองปีหลังจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2560 ในขณะที่ในไตรมาสที่สองเราก้าวขึ้นสู่อันดับ 2 ของแบรนด์สมาร์ทโฟนในฝรั่งเศสโดยมีส่วนแบ่งการตลาดกว่า 15% และเพิ่มขึ้น 82% เมื่อเทียบปีต่อปี
Xiaomi ยังคงทุ่มเทในการสร้างและขยายเครือข่ายค้าปลีกใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมไปถึงช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ในตลาดต่างประเทศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีร้าน Mi Home ในต่างประเทศกว่า 520 แห่ง คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่า 92.6% เมื่อเทียบปีต่อปี
ในช่วงต้นปี 2563 เสียวหมี่ได้ปรับกลยุทธ์ที่ครอบคลุมจาก “สมาร์ทโฟน + AIoT” ไปเป็น “5G + AI + IoT และซูเปอร์อินเทอร์เน็ตยุคใหม่” โดยลงทุนขั้นต่ำกว่า 5 หมื่นล้านหยวนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาใน “ 5G + AIoT” เป็นสองเท่าในการเป็นผู้นำของเรา 5G ไม่ได้เกี่ยวกับเครือข่ายสมาร์ทโฟนที่เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ “5G + AIoT” นั้นแสดงถึงศักยภาพของเสียวหมี่ในการนำเสนอบริการในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมของเรา ช่วยให้เรามีโอกาสในการมอบการใช้งาน AIoT ที่ไม่เหมือนใครและยังเป็นผู้บุกเบิกอีกด้วย กลยุทธ์นี้เหมาะอย่างยิ่งกับ DNA อินเทอร์เน็ตของบริษัทที่จะทำให้เรามั่นใจในชัยชนะในยุคอัจฉริยะใหม่นี้
บริษัทมีรายได้จากการขายถึง หมื่นล้านหยวนในปี 2555 แสนล้านหยวนในปี 2560 และมีรายได้รวมเกิน 2 แสนล้านหยวนในปี 2562
Fortune Global 500 หรือที่รู้จักกันดีในนาม Global 500 เป็นการจัดอันดับประจำปีของบริษัทชั้นนำกว่า 500 แห่งทั่วโลกที่รวบรวมและเผยแพร่โดยนิตยสาร Fortune เป็นเวลากว่า 68 ปี โดยวัดจากรายได้จากปีงบประมาณที่ผ่านมา
บริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก 500 แห่งในปี 2563 สร้างรายได้ 33.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และกำไร 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 บริษัทต่างๆ ในปีนี้จ้างพนักงาน 69.6 ล้านคนทั่วโลกและมีตัวแทนจาก 32 ประเทศและภูมิภาค