News & Update

30 ปีของระบบปฏิบัติการ Windows กับการเปลี่ยนโฉมวงการคอมพิวเตอร์

ผ่านเวลามา 30 ปี มาดูกันว่าวิวัฒนาการของระบบปฏิบัติการ Windows จาก Microsoft นั้นได้เปลี่ยนแปลง และเปลี่ยนโฉมวงการคอมพิวเตอร์ไปอย่างไรบ้าง

Windows

ผ่านเวลาไปกว่า 30 ปี นับตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1985 บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการซอฟต์แวร์อย่าง Microsoft ได้ออกระบบปฏิบัติการวินโดว์เวอร์ชั่นแรกออกมา

แม้แต่ Bill Gates เองก็ยังไม่สามารถฟันธง หรือแน่ใจได้ว่า ระบบปฏิบัติการตัวดังกล่าว จะดัง จะปังหรือไม่ และมันจะสามารถอยู่มาได้เป็นเวลาสิบๆปีหรือไม่ . . . ไม่มีใครล่วงรู้ได้

แต่แล้ว Microsoft พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าระบบปฏิบัติการวินโดว์นั้น ประสบความสำเร็จมากเพียงใด และอยู่ยืนหยัดมาได้ยืนยาวเป็นเวลานานถึง 30 ปีเลยทีเดียว

มาดูกันครับ ว่าวิวัฒนาการ 30 ปีของระบบปฏิบัติการ Windows เป็นอย่างไรบ้าง?

Windows 1.0 – 20 พฤศจิกายน 1985

Win001

ระบบปฏิบัติการตัวนี้ เดิมที มีชื่อ codename ว่า “Interface Manager” ซึ่งถูกประกาศครั้งแรกโดย Bill Gates ในปี 1983 แต่ก็ไม่ได้ออกวางขายซะที จนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 1985

ซึ่งเจ้าระบบปฏิบัติการตัวนี้ ถือเป็น Front-End ตัวแรกของ command line DOS (Disk Operating System) ของ Microsoft เลยก็ว่าได้

ระบบปฏิบัติการตัวนี้ มาพร้อมกับเดสก์ทอปฟีเจอร์ ยกตัวอย่างเช่น

  • MS-DOS Executive File Manager
  • Calendar
  • Cardfile
  • Notepad
  • Terminal
  • Calculator
  • Clock เป็นต้น

Utility ของระบบปฏิบัติการ รวมไปถึง RAMDrive ที่ใช้สำหรับจัดการเมมโมรี่การ์ด ถูกออกแบบมาเพื่อให้เอาชนะเมมโมรี่ในเครื่องที่มีอยู่จำกัดที่ 640 KB เท่านั้น

ระบบปฏิบัติการมีเกมให้เล่นแก้เซ็งด้วย คือ เกม Reversi

โดยเจ้าระบบปฏิบัติการตัวนี้มาพร้อมกับ Windows Write  และ Windows Paint โดยสนนราคาที่ 99 ดอลล่าร์

Windows 2.0 – 9 ธันวาคม 1987

Win002

เวอร์ชั่นที่ 2 ของระบบปฏิบัติการวินโดว์นั้นเริ่มรองรับ VGA กราฟฟิคที่ 16 สี และ การเปิดวินโดว์ซ้อนๆกัน

ตัว Control Panel และ Program Information Files (PIFs) ก็เปิดตัวครั้งแรกในเวอร์ชั่นนี้ ซึ่งมันคือฟีเจอร์ที่บอกกับวินโดว์ว่าจะรัน DOS Application ยังไง

นอกจากนี้ มันยังเป็นวินโดว์แพลตฟอร์มตัวแรกสำหรับ Microsoft Words และ Microsoft Excel อีกด้วย

ระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่น 2.0 นั้นก็คล้ายๆตัว 1.0 ที่สามารถรัน floppy drive คู่ได้โดยไม่ต้องมี hard disk แต่จะใช้ real-mode memory model แทน ซึ่งจำกัด memory access ที่ 1 MB เท่านั้น

การเปิดวินโดว์ซ้อนๆกันได้ หรือ ฟีเจอร์อื่นๆที่คล้ายกับ Mac ทำให้วินโดว์ 2.0 นั้น ไม่ประสบความสำเร็จในการฟ้องร้อง Apple ในปี 1988

Windows 3.0 – 22 พฤษภาคม 1990

Win003

นี่เป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ตัวแรกที่ประสบความสำเร็จ และใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เพราะ วินโดว์ 3.0 นั้นมาการเปลี่ยนแปลง User Interface อย่างมีสาระสำคัญ อีกทั้งยังแก้ไขการใช้งานความสามารถการจัดการเมมโมรี่ของตัวประมวลผล Intel 286 และ 386

เป็นครั้งแรกที่เปิดตัว Program Manager และ File Manager สำหรับระบบปฏิบัติการวินโดว์ ประกอบกับการออกแบบ Control Panel ใหม่ และเกมไพ่ Solitaire

ส่วนเรื่องหน้าจอแสดงผล ตัววินโดว์ 3.0 รองรับ VGA 256 สี

Windows NT 3.1 – 27 กรกฎาคม 1993

Win004

วินโดว์ NT ถือกำเนิดจากจุดจบของการร่วมมือทางธุรกิจที่ไม่ค่อยจะสวยนักระหว่าง IBM และ Microsoft

ซึ่งระบบปฏิบัติตัวนี้สร้างจากการนำของอดีตวิศวกรซอฟต์แวร์ของ DEC อย่าง Dave Cutler โดยที่มาพร้อมกับฟีเจอร์ต่อไปนี้

  • fully 32-bit pre-emptive multitasking
  • multithreaded
  • multiprocessing
  • multiuser operating system ที่มากับ hybrid kernel
  • hardware abstraction layer เป็นต้น

วินโดว์ NT ตัวนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาเพื่อ Intel i860 ซึ่งได้ชื่อ NT มาจาก codename N-Ten (ภายหลังเหมือนจะเปลี่ยนชื่อเป็น New Technology)

NT นั้นปรากฏใน CPU Architecture ที่หลากหลาย เช่น

  • IA-32
  • x86-64
  • Alpha
  • MIPS
  • PowerPC
  • ARM
  • Itanium

Windows 95 – 24 สิงหาคม 1995

Win005

วินโดว์ 95 เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกมาโดยมุ่งเน้นไปที่ลูกค้าเป็นหลัก โดยออกมาทั้งตัว 16 บิตและ 32 บิต พร้อมทั้ง User Interface แบบใหม่ และฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น

  • plug-and-play automatic device detection
  • configuration

และการออกแบบ UI ใหม่ที่ว่า เป็นการปรากฏตัวครั้งแรกของ

  • ปุ่ม Start
  • Start Menu
  • taskbar
  • System Tray (หรือ notifiction area)
  • ปุ่ม maximise, minimise และ ปิดหน้าต่าง

ดนตรีจิงเกิลที่เปิดเครื่องของระบบปฏิบัติการวินโดว์ 95 นั้น ทำขึ้นโดย Brian Eno

Windows NT 4.0 – 24 สิงหาคม 1996

Win006

ระบบปฏิบัติการตัวนี้ มีให้ใช้งานทั้งเวอร์ชั่นที่เป็น Workstation และ Server

จากนั้นก็ตามด้วยตัว Enterprise Edition ในปี 1997 และ Terminal Server ในปี 1998

ตัววินโดว์ NT 4.0 ได้เพิ่มเติม UI แบบ fully 32 บิต จากวินโดว์ 95

การปรับปรุงที่เห็นในระบบปฏิบัติการตัวนี้ คือ ตัว Graphics Device Interface (GDI) นั้นเปลี่ยนไปเป็นแบบ kernel mode แล้ว

ระบบปฏิวัติการตัวนี้ เป็นเวอร์ชั่นแรกที่รองรับ DirectX Multimedia API

Windows 98 – 25 มิถุนายน 1998

Win007

ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 98 นั้นใช้งานง่ายกว่าวินโดว์ 95 โดยมีการปรับปรุง UI ซะใหม่ ที่มาพร้อมกับ

  • Internet Explorer 4
  • Quick Launch toolbar
  • Active Desktop
  • สามารถ minimise วินโดว์ที่เปิดไว้จากไอคอนที่ toolbar
  • มาพร้อมกับปุ่ม backward , forward และ Address bar ใน Windows Explorer

ระบบปฏิบัติการตัวนี้รองรับการใช้งาน USB (ซึ่งใช้งานได้ครั้งแรกในวินโดว์  95 OSR 2.1 ในเดือนเมษายน 1997 แต่ปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม)

ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อ

  • hub
  • สแกนเนอร์
  • เม้าส์
  • คีบอร์ด
  • จอยสติ๊ก

แต่ยังไม่รองรับ โมเดม , ปริ๊นเตอร์ และ storage device

Windows 2000 Professional – 17 กุมภาพันธ์ 2000

Win008

ระบบปฏิบัติการตัวนี้พัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของ code base ของ วินโดว์ NT 4.0 และออกแบบมาเพื่อจะแทนที่ตัว NT 4.0 และ Windows 98

วินโดว์ 2000 ถูกปล่อยออกมาก่อนระบบปฏิบัติการ Windows ME ที่เปิดตัวไม่ค่อยจะสวยเท่าไหร่

วินโดว์ 2000 โปรเพสชันแนล มาพร้อมกับฟีเจอร์ plug and play ตัว full ACPI และรองรับ WDM และฟีเจอร์ต่างๆจากวินโดว์ 98 และ 98 SE

สิ่งที่มาใหม่ในระบบปฏิบัติการตัวนี้ยังมีอีก นั่นก็คือ

  • NTFS 3.0
  • Encrypting File System (EFS)
  • Logical Disk Manager
  • LDAP/Active Directory ที่ใช้ enable ตัว Address Book
  • Microsoft Management Console (MMC)
  • Windows File ยังป้องกันไม่ให้โปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาติ เปลี่ยนแปลง หรือ แก้ไขตัว system file ที่สำคัญๆ

Windows ME – 14 กันยายน 2000

Win009

ระบบปฏิบัติการตัวนี้เป็นตัวสุดท้ายแล้วที่เป็นวินโดว์แบบ DOS-baes

และมันก็ถูกตราหน้าว่าเป็นระบบปฏิบัติการวินโดว์ที่แย่ที่สุดเวอร์ชั่นนึงเลยก็ว่าได้

ซึ่ง ไม่เหมือนกับวินโดว์ 95 และ 98 เลย โดยที่มันขาด real-mode DOS support และไม่มีฟีเจอร์ System Restore ที่ให้ผู้ใช้งานย้อนกลับไปตรงจุดการตั้งค่าที่เสถียรก่อนหน้านี้

เนื่องจากทาง Microsoft รีบปล่อยระบบปฏิบัติการตัวนี้เร็วไป จึงมีปัญหาบั๊กระบบและ program crash มากมาย

Windows XP – 25 ตุลาคม 2001

Win010

วินโดว์ XP ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร หลังจากที่ผู้คนผิดหวังจากวินโดว์ ME ที่ออกมาก่อนหน้านี้

และเป็นครั้งแรกที่ระบบปฏิบัติการวินโดว์มาในรูปแบบเวอร์ชั่น Professional  และ Home

สิ่งที่มาใหม่พร้อมระบบปฏิบัติการตัวนี้ คือ

  • Start Menu แบบ 2 แถว
  • การรวม task ต่างๆไว้ด้วยกันใน taskbar
  • การล็อค taskbar
  • มาพร้อมกับหน้าตาแบบ Luna Visual Style ซึ่งมาพร้อมกับธีมมากมาย
  • สามารถ interface กับวินโดว์ 95 และ 2000 ได้

และอย่างที่รู้ๆกันว่า หลังจากเปิดตัวมา 12 ปีกว่าๆ ทาง Microsoft ก็หยุดการ support ระบบปฏิบัติการตัวนี้ในวันที่ 8 เมษายน 2014

Windows Server 2003 – 24 เมษายน 2003

Win011

ตัว server version ของวินโดว์ XP มาในรูปแบบของ

  • Web Edition
  • Standard Edition
  • Enterprise Edition
  • Datacenter Edition

ฟีเจอร์หลักๆที่มาใหม่ของเวอร์ชั่นนี้ คือ

  • การปรับปรุง Active Directory ซะใหม่ โดยจัดการ server too สำหรับ role ของ admin server roles
  • IIS web server เวอร์ชั่น 6.0 ซึ่งสามารถจัดการกับ Group Policy และ Admin ได้ดีขึ้น
  • ระบบการ Backup และ Restore และการปรับปรุง Disk Management
  • ปรับปรุง script และ command line

Windows Vista – 30 มกราคม 2007

Win012

Microsoft นั้นคลอดระบบปฏิบัติการตัวนี้ช้ากว่ากำหนด ช้าไม่พอ ดูเหมือนอายุของมันก็จะไม่ยืดยาวเท่าไหร่ด้วย

เนื่องจากระบบปฏิบัติการตัวนี้ถูกโวยในเรื่องของ

  • ฟีเจอร์เรื่องความปลอดภัย
  • การจัดการสิทธิ์ดิจิตอล
  • requirement ของฮาร์ดแวร์
  • การทำงานของตัวซอร์ฟแวร์

หลังจากที่เริ่มต้นด้วยการใช้ code base ของ XP ผิดตัว ทำให้ Longhorn (codename ของ Vista) นั้นถูกสร้างบน วินโดว์ Server 2003  SP1 โดยทำการตัดฟีเจอร์ที่ไม่ต้องการออก นั่นคือ WinFS

ฟีเจอร์ที่มากับระบบปฏิบัติการตัวนี้ ได้แก่

  • Aero Interface
  • Visual Effect ต่างๆ
  • ออกแบบ start menu ใหม่

Windows Server 2008 – 27 กุมภาพันธ์ 2008

Win013

ระบบปฏิบัติการตัวนี้ พัฒนาขึ้นจาก code base เดียวกับวินโดว์ วิสต้า โดยมาพร้อมกับฟีเจอร์สำคัญๆ เช่น

  • Network Access Protection (NAP)
  • Server Core, PowerShell
  • Read-Only Domain Controllers
  • ปรับปรุง component เดิมๆ เช่น IIS, Terminal Services และ SMB file-sharing protocol

Windows 7 – 22 ตุลาคม 2009

Win014

วินโดว์ 7 เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกมองว่าทาง Microsoft ควรทำออกมาตอนที่ออกตัว Vista ซึ่งระบบปฏิบัติการตัวนี้ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมและเรียกศรัทธากลับมาให้ Microsoft อีกครั้ง
วินโดว์ 7 มากับฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น
  • การออกแบบ taskbar ใหม่
  • การพรีวิวแบบ thumbnail และ live content
  • List ของไฟล์ที่เพิ่งเปิด
  • ปุ่ม minimise โปรแกรม เพื่อโชว์ desktop
  • ปรับปรุง Windows Media Player 12  ที่รองรับ internet streaming

Windows Server 2012 – 4 กันยายน 2012

Win015

วินโดว์ เซิร์ฟเวอร์ 2012 นั้น ออกมาด้วยกันทั้งหมดที่ 4 ได้แก่

  1. Foundation
  2. Essentials
  3. Standard
  4. Datacenter

นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงที่สำคัญๆในด้านต่างๆ เช่น

  • virtualisation
  • storage
  • networking
  • automation

และยังใช้งานได้กับอุปกรณ์ เช่น System Center และ Windows Azure

Windows 8 – 25 ตุลาคม 2012

Win016

วินโดว์ 8 นั้นออกมาทั้งแบบ 32 บิต และ 64 บิต และยังมี วินโดว์ 8 , วินโดว์ 8 Pro และ วินโดว์ 8 Enterprise

Microsoft นั้นโฟกัสให้เจ้าวินโดว์ 8 นั้นลงบนอุปกรณ์พวกทัชสกรีนต่างๆ เช่น tablet หรือ พวกลูกผสม tablet และ laptop

หน้าตาสกรีนของระบบปฏิบัติการตัวนี้ ต่างออกไปจากวินโดว์ 7 และไม่มีปุ่ม Start อีกด้วย

Windows 8.1 – 17 ตุลาคม 2013

Win017

วินโดว์ 8.1 ได้นำเอาสิ่งที่ขาดหายไปจากระบบปฏิบัติการรุ่นก่อนกลับมา นั่นคือ ปุ่ม Start บน Desktop Taskbar

มันไม่ใช่ปุ่ม start แบบเดิมๆ แต่มันสามารถปรับแต่งการเข้าถึงฟีเจอร์ต่างๆได้จากหน้า start screen ด้วย

ตัว service pack สำหรับวินโดว์ 8 (เวอร์ชั่น 8.1) นั้นสามารถ download ได้จากวินโดว์สโตร์

ฟีเจอร์ที่มาใหม่กับวินโดว์ 8.1 ได้แก่

  • ปรับปรุงการ search
  • การใช้งานแอพฯจากวินโดว์สโตร์
  • ความสามารถในการแสดงผลและใช้งานได้ 4 แอพฯพร้อมกัน
  • การออกแบบวินโดว์สโตร์ใหม่
  • การรวมตัวเข้ากับ SkyDrive

Windows 10 – 29 กรกฎาคม 2015

Win018

ระบบปฏิบัติการนี้มีชื่อว่า Threshold ซึ่งเปิดตัวตั้งแต่เดือนกันยายน 2014 แต่เปิดให้ใช้งานจริงวันที่ 29 กรกฎาคม 2015

ระบบปฏิบัติการตัวนี้ ถูกมองว่าทาง Microsoft ออกมาเพื่อแก้ไขวินโดว์ 8.x ที่ดูเหมือนจะสับสนกับ UI

วินโดว์ 10 นั้น มากับ start menu ที่ขยายได้ และมาพร้อมกับ Live Tiles

เจ้าระบบปฏิบัติการตัวล่าสุดของ Microsoft นั้นรันได้บนหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น

  • การฝังลงในระบบ
  • สมาร์ทโฟน
  • แท็บเล็ต
  • ลูกครึ่ง tablet / laptop
  • laptop
  • desktop computer
  • game console เป็นต้น
  • ฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ เช่น Surface Hub หรือแว่น HoloLens

มาพร้อมกับฟีเจอร์ใหม่อย่างเช่น

  • Windows Hello ซึ่งเป็นเทคโนโลยี biometric ตัวใหม่
  • internet browser ตัวใหม่อย่าง Microsoft Edge
  • Cortana
  • DirectX 12 และ WDDM 2.0 เพื่อปรับปรุงกราฟฟิคและฟังก์ชั่นการเล่นเกม

ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 10 นั้นออกมาด้วยกันทั้งสิ้น 7 ตัวด้วยกัน

  1. Home Edition
  2. Mobile Edition
  3. Pro Edition
  4. Enterprise Edition
  5. Education Edition
  6. Mobile Enterprise Edition
  7. IoT Core Edition

ผู้ใช้งานที่มีคุณสมบัติผ่านที่ใช้ วินโดว์ 7, วินโดว์ 8, วินโดว์ 8.1 และวินโดว์โฟน 8.1 สามารถอัพเกรดเป็นวินโดว์ 10 ได้ฟรีภายใน 1 ปี หลังจากที่ออกมาให้ใช้งาน อีกทั้งยังได้รับ security patch ตัวอัพเดตที่ Microsoft เรียกว่า “Windows as a service”.

ก็ผ่านไปแล้วกับเรื่องราว 30 ปีที่ผ่านมาของระบบปฏิบัติการวินโดว์ครับ 🙂

เคยใช้งานมาแล้วกี่เวอร์ชั่น ชอบตัวไหน หรือไม่ชอบตัวไหนเพราะอะไร ลองแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหน่อยนะครับ

ข้อมูลจาก : zdnet

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save