Article

คุยสบายๆ สไตล์ปีเตอร์ กวง : ทำความรู้จักกับ 4G

หลังจากทาง กสทช. ได้ทำการออกใบอนุญาติความถี่ 2100 MHz โดยไม่จำกัดเทคโนโลยีที่จะใช้ให้กับเอกชนทั้ง 3 ราย ได้แก่

สวัสดีครับ ผมปีเตอร์กวงควงมือถือ จากรายการ “แบไต๋ไฮเทค เดลี่ไฟว์ไลฟ์” ที่ถ่ายทอดสดออกอากาศ ตรงจาก Beartai Digital Gateway Studio ชั้น 4 Digital Gateway สยามสแควร์ ทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร

และออกอากาศไปยังสถานีทีวีดาวเทียมต่างๆ อีก 5 ช่อง ไม่ว่าจะเป็น Dude TV ในวันศุกร์ Voice TV ในวันเสาร์ Nation Channel ในวันอาทิตย์ Mango TV ในวันจันทร์ และ Gang Cartoon Channel ในวันอังคาร (วันธรรมดา 19:00, วันหยุด 16:00) โดยผมมาประจำการใน What Phone Magazine ทุกเดือนเพื่อไขข้อข้องใจและเก็บตกข่าวความเคลื่อนไหวในวงการเทเลคอมทั้งในบ้านเราและต่างประเทศ สำหรับฉบับนี้จะมาพูดถึงเรื่อง เทคโนโลยี 4G ในประเทศไทยและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในปีนี้

4G ประเทศไทย – แนวโน้มและความพร้อม

หลังจากทาง กสทช. ได้ทำการออกใบอนุญาติความถี่ 2100 MHz โดยไม่จำกัดเทคโนโลยีที่จะใช้ให้กับเอกชนทั้ง 3 ราย ได้แก่ Advance Wireless Network (เครือ In Touch/AIS), DTAC Network (เครือ DTAC), Real Move (เครือ True Corp.) ไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เอกชนทั้งสามรายก็ได้ทำการเริ่ม

สร้างเครือข่ายระบบ 3G WCDMA ทำงานบนคลื่นความถี่ 2100 MHz กันอย่างตื่นตัว โดยเฉพาะในรายของ AIS นั้นยิ่งรีบกว่าใครเพราะการให้บริการ 3G บนความถี่ 900 MHz นั้นดูจะอยู่ในสถานะที่ลำบากกว่าใครเพื่อน เพราะมีความถี่ให้บริการน้อยที่สุดทำให้การบริการไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ตรงข้ามกับ DTAC ที่ทำงานนี้อย่างไม่ยากนัก เพราะไม่ต้องรีบร้อนที่จะย้ายลูกค้าสักเท่าไร เนื่องจากในอนุญาตการใช้คลื่นความถี่เดิม (850 MHz, 1800 MHz) บนสัญญาสัมปทานกับทาง กสท.นั้น ยังมีอายุอีกกว่า 6 ปีเลยทีเดียว แต่ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจทำการสร้างเครือข่าย 3G บนความถี่ 2100 MHz ควบคู่กันไปหลังจากที่เสร็จสิ้นในการยกระบบเครือข่ายเก่ากว่า 15,000 สถานีฐานสำหรับระบบ GSM 1800 และ 3G 850 MHz เสร็จไปเมื่อปลายปีที่แล้ว จนมี 3G ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด ก็มีประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นอย่างดี คาดการณ์ว่าทั้ง AIS, DTAC น่าจะเปิดให้บริการเครือข่าย 3G 2100 MHz ได้ในไตรมาสสองนี้ ส่วน

True Move นั้นใบอนุญาตการใช้คลื่น 1800 MHz จะหมดลงในไตรมาสสามปีนี้ แต่ก็ได้เตรียมการเรื่อง 3G มาก่อนใครเพื่อน จนวันนี้มีระบบ 3G ที่ใช้ความถี่ 850 MHz ในชื่อ True Move H บนสัญญาร่วมกับ กสท. ก็ครอบคลุมทั้งประเทศไปทุกจังหวัดแล้ว ก็เตรียมการที่จะใช้คลื่นความถี่ 2100 MHz บนระบบ 3G ด้วยเช่นกัน

แต่สิ่งหนึ่งที่หลายๆ คนยังไม่ทราบ นั่นคือด้วยมาตรฐานการใช้คลื่นความถี่เพื่อการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสากลนั้น ความถี่ 2100 MHz สามารถนำไปใช้ได้สองเทคโนโลยี นั่นก็คือ 3G-WCDMA และ 4G-LTE (Long Term Evolution) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของการใช้บนมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ของโลกวันนี้ แปลว่าความถี่ 2100 MHz ที่มีการนำไปใช้โดยเอกชนทั้ง 3 ราย บวกกับ TOT (ทศท.) รวมกันทั้งหมด 60 MHz นั้น (รายละ 15 MHz) สามารถนำพาประเทศไทยข้ามไปสู่ยุค 4G ได้ทันทีโดยไม่ทำ 3G ก็

ทำได้ (4G-LTE นั้นให้ความเร็วดาต้าในการดาวน์โหลดได้สูงสุด 150 Mbps, ขณะที่ความเร็วในการอัพโหลดได้สูงสุด 50 Mbps) แต่ถึงกระนั้นการข้าม 3G 2100 ไปสู่ 4G-LTE 2100 เลยนั้นก็คงไม่ใช่ทางที่ฉลาดนัก เพราะ 4G-LTE นั้นยังเป็นระบบใหม่ ประเทศทั่วโลกที่ให้บริการในวันนี้ก็มีรวมกันยังไม่มากเท่า 3G

แน่นอน ที่สำคัญผู้ให้บริการ 4G-LTE ในต่างประเทศล้วนแล้วแต่ต้องมีเครือข่าย 3G อยู่แล้ว และส่วนใหญ่ก็เปิดให้บริการมานานหลายปีก่อนหน้าประเทศไทย

อีกประการหนึ่งการให้บริการ 4G-LTE ที่ยังไม่รองรับ VoLTE (Voice over LTE) นั้นจะรองรับการใช้ 4G-LTE แค่ด้านระบบดาต้าอย่างเดียว (Data Only) เมื่อมีคนโทรเข้าหรือจะต้องใช้การโทรศัพท์แบบปกติ เครื่องจะต้องปรับตัวเองเข้าสู่ระบบ 3G แทน เพื่อทำการใช้โทรศัพท์แบบเสียง (Voice Call) นั่นก็เป็นปัจจัยว่าการทำระบบ 4G-LTE ก็ต้องมีระบบ 3G WCDA เป็นเครือข่ายร่วมด้วยกันอีกชั้นหนึ่งตลอดเวลา อย่างไรก็ดีความถี่ที่ประเทศไทยมีอยู่และสามารถนำไปใช้ในการให้บริการ 4G-LTE ก็มีอีกสองความถี่ที่เป็นไปได้ นั่นคือความถี่ย่าน 1800 MHz และ 2600 MHz โดยความถี่ย่าน 1800 MHz นั้น ทั้ง True Move และ DPC (บริษัทเครือ In Touch/AIS) ให้บริการบนเทคโนโลยี GSM 1800 นั้นจะหมดสัญญาสัมปทานกับ กสท.ภายในไตรมาส 3 นี้แล้วและต้องคืนความถี่กับมาให้รัฐ มีโอกาสอย่างมากที่ทาง กสทช.อาจจะนำมาเพื่อให้เอกชนประมูลในปลายปีนี้ (ตามข่าวที่ออกมา) และลงทุนในระบบแล้วเปิดบริการ 4G-LTE ต่อไปก็ได้ แต่คงต้องมีการพูดคุยกับ กสท.กันเสียก่อน ขณะที่ความถี่ย่าน 2600 MHz เป็นความถี่ที่ว่างอยู่ สามารถนำไปประมูลเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ต่อไป ขึ้นอยู่ที่ว่าทาง กสทช.จะรีบวางแผนจัดการเสียแต่ปีนี้ก็น่าจะดีและจะเกิดประโยชน์กับประชาชนได้อย่างรวดเร็ว

4G ประเทศไทยเกิดแล้ว True Move H ประกาศเป็นผู้นำ ให้บริการเมษายนนี้

แล้วรายอื่นทำไงต่อล่ะ??

Untitled-1

อย่างที่กล่าวไป การนำเอาคลื่นความถี่ 2100 MHz ที่ประมูลกันไป นำมาใช้บนเทคโนโลยีได้ทั้งสองแบบ 3G WCDMA หรือจะเป็น 4G-LTE ก็ทำได้ ทำให้vTrue Move H เดินเกมส์ในการนำเอาเทคโนโลยี 4G มาใช้ก่อนใครในประเทศไทยโดยใช้ความถี่ 2100 MHz ที่ได้มา ซึ่งมีการเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และพร้อมเริ่มให้บริการในย่านใจกลางเมืองก่อน ดีเดย์ตั้งแต่เมษายนนี้ ได้แก่ พื้นที่ สยาม, สีลม, สาทร รวมทั้งหมดประมาณ 300 สถานีฐานก่อนที่จะขยายไปสู่หัวเมืองใหญ่ 15 จังหวัดภายในสิ้นปีนี้ True Move H มีการแบ่งใช้ความถี่ 2100 MHz ที่ได้มา 15 MHz นั้นออกเป็นสองส่วนเพื่อแบ่งใช้ในการให้บริการ 3G และ 4G ขึ้นอยู่กับว่าจะบริหารจัดการความถี่ให้ 3G มากน้อยอย่างไรในแต่ละพื้นที่ ขณะที่ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการเอกชนทั้ง 3 รายได้ทำการทดสอบระบบ 4G กันไปเมื่อปีก่อนหน้านั้นบนความถี่ 1800 MHz แต่ก็ยังไม่มีใครที่จะเริ่มให้บริการในเชิงพาณิชย์ จนกระทั่ง True Move H ได้ชิงเปิดตัวก่อน

ขณะที่อีกฟากหนึ่งที่เป็นผู้ให้บริการโดยภาครัฐอย่าง TOT(ทศท.) และ CAT (กสท.) ก็ได้มีความร่วมมือกันมากขึ้นโดยทั้ง TOT และ CAT ได้ทำ MOU ร่วมกันในการให้บริการ 3G โดยเปิดโครงข่ายให้เลขหมายของทั้งสองฝ่ายรวมกันกว่า 400,000 เบอร์ สามารถใช้ข้ามโครงข่ายร่วมกันหรือโรมมิ่งได้ (TOT ให้บริการ 3G ด้วยความถี่ 2100 MHz ขณะที่ CAT ให้บริการ 3G ด้วยความถี่ 850 MHz) และ TOT ก็บอกว่าเตรียมพร้อมที่จะคลื่นความถี่ 2100 MHz เพื่อเริ่มทดสอบ 4G-LTE ภายในหน้าร้อนนี้ ก่อนที่จะเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ต่อไป และจะให้ลูกค้าของ CAT สามารถโรมมิ่งใช้ 4G ได้ด้วยเช่นกัน

ในอีกฟากหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น AIS หรือ DTAC ก็คงมองเกมส์ชิงความเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีนี้อยู่อย่างไม่วางตาเช่นกัน ซึ่งว่ากันตามตรง ทั้ง AIS, DTAC ต่างก็มีทางเลือกที่จะไปสู่ 4G-LTE ได้ไม่แพ้กัน เพียงแต่ว่าทั้งสองรายอาจจะมองในเรื่องกลยุทธทางการตลาดต่างจากที่ True Move H เป็น แน่นอนเพราะ True Move H นั้นเป็นผู้นำอันดับสามรองลงมาจาก AIS, DTAC ทำให้ True Move H ไม่มีทางเลือกนอกจากสร้างความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีให้ดูเด่นกว่ารายอื่น เพื่อหวังว่าลูกค้าจากระบบอื่นจะให้โอกาสหันมาใช้ระบบของตนบ้าง นั่นคือเป้าหมาย แต่ AIS, DTAC อาจจะมองในเลือกความง่ายในการที่ลูกค้าจะย้ายจากระบบ GSM เดิมมาสู่ 3G ได้ง่ายกว่าด้วยทางเลือกในเครื่องมือถือที่มีมากมายนั่นเอง ซึ่งเครื่องมือถือ 4G-LTE ยังมีแต่พวกเครื่องระดับหมื่นปลายถึงสองหมื่นทั้งนั้น และล้วนแล้วแต่เป็นสมาร์ทโฟนทั้งสิ้น จะมีที่ถูกหน่อยก็เป็นพวก ดาต้าการ์ดหรือแอร์การ์ดที่มีราคาอยู่ประมาณ 4,000 ถึง 5,000 บาท ทำให้การหันมาเลือกเทคโนโลยี 3G สำหรับคนไทยนั้นเป็นเรื่องไม่ยากแล้ว เพราะราคาเครื่องมีให้เลือกตั้งแต่พันบาทเป็นต้นไปก็ใช้ 3G ได้แล้ว

ขณะที่ 4G-LTE ยังแพงเกินไปในการสร้างฐานผู้ใช้ในระดับล้านคน แต่กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทั้ง AIS, DTAC จะไม่มีทางออกในการให้บริการ 4G-LTE ในตอนนี้นะครับ AIS เองก็เป็นพันธมิตรกับ TOT มาช้านาน จากการที่ AIS เลือกความถี่สล็อตที่ติดกับ TOT นั่นก็ส่งสัญญาณให้เรารู้อะไรบางอย่าง คิดเล่นๆ ถ้า TOT และ AIS ต่างปันความถี่กันมาคนละ 5 MHz (ทั้งสองรายมีความถี่ 2100 MHz กันรายละ 15 MHz) สองรายรวมกันเป็น 10 MHz ก็ผันมาทำ 4G-LTE รวมกันได้เลยแล้วใช้ร่วมกันนั่นก็เพียงพอต่อการให้บริการ 4G-LTE ในตอนนี้แล้วถ้าจะทำกันจริงๆ ขณะที่ DTAC เองก็มีความถี่ 1800 MHz ในมือเหลือภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กสท.อีกถึง 25 MHz (มีทั้งหมด 50 MHz ใช้เพื่อ GSM 1800 อยู่ 25 MHz เหลืออีก 25 MHz) ก็สามารถเปิดให้บริการ 4G-LTE ได้อย่างเหลือเฟือด้วยความถี่จำนวนนี้

ส่วนระบบที่ DTAC เพิ่งลงทุนไปใหม่กว่า 4 หมื่นล้านบาทนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นสถานีฐานรุ่นใหม่ที่ปัจจุบันให้บริการ GSM, 3G อยู่ในตัวเดียวกัน โดยเทคโนโลยีใหม่นี้สามารถทำให้ DTAC อัพเกรดเป็น 4G-LTE ได้ในเวลาเพียง 15 นาทีต่อสถานีฐานเท่านั้น โดยการเพิ่มการ์ดการแปลงสัญญา 4G-LTE เข้าไปอย่างง่ายๆ จะเห็นว่าวันนี้ประเทศไทยก็พร้อมขยับไปสู่ 4G-LTE กันหมดทุกโอเปอร์เรเตอร์ขึ้นอยู่กับว่ากลยุทธที่แต่ละรายจะเลือกใช้นั่นต่างหากที่เป็นจุดหลัก

แล้วโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน แอร์การ์ด มีให้ใช้ 4G กันหรือยัง?


nokia-lumia920 i5


 อีกปัจจัยก็คือเรื่องเครื่องลูกข่ายหรือเครื่องโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 4G-LTE ซึ่งปกติจะเป็นแบบ Multi-Band, Multi-Mode แปลว่า รองรับหลายความถี่ และหลายเทคโนโลยีในตัวเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น GSM, WCDMA, LTE บนเครื่องเดียวกันนั้น ซึ่งยังมีอยู่น้อย เพราะ LTE เองนั้นก็ทำงานได้หลายความถี่อีก มีตั้งแต่ 700 MHz, 800 MHz, 850 MHz, 1700 MHz, 1800 MHz, 2100 MHz, 2600 MHz โดยที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือความถี่ย่าน 1800 MHz, 2600 MHz ทำให้การผลิตเครื่องลูกค้ามารองรับในปัจจุบันยังมีจำนวนรุ่นน้อยกว่า 3G อยู่มาก ถ้าประเทศใดที่จะใช้เครื่องเพื่อการให้บริการ 4G-LTE ก็ต้องทำงานกับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเพื่อให้แน่ใจว่าได้เครื่อง 4G-LTE ที่รองรับตรงกับความถี่ที่ให้บริการ ดูจากการที่ทาง True Move H, TOT วางแผนในการใช้ความถี่ย่าน 2100 MHz เพื่อให้บริการ 4G-LTE แล้วนั้น ทางเลือกของเครื่องมือถือที่มีขายในเมืองไทยแล้วมีค่อนข้างจำกัดครับ ที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันก็ได้แก่ iPhone 5 (แต่ก่อนจะใช้ต้องทำการอัพเกรดการตั้งค่าของระบบเสียก่อน ไม่อย่างนั้นใช้ไม่ได้)

  Nokia Lumia 920, Lumia 820 สเปคของเมืองนอกบอกว่ารองรับ สำหรับของไทยคงต้องเช็คกับ Nokia ประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง ส่วน Samsung นั้นเครื่องที่มีในตลาดไม่รองรับเลยแม้แต่รุ่นเดียว แผนการนำเครื่อง LTE เข้ามานั้นปัจจุบันที่ขายในต่างประเทศจะมีแต่รุ่นที่รองรับความถี่ 4G-LTE ย่าน 1800/2600 MHz เสียมากกว่าเพราะเป็นที่ต้องการมากที่สุด ส่วน HTC ยังไม่มีการนำเครื่องที่รองรับ 4G-LTE เข้ามาในประเทศไทย สำหรับ Sony นั้นรุ่นที่รองรับได้ก็มี Xperia V และรุ่นอนาคตอย่าง Xperia Z อย่างไรก็คงต้องตรวจสอบกับทางผู้ผลิตให้ดีๆ อีกครั้งหนึ่งนะครับ ต้องบอกว่าทางเลือกมีน้อยมากๆ ถ้าเริ่มจาก iPhone 5 ก็ดูจะง่ายสุด แต่ราคาก็เริ่มที่สองหมื่นกว่าเลย ถ้าจะถูกกว่านั้นก็ต้องรอให้ผู้ให้บริการนำเข้าจำพวก แอร์การ์ดหรือดาต้าการ์ดเข้ามาจำหน่าย ซึ่งราคาเริ่มต้นน่าจะต้องมีอย่างน้อย 4,000 บาทขึ้นไปครับ

แล้วเราควรจะใช้อะไรดี 3G หรือ 4G

 Sony-Xperia-V-q IMG_9994

โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า 3G WCDMA วันนี้ ถ้าผู้ให้บริการทำให้ดีๆ ครอบคลุมบริการในทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด ทุกอำเภอ ไม่ว่าจะเป็นภายนอกอาคาร ภายในอาคาร ผสมกับการให้บริการ WiFi เพิ่มเข้าไปแหล่งสาธารณะอย่างห้างสรรพสินค้า โรงเรียน มหาวิทยาลัย เท่านี้ก็เพียงพอต่อการใช้บริการ 3G อย่างมีคุณภาพไปได้อีกนานครับ เพราะปัจจุบันนี้ผู้ใช้เพียง 20% ของทั้งหมดเท่านั้นที่มีเครื่องมือถือ 3G WCDMA อีกกว่า 80% ของผู้ใช้ทั้งประเทศในวันนี้ยังถือเครื่อง 2G-GSM กันอยู่เลย อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ผู้ให้บริการจะต้องคิดว่าทำอย่างไรที่จะให้ลูกค้าของตนเองเปลี่ยนเครื่องมือถือในมือให้มาเป็น 3G ทั้งหมด ซึ่งเป็นงานช้ามากๆ อาจต้องใช้เวลาสองถึงสามปีเลยทีเดียว

ขณะที่มองจากทรัพยากรความถี่่ที่แต่ละรายมี ต้องบอกว่าเรามีทรัพยากรความถี่อยู่มากมายทีเดียว (DTAC มี 3G 850MHz อยู่ 10 MHz ขณะที่ย่าน 2100 MHz มีอยู่ 15 MHz จากการประมูลที่ผ่านมา รวมแล้วมีกว่า 25 MHz เลยทีเดียว, True Move H ก็มีอยู่เท่าๆ กัน, AIS มีอยู่ 15 MHz จากการประมูลเช่นกัน) อีกด้านหนึ่งผู้ใช้ยังมีไม่ถึง 20% ของประชากรทั้งหมดเสียด้วยซ้ำ แล้วเราจะจ่ายเงินแพงๆ เพื่อไปซื้อเครื่องมือถือ 4G แล้วไปใช้ได้แค่บางพื้นที่ก็อาจไม่คุ้ม ขณะที่การใช้ 4G-LTE ก็อาจจะเหมาะสมกับนักธุรกิจที่ไม่ติดเรื่องค่าเครื่อง และอาจจะเหมาะกับคนที่เน้นใช้ดาต้าหนักจริงๆ แต่นั่นก็ต้องดูด้วยว่าคุณอยู่ในพื้นที่ที่เขาเลือกจะทำ 4G-LTE แล้วหรือยัง ถ้าบ้านอยู่ในต่างจังหวัดห่างไกลก็คงลำบากเพราะไม่มีให้ใช้ เลือกใช้ 3G ไปก่อนดีกว่าครับ ทางเลือกเยอะมีรุ่นหลากหลาย ราคาเริ่มต้นไม่แพง รอไปอีกสักนิด 4G ก็ไม่หนีเราไปไหนอยู่แล้ว

สำหรับแฟนๆท่านใดที่มีคำถาม สามารถติดตามมาได้ที่ twitter ของผม @peter2514 นะครับ ส่วน facebook ตามมาได้ที่ www.facebook.com/Peerapol หรือจะเป็น Instagram ก็ค้นหา Peter2514 ได้นะครับ แล้วเจอกันใหม่ฉบับหน้านะครับ

 

Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save