Tips & Tricks

ติดตามวงโคจรสถานีอวกาศ ISS ด้วย ISS Detector Satellite Tracker

ถ้าจะพูดว่า “เดี๋ยวนี้แค่มีมือถือก็ไปได้ถึงดวงจันทร์” ก็คงจะไม่ดูเกินจริงอะไร เพราะ ISS Detector Satellite Tracker สามารถให้คุณติดตามวงโคจรของสถานีอวกาศได้

หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการส่งเสบียงไปยัง สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS : International Space Station) ที่เป็นข่าวน่าสนใจในช่วงประมาณสองเดือนที่แล้วใช่ไหมครับ แล้วก็อาจจะมีคำถามว่า เอ๊ะ แล้วสถานีอวกาศนานาชาติ (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า ISS ละกันนะครับ) คืออะไรล่ะ?

ประวัติย่อๆ ของ ISS มีดังนี้ครับ ISS เป็นโครงการระหว่างประเทศที่ร่วมมือกันเพื่อสร้างสถานีวิจัยทางด้านอวกาศ และวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, แคนาดา, องค์การอวกาศแห่งยุโรป (11 ประเทศ) และบราซิล เป็นสถานีทดลองและวิจัยทางด้านอวกาศในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ได้โคจรอยู่เหนือจากพื้นโลกประมาณ 350 กิโลเมตร โดยทำการโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 90 นาที

ดังนั้นในเวลา 1 วันจะโคจรรอบโลกได้ประมาณ 16 รอบ และบน ISS จะมีนักบินอวกาศประจำอยู่ข้างบนคราวละ 2-3 คนเป็นประจำ นับตั้งแต่เริ่มโครงการเป็นต้นมา( 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 ) อยู่ประจำในอวกาศ ผลัดละ 6 เดือน และมียานเสบียงคอยส่งน้ำและเสบียง ทุกๆ 3 เดือน โดยรัสเซีย

และโดยมากแล้วการติดตามการโคจรของ ISS นั้น ก็มีหลายกลุ่มที่สนใจครับ เช่น นักวิทยุสมัครเล่นของไทยจะมีบางกลุ่มที่คอยติดตามอยู่เพราะว่า สามารถใช้คลื่นความถี่ในย่านนักวิทยุสมัครเล่นติดต่อกับนักบินอวกาศได้ด้วย หรือจะใช้กล้องโทรทรรศน์หรืออาจจะเป็นกล้องถ่ายรูปที่มีกำลังขยายสูงในระดับนึงมองและถ่ายรูปเห็น ISS ขณะโคจรผ่านเหนือหัวเราได้อีกด้วยครับ

และการติดตามวงโคจรของ ISS นั้นนอกเหนือจากการติดตามจากเว็บไซต์ด้วยการดูบนคอมพิวเตอร์แล้ว เราสามารถติดตั้งโปแกรม ISS Detector Satellite Tracker บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จาก Play Store ได้อีกด้วยครับ เพื่อความสะดวกที่ว่าเราสามารถพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างสะดวกครับ

01Have you seen the International Space Station? เป็นคำโปรยที่ดูวิทยาศาสตร์มากๆ

02เมื่อทำการติดตั้งแล้ว เปิดโปรแกรมกันมาเลยครับ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้ด้วยนะครับ การเปิดใช้งานครั้งแรกจะใช้เวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลเริ่มต้นนานสมควร รอกันนิดนึง

03เมื่อข้อมูลปรากฏแล้วจะมี Iridium เพิ่มเข้ามาด้วย โดย Iridium เป็นดาวเทียมสื่อสารที่บริษัทเอกชนของสหรัฐผลิตขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ครับ

04กำหนดค่าการใช้งานกันก่อนครับ โดยเข้าที่ Settings

05ในส่วนของ Settings นี้ไม่มีอะไรมากครับ จะเป็นการเตือนและการอัพเดตข้อมูล

06เช่นว่า ต้องการให้โปรแกรมทำการอัพเดตข้อมูลทุกๆ เมื่อไรหรือทำการอัพเดตด้วยตนเอง

07 ในส่วนของ Removal เป็นการลบข้อมูลการโคจรเมื่อ ISS ผ่านไปเป็นเวลาเท่าไร เราจะได้ค้นหาข้อมูลใหม่ๆ เจอได้สะดวกขึ้น

08ต้องการให้มีการเตือนแบบสั่นหรือแบบเสียงด้วยหรือไม่ ก็สามารถเลือกได้

09โดยการเตือนนั้นก็ตั้งเวลาได้ว่าก่อนถึงเวลาเท่าไร

10ที่เหลือเป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับเวลา

11ในส่วนของ Filters มีให้เราเลือกว่า ต้องการติดตามดาวเทียมดวงใด ถ้าไม่ต้องการปิดการแสดงผลข้อมูลนั้นได้

12มีการเตือนย่อยๆ ให้เลือกด้วย คือ ระยะความสูงต่ำสุด, ความสูงสุดที่เรากำหนดไว้และเส้นทางที่ตาเปล่ามองเห็น

13เมื่อกำหนดค่าการใช้งานเรียบร้อยแล้ว มาดูกันครับ วิธีสังเกต ISS ให้เอียงเครื่อง จนวงกลมสีฟ้ามาอยู่ที่ตำแหน่งวงกลม จะเป็นมุมเอียงให้เราเงยหน้าไปที่องศานั้นครับ หรือสังเกตที่มุมล่างขวา จะบอกมุมเอาไว้ว่าเงยกี่องศา ในที่นี้คือ 39.9 องศา

14เมื่อเลือกที่แถบ Details จะมีรายละเอียดข้อมูลแบบละเอียดให้เราได้ทราบ

15แตะที่รูปตรงกลาง จะแสดงการเคลื่อนแบบเวลาจริง โดยจะแสดงเส้นทางโคจรคือเส้นสีแดง

16ซูมเข้าไปก็ได้ครับ

17หรือจะซูมออกมาก็ได้ โดยตำแหน่งของเราคือจุดสีแดง จังหวะกำลังได้เลยครับ วงโคจรล่าสุดของ ISS อยู่ใกล้ๆ พอดี

18กลับมาที่หน้ารายละเอียดหลักเทียบกับรูปก่อนหน้าครับ จะมีการเปลี่ยนแปลงของค่าต่างๆ อยู่ตามเวลาเลย เช่น Latitude, Longitude, Direction, Elevation และ Height เพราะว่าระหว่างการโคจรนั้น ISS จะพยายามรักษาระดับการโคจรให้นิ่งที่สุด อาจจะมีแกว่งไปบ้างใน Height ซึ่งก็คือความสูงจากพื้นโลก

ส่วนการเปลี่ยนตำแหน่งตามวงโคจรนั้นก็คือ เปลี่ยน Latitude เอง Longitude นั่นเอง และ Elevation คือมุมเงย ยิ่งไกลออกไปมุมเงยก็จะลดลงเว้นแต่ว่าความสูงเปลี่ยนไปบ้าง

19แตะเลือกที่รูปสี่เหลี่ยมด้านบนขวา เป็นการเข้าปฏิทินกำหนดการเตือนเข้าสู่ปฏิทินของเรา

20มีรายละเอียดให้ครบในข้อมูลการเตือน ในข้อความแสดงไว้คือ จะผ่านบริเวณที่ผมอยู่อีกครั้ง เวลา 04:42 หรือ ตีสี่ เช้ามืดวันอังคารที่ 8 กันยายน จนถึงเวลา 04:45 ที่จะมองเห็นได้ ในมุมเงย 40 องศา

21มาลองดูการติดตามดาวเทียม Iridium กันบ้างครับ คล้ายๆ กันครับ

22อันนี้ผมลองดูข้อมูลการโคจรของ ISS ล่วงหน้าของอีกสองวันข้างหน้า มุมเงยเปลี่ยนไปเป็นน้อยลง ก็คือ ตามวงโคจรและตามเวลาที่จะผ่านเหนือหัวของเราครับ

23ถ้าต้องการซื้อรายการเสริมก็สามารถทำได้ครับ ราคาไม่แพง มีข้อมูลอื่นๆ เสริมให้ท่านที่สนใจได้เป็นอย่างดี ถ้าซื้อแบบ Combo ก็ถูกหน่อย

24หรือจะเลือกซื้อแยกก็ได้ครับ แต่รวมๆ แล้ว ราคาจะแพงกว่าซื้อทีเดียว

25สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจทางดาราศาสตร์ผสานกับวิทยาศาสตร์ โปรแกรมนี้น่าสนใจมากครับ ทั้งในการติดตามวงโคจรของ ISS รวมไปถึงท่านที่สนใจการถ่ายภาพเทหวัตถุ ก็สามารถใช้โปรแกรมนี้ในการติดตาม ISS ได้เช่นกัน ไม่แน่นะครับ เราจะได้เห็น ISS ได้ด้วยตามเปล่า รวมไปถึงมีรูปถ่ายของ ISS ที่เราสามารถถ่ายมาได้เป็นของตัวเอง นอกเหนือจากที่เราเห็นจากคนอื่นหรือจากอินเตอร์เน็ต เป็นความภูมิใจจากสิ่งที่เราสนในได้เป็นอย่างดีเลยครับ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save