ที่ประชุมสภาปฎิรูปแห่งชาติ หรือ สปช. มีการลงมติเห็นชอบในเรื่องของการกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามการใช้งานจริง โดยจะคิดเป็นวินาที ซึ่งระธานคณะกรรมาธิการปฎิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคได้ชี้แจงว่าผู้ปกระกอบธุรกจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันนั้นกำหนดอัตราค่าบริการไม่เป็นธรรมกับประชาชน เพราะเก็บค่าโทรศัพท์เป็นนาทีถึงแม้ว่าจะมีการใช้งานจริงไม่ถึงนาทีก็ตาม ทำให้มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้บริการ เพราะฉะนั้นการกระทำดังกล่าวจึงเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
ประธานคณะกรรมาธิการปฎิรูปการคุ้มครองผู้บริโภคได้บอกว่า หากมีการคิดค่าบริการตามจริงเป็นวินาทีจะช่วยให้ประหยัดค่าโทรศัพท์ได้วันละ 1 นาที หรือคิดเป็น 1 บาท 33 สตางค์ , 1 เดือนจะประหยัดไปได้ถึง 40 บาทต่อคน และประเทศไทยมีเลขหมายทั้งหมด 95 ล้านเลขหมายทำให้จะประหยัดเงินไปได้ถึงเดือนละ 3,591 ล้านบาท หรือปีละ 43,092 ล้านบาท และนอกจากนี้ยังเสนอให้ส่งเรื่องให้กสทช.ดำเนินการตามมาตรา 31 วรรคสองของพรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ซึ่งจะมีคำสั่งห้ามผู้ประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่คิดค่าบริการโดยปัดเศษวินาทีเป็นหนึ่งนาที และให้คิดค่าบริการตามระยะเวลาที่ใช้จริงเป็นวินาที
ปี 2556 เอไอเอสมีรายได้ 1.4 แสนล้านบาท, ดีแทคมีรายได้ 9.4 หมื่นล้านบาท และ ทรูมูฟเอชมีรายได้ 9.6 หมื่นล้านบาท มีค่าบริการการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 341 บาทต่อเดือน และ 716 บาทต่อเดือนสำหรับรายเดือน