ของใคร ของใคร ก็ห่วง ของใคร ใครก็ ต้องหวง วันนี้ขึ้นต้นด้วยเนื้อเพลง เก๊า เก่า “หวงรัก” ของ ม.ร.ว. ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ใช่ครับมือถือของใครๆก็หวงโดยเฉพาะหน้าจอไม่มีใครอยากจะให้เป็นรอย เพราะเราต้องจ้องมันทุกวันเป็นรอยทีนี่อยากจะคลั่ง
แล้วบรรดาพ่อค้าหัวใสก็เลยนำฟิล์มกันรอยออกมาขายซึ่งก็มีมากมายหลากหลายชนิดหลากหลายยี่ห้อให้เราเลือก ซึ่งวันนี้ผมจะมาแนะนำกันครับว่าแต่ละแบบเป็นอย่างไรแล้วเราจะเลือกซื้อกันอย่าไร
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องติดฟิล์มกันรอย
ก่อนจะไปรู้จักกันว่าฟิล์มกันรอยมีแบบไหนกันบ้างแล้วเลือกแบบไหนดีก็มาดูถึงความจำเป็นของการติดฟิล์มกันรอยกันก่อนว่าจำเป็นหรือไม่ เมื่อก่อนผมซื้อมือถือยี่ห้อหนึ่งมาใช้ครับ กระจกหน้าจอเป็น Gorilla Glass ไม่เคยใส่ฟิล์มกันรอยเลย เคยเทสกับคัตเตอร์สุดคม วัดกับกุจแจบ้านที่หายสาบสูญไปแล้ว ผลคือไม่เป็นอะไรเลย แต่สิ่งที่ทำให้ผมช๊อคที่สุดคือผมทำมือถือตกลงไปในกองทรายครับแล้วก็หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นด้วยชายเสื้อผลที่ได้คือหน้าจอของผมเป็นรอยขนแมวยับเลย
เพราะอะไรถึงเป็นรอย Gorilla Glass แข็งแกร่งมีชื่อเสียงขจรขจายเสียขนาดนั้นผมเลยไปหาข้อมูลพบว่ากระจก Gorilla Glass จากข้อมูลที่ได้คือ Gorilla Glass เนี้ยมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ประมาณ 6.8 ตามสเกลของโมห์ (เพชรอยู่ที่ 10) ดังนั้นถ้ามีอะไรที่มีระดับความแข็งกว่า 6.8 ขึ้นไปไม่รอดครับ อย่าง แร่ควอตซ์ (Quartz) หรือชื่อไทยๆมีชื่อว่า “แร่เขี้ยวหนุมาน” เป็นแร่ที่พบมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่สองรองจาก เฟลด์สปาร์ ที่มีความแข็งอยู่ในระดับ 7 ซึ่งแข็งกว่า Gorilla Glass แล้วก็พบว่าในฝุ่นละอองที่มีอยู่ในอากาศก็มีแร่ควอตซ์ปะปนอยู่เช่นกัน
ผมเลยสรุปได้ว่าคงเป็นไอ้นี่แหละครับที่มันปะปนอยู่ในทรายทำให้หน้าจอ Gorilla Glass ของผมเป็นรอย ถ้าไม่เชื่อผมอยากท้าให้คุณลองเอากระดาษทรายลองถูหน้าจอมือถือของคุณดูครับ ถ้ารอดก็ถือว่าบทความผมผิดแค่นั้นเอง แต่ถ้าไม่ก็อยากบอกว่าเตือนแล้ว
ส่วนเรื่องเครื่องตกจากที่สูงหรือโดนของแข็งกระแทกแรงๆแล้วกระจกหน้าจอแตก หรือเป็นรอย เรื่องปกติครับขนาดหน้าปัดนาฬิกาที่เป็น Sapphire สังเคราะห์ (ความแข็งอยู่ที่ ระดับ 9 ตามสเกลของโมห์) โดนกดโดนกรีดก็ยังเป็นรอยได้ ส่วนเพชรตกยังแตกได้เลย คือมันกันรอยขีดขวนได้แต่มันไม่ได้กันแรงกดกระแทกครับซึ่งมันต่างกันนะ (แข็งแต่ไม่เหนียว)
จากข้อมูลนี้ผมเลยคิดว่าติดฟิล์มกันรอยไว้ดีกว่าครับเพราะเรื่องหน้าจอเป็นรอยเพราะเจอฝุ่นที่บังเอิญมีแร่ควอตซ์ผสมอยู่หรือแร่บ้าบออะไรที่แข็งกว่า หรือเจอของกระแทก มันเป็นเรื่องของความซวย ซึ่งไอ้ความซวยมันคือเรื่องที่ไม่ดีเกิดขึ้นโดยที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อนครับ
ข้อมูลประกอบ :
www.phonecruncher.com
ชนิดของฟิล์มกันรอย
พอรู้แบบนี้ก็คงอยากจะติดฟิล์มกันรอยขึ้นมาทันทีใช่ไหมครับ เพราะเราไม่รู้ว่าเราจะเจอฝุ่นแบบนั้นเมื่อไร เอาละๆทีนี้ผมจะมาแนะนำกันต่อว่าฟิล์มกันรอยที่มีอยู่ในบ้านเราเท่าที่ผมนึกออกมีอะไรยังไงบ้างจะได้เอาไปเลือกซื้อกันถูกครับ
1.ฟิล์มกันรอยแบบใส (Clear screen protector)
เป็นฟิล์มกันรอยยอดนิยมที่หลายๆคนติดกันครับ เมื่อติดไปแล้วคุณภาพของการแสดงภาพเท่าเดิม(แต่บางคนบอกว่ามันช่วยทำให้จอสีสดขึ้น) ถ้าต้องการความใสแบบมากมากๆมันก็มีให้เลือหลายระดับพวก Ultra Clear หรือ Invisible Screen Protector
ข้อดี คงคุณภาพของจอภาพได้ปกติ-ดีขึ้น ป้องกันรอยได้ดี หาซื้อง่าย
ข้อเสีย เป็นรอยนิ้วมือ รอยฝุ่นง่าย ต้องคอยเช็ดหน้าจอบ่อย เพราะจอจะมีคราบมันจากมือ แต่ก็มีบางรุ่นบางยี่ห้อทำออกมาให้ป้องกันลายนิ้วมือด้วยแต่มักจะมีราคาที่แพง
2.ฟิล์มกันรอยแบบด้าน (บางคนก็เรียกแบบขุ่น)(Matte screen protector)
เป็นฟิล์มกันรอยอีกชนิดที่คนนิยมใช้กันรองจากฟิล์มกันรอยแบบใส แต่เจ้าฟิล์มกันรอยแบบด้านมันก็มีคุณสมบัติคือกันรอยนิ้วมือ(Anti Fingerprint) ได้ดีทำความสะอาดง่าย ซึ่งฟิล์มกันรอยแบบนี้มีข้อดีที่สำคัญอีกอย่างคือลดแสงสะท้อนของแสงได้ดี (Anti Glare)
ข้อดี ลดการสะท้อนของแสงได้ดี ไม่ต้องเช็ดหน้าจอบ่อเพราะไม่เป็นรอยนิ้วมือ
ข้อเสีย ลดคุณภาพความสด ความชัดเจนของหน้าจอ เวลาถ่ายรูปคุณอาจมองไม่เห็นความสดของรูปแบบชัดเจนได้ แล้วถ้าฟิล์มแบบด้านของคุณเป็นของไม่ดีๆนี่เวลาเปิดหน้าจอพื้นขาวๆ เราจะเห็นสีรุ้งเป็นเส้นๆ ชวนปวดตับได้เหมือนกันวิธีการแก้ปัญหานี้คือเพิ่มเงินซื้อฟิล์มด้านแบบผิวละเอียด
3.ฟิล์มกันรอยแบบแบบเพิ่มความเป็นส่วนตัวหรือ ฟิล์มกันเสือก (Privacy screen protector)
ฟิล์มกันรอยของคนที่มีโลกส่วนตัวสูง ความลับเยอะไม่อยากให้คนรอบข้างเห็นหน้าจอมือถือของเรา ฟิล์มกันลอยชนิดนี้จะทำให้เราเห็นหน้าจอเฉพาะตอนที่เรามองด้านหน้าเท่านั้นหากมองมุมอื่นจะมองไม่เห็นเลยเป็นจอมืดๆ
ข้อดี เปิดในโรงหนังได้ไม่รบกวนคนนั่งข้างๆ เพราะแสงมันจะไม่ไปแยงตาเขา แล้วก็ป้องกันความลับจากมือถือของเรารั่วไหลไปสู่สายตาคนอื่น
ข้อเสีย ถ้าคุณเป็นคนที่รักการดูหนังบนมือถือหรือแท็บเล็ต การดูร่วมกับผู้อื่นลืมไปได้เลย อีกอย่างก็คือเราก็ต้องมองมือถือตรงๆเท่านั้นนั้นแหละถึงจะเห็นชัด
4.ฟิล์มกระจก (Mirror screen protector)
ฟิล์มกันรอยสำหรับหนุ่มหล่อสาวสวยที่ต้องพกพากระจกตลอดเวลา เป็นฟิล์มกันรอยแบบใสที่เพิ่มชั้นฟิล์มอีกชั้นหนึ่งเข้าไปทำให้ฟิล์มชนิดนี้หนา
ข้อดี ใช้แทนกระจกได้
ข้อเสีย เวล่เปิดมือถือในที่ๆมีแสงจัดๆ จะทำให้คุณมองหน้าจอของคุณไม่เห็น เป็นรอยก็ง่าย รอยฝุ่นรอยนิ้วมือเห็นชัดเจน
5.ฟิล์มกันรอยแบบมีลวดลาย (Design screen protector)
ฟิล์มกันรอยสำหรับคนที่ไม่ชอบความซ้ำซากจำเจไม่เหมือนแบบใคร ส่วนใหญ่ที่เห็นก็เป็ยลวดลายตัวการ์ตูนอย่างเช่น Hello Kitty พวกนี้จะหายากมากหรือแทบจะไม่มีเลยสำหรับมือถือสมาร์ทโฟนรุ่นที่ไม่ฮิต ส่วนใหญ่จะใช้ได้กับ iPhone เสียเป็นส่วนใหญ่
ข้อดี ไม่ซ้ำแบบกับใครดี แสดงตัวตนได้อย่างชัดเจน สวยงามฟรุ้งฟริ้ง
ข้อเสีย หายากมากๆสำหรับสมาร์ทโฟนรุ่นไม่ฮิต คุณภาพของฟิล์มกันรอยอาจจะไม่ค่อยดี(ขึ้นอยู่กับยี่ห้อด้วย) อาจจะกันรอยได้น้อย ไม่ก็ไม่ป้องกันการสะท้อนแสงเลย
ฟิล์มกันรอยราคาถูกแพงแตกต่างกันอย่างไร
ฟิล์มกันรอยในท้องตลาดทั่วไปก็มีราคาตั้งแต่ 50 บาท ไปจนถึงหลักพันบาท มันแตกต่างกันที่ Feature ครับ ได้แก่ ความทนทานต่อรอยขีดข่วน ความลื่นการสัมผัส(ฟิล์มกันรอยบางรุ่นมีผลต่อการสัมผัสหน้าจอลากแล้วไม่ไป ติดๆขัดๆ) และลดการสะท้อนแสง ยิ่งแพง Feature ต่างๆพวกนี้มันก็ดีตามขึ้นไปด้วยแต่ก็ขึ้นอยู่กับยี่ห้อนะครับ ก็ต้องเช็ครีวิวจากในเว็บต่างๆดู
ยี่ห้อฟิล์มกันรอยยอดนิยม
- USG
- Focus
- SGP
- Benks
- Powersupport
- SwitchEasy