ปุ่มดิสไลค์ หรือ Dislike button ถือเป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่ผู้ใช้งานเรียกร้องกับทาง Facebook และขอให้ทำขึ้นมามากที่สุดเลยก็ว่าได้
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก (CEO ของ Facebook) ได้พูดผ่าน session ถาม-ตอบ (public Q&A) ว่าตอนนี้ทางบริษัทฯ กำลังพัฒนาและหาวิธีที่จะแสดงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจถึงความรู้สึกของเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากโศกนาฏกรรมต่างๆ หรืออะไรก็ตามที่ไม่สมควรที่จะไปกด Like ซึ่งสื่อต่างๆ ก็ประโคมข่าวกันไปต่างๆ นานาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า Facebook กำลังจะทำ ปุ่มดิสไลค์ขึ้นมา
แต่อ่านและทำความเข้าใจตรงนี้กันชัดๆ ไปเลยครับ ว่าสิ่งที่ Facebook กำลังพัฒนาอยู่นั้น . . . ไม่ใช่ปุ่ม Dislike นะครับ เพราะผู้ที่ออกมายืนยันเรื่องนี้ก็คือ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซึ่งเขาได้กล่าวเลยว่า ปุ่ม Dislike นั้นไม่ใช่สิ่งที่ Facebook กำลังทำอยู่เลย
และนี่คือวิดีโอที่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก พูดถึงประเด็นเรื่องปุ่มใหม่ที่ทาง Facebook กำลังพัฒนา
พี่มาร์คพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง?
Facebook กำลังพัฒนาปุ่มใหม่ออกมา
ซัคเคอร์เบิร์ก กล่าวว่า มีผู้คนถามถึง ปุ่ม Dislike มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งวันนี้ เป็นวันที่เขาออกมาพูดเลยว่า ทาง Facebook ทำการพัฒนาปุ่มใหม่อยู่ และใกล้จะนำออกมาให้ทดสอบแล้ว
และแน่นอน มันไม่ใช่ ปุ่ม Dislike
Facebook ไม่มีความต้องการที่จะสร้างปุ่มดังกล่าวเลยแม้แต่น้อย เพราะ เราไม่ต้องการเปลี่ยน Facebook ให้เป็นการฟอรั่ม หรือ อะไรก็ตามที่ต้องการความคิดเห็น หรือการลงคะแนนเสียงของผู้คน นั่นไม่ใช่แบบแผน และ วิถีที่ซัคเคอร์เบิร์กพัฒนา Facebook ขึ้นมาเลย
ช่องว่างของกลไกการให้ feedback ของ Facebook
ที่จริงสิ่งที่ผู้ใช้งานอยากได้ ไม่น่าใช่อะไรก็ตามที่เป็นการออกความเห็น ลงคะแนนโหวต หรือออกสิทธิ์ออกเสียงเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้อื่นโพสต์ แต่มันน่าจะเป็นวิธีที่พวกเขาสามารถแสดงความรู้สึกเห็นใจ และ เข้าใจต่อผู้อื่นได้ เพราะใช่ว่าทุกช่วงเวลาจะเป็นช่วงเวลาที่ดีเสมอไปใช่มั้ยล่ะครับ?
และถ้าถึงเวลาที่ใครสักคนแชร์เรื่องที่เขากำลังเศร้า เช่น การสูญเสียคนรัก หรือ สมาชิกในครอบครัวไป . . . คิดว่าการกด Like ก็ดูจะไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก
Facebook ถึงหาทางออกให้กับเรื่องนี้ ซึ่งเป็นวิธีที่เพื่อนๆ หรือ ผู้คนอื่นๆสามารถแสดงออกให้รู้สึกและสัมผัสได้ว่า พวกเขาเข้าใจเรานะ พวกเข้าอยู่ข้างเรานะ ฯลฯ ซึ่งมันฟังดูเข้าท่ามากกว่าการที่ Facebook จะทำปุ่ม Dislike ขึ้นมาซะอีก
ถ้าเกิด Facebook ทำ ปุ่ม Dislike ขึ้นมาจริงๆ ล่ะก็ มันน่าจะเป็นต้นเหตุแห่งความไม่เข้าใจกันได้
ยกตัวอย่างเช่น มีการแชร์เกี่ยวกับเรื่องเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจากภัยธรรมชาติ แล้วมีผู้คนไปกด Dislike ขึ้นมา นั่นหมายความว่ายังไง? หมายความว่า คนกดปุ่ม Dislike ไม่ชอบเหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้น? หรือ ไม่ชอบผู้ประสบภัย? หรือไม่ชอบที่มีคนโพสต์เกี่ยวกับข่าวทำนองนี้?
ถ้าทำออกมาจริง มันจะยิ่งดูกำกวม และดูมีความขัดแย้งกับสิ่งที่ Facebook ต้องการสร้างและพัฒนาขึ้นมา
Facebook อาจจะสร้างปุ่มที่ใช้สำหรับแสดงความเสียใจแทนก็เป็นได้
สิ่งที่ฟังดูเข้าท่าเข้าทางมากกว่าการทำปุ่มที่บอกแค่ว่า ชอบ หรือ ไม่ชอบ ก็คือ การทำปุ่มที่ผู้ใช้งาน Facebook สามารถแสดงออกถึงความรู้สึก สงสาร เข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ผู้ที่โพสต์เรื่องเศร้าๆ หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อเหตุการณ์ร้ายๆเหล่านั้น
ที่จริงนั้น Facebook เคยออก website ที่เรียกว่า “Recommend” มาแล้ว ซึ่งมันเป็น website ที่ใช้แทนปุ่ม Like เพื่อช่วยให้ผู้คนแชร์เรื่องราวร้ายๆ เหตุการณ์ร้ายๆ เรื่องเศร้า เรื่องน่าสลดใจ ฯลฯ
แต่ตอนนี้ คาดว่า Facebook น่าจะมีวิธีที่ดึกว่านั้นที่จะแสดงความเสียใจออกมา
ชื่อของปุ่มที่ Facebook กำลังพัฒนาอยู่ อาจจะมีชื่อว่า Sorry button หรือปุ่มแสดงความเสียใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้โพสต์จะสามารถสัมผัสและรู้สึกได้ว่า ผู้ที่ได้อ่านโพสต์นั้นๆเข้าใจถึงเรื่องราว และ ความรู้สึกของผู้โพสต์ หรือเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายของเหตุการณ์เลวร้ายต่างๆ
และถ้าจะเปิดให้ใช้งานปุ่มนี้จริงๆ ทาง Facebook อาจเปิดให้ผู้ใช้งานโพสต์เรื่องราวต่างๆ และมีการแทนที่ปุ่ม Like ด้วยปุ่มที่ใช้แสดงความสงสาร หรือ เห็นอกเห็นใจแทน (หรืออาจจะไม่แทนที่ปุ่ม Like แต่เพิ่มปุ่มดังกล่าวเข้าไปข้างๆ)
ซึ่ง Facebook คาดว่าปุ่มที่ไว้แสดงความรู้สึกเสียใจนั้นจะปรากฏขึ้น จะขึ้นอยู่กับ content ที่โพสต์ลงไป ซึ่งถ้ามันตรวจจับได้ว่า สิ่งที่โพสต์นั้นสื่อไปทางเรื่องราวที่น่าเศร้าใจ โดยที่อาจมีคำต่อไปนี้ เช่น
- ตาย / เสียชีวิต (died / passed away)
- บาดเจ็บ / เจ็บปวด (hurt)
- ถูกไล่ออก / ถูกปลด (fired)
- เลิกรา (broke up)
ด้วยสิ่งที่ Facebook กำลังพัฒนาอยู่ ผู้ใช้งานก็ไม่จำเป็นจะต้องไปอะไรมากกับปุ่ม Like อีกต่อไป เพราะมันอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดจากการที่มีแค่ปุ่ม Like ปุ่มเดียวก็ได้
ดังนั้น เคลียร์กันแล้วนะครับ ว่าทาง Facebook ไม่ได้ต้องการจะพัฒนาปุ่ม Dislike ขึ้นมาแต่อย่างใด 🙂