Article

เช็คความชื้น Samsung Galaxy S7 ว่าเคยโดนน้ำเข้าเครื่องแล้วหรือไม่

เช็คความชื้น Samsung Galaxy S7

ชมคลิปแกะเครื่อง Galaxy S7 ดูภายในว่าการประกอบนั้นออกแบบมาอย่างไรจึงสามารถกันน้ำได้ และดูวิธี เช็คความชื้น Samsung Galaxy S7 ว่าเคยโดนน้ำเข้ามาแล้วหรือไม่

สำหรับ Galaxy S7 และ S7 edge สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่จาก Samsung เป็นที่ทราบกันดีว่ามีจุดเด่นพิเศษในเรื่องของการกันน้ำมาตรฐาน IP68 คือสามารถลงน้ำได้ระดับความลึก 1.5 เมตรได้เป็นเวลา 30 นาที หลายคนอาจจะสงสัยว่า Samsung ผลิตเครื่องและประกอบอย่างไรจึงสามารถกันน้ำได้ระดับนี้โดยที่ไม่ต้องเสียบจุกยางพอร์ตต่างๆ ก่อน และวิธี เช็คความชื้น Samsung Galaxy S7 ว่าเคยโดนน้ำเข้ามาก่อนหรือไม่ได้ด้วยตัวเอง

ทาง Jerry Rig Everything ได้ทำการแกะเครื่อง Galaxy S7 ออกมาและชี้ให้ดูถึงการประกอบภายในที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในตัวเครื่องตามจุดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณช่องเสียบถาดซิม, ลำโพง, ไมค์,หูฟัง, ช่องเสียบ USB และปุ่มกดต่างๆ ที่มีทั้งการใช้ยางในการซีลเครื่องในการประกอบ ตัวช่องเสียบพอร์ตต่างๆ มีตัวยางกันไม่ให้น้ำเข้ากั้นอยู่ภายในทุกจุด ทำให้ไม่ต้องใส่จุกเพื่อกันน้ำ ส่วนบริเวณลำโพงและไมค์จะใช้เทคโนโลยีของ Gore Tex เป็นผ้าที่น้ำไม่สามารถซึมผ่านไปได้ แม้กระทั่งตัวบอร์ดเองก็มีเคลือบสารเพื่อป้องกันน้ำเอาไว้ด้วย

rubberseal

การประกอบตัวเครื่องขอ Galaxy S7 นั้นจะเป็นการใช้กาวในการติดรอบเครื่อง ก็เพื่อช่วยให้ไม่มีน้ำเข้ามาในรอยต่อรอบเครื่องได้

headphone-seal

บริเวณชิ้นส่วนของพอร์ตช่องหูฟัง 3.5 มม. ก็มีขอบยางซีลป้องกันไว้อีกชั้น
usb-port

รอบช่องพอร์ต USB ก็มียางซีลขอบเอาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าด้วยเช่นกัน

gore-tex

นี่คือตัวผ้าปิดช่องลำโพงเสียง ที่ใช้เทคโนโลยี Gore Tex ที่ใช้กับเสื้อผ้ากีฬาต่างๆ มีคุณสมบัติที่ให้เสียงผ่านมาได้แต่ไม่ให้น้ำหรือของเหลวไหลผ่านเข้าไปด้านใน

board-seal นอกจากนี้ที่ตัวของบอร์ดเองก็มีเคลือบสารกันน้ำ ที่ปรับแรงตึงของผิวน้ำให้จับตัวเป็นก้อน เหมือนกับน้ำที่อยู่บนใบบอน

มาถึงจุดที่หลายคนที่ใช้งานเครื่องแล้วกังวลกับการรับประกันเครื่องว่า แล้วถ้าน้ำมันเข้าเครื่องแล้วจะเช็คได้อย่างไร? จุดที่ผู้ใช้ Galaxy S7 และ S7 edge จะต้องระวังมากที่สุดคือ ที่ถาดใส่ซิมและเมมบริเวณด้านบนของเครื่อง ปกติแล้วตัวถาดจะมีซีลยางกั้นภายในด้วยอีกชั้นแต่ถ้าหากว่าผู้ใช้เสียบถาดซิมไม่สนิทก็มีสิทธิ์ที่น้ำจะเข้าไปได้ โดยที่ด้านในบอร์ดเครื่องใกล้ๆ จุดเสียบถาดซิม จะมีสติกเกอร์วัดความชื้น ในคลิปเราจะเห็นได้ว่ามันจะเป็นสีขาวและมีกากบาทสีชมพู ถ้าหากมันสัมผัสกับน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูทั้งแผ่น นั้นก็คือจุดที่ทางช่างเทคนิคของ Samsung เอาไว้ตรวจสอบว่ามีน้ำเข้ามาจากทางนี้หรือไม่ และจะเห็นว่าที่ในบอร์ดบริเวณใกล้ๆ กับช่องของไมค์และลำโพงก็มีสติกเกอร์วัดความชื้นอยู่ด้วยอีกชุด

simtray

ด้านในของถาดซิมจะเห็นมีเป็นขอบยางขึ้นมาเพื่อช่วยกันน้ำไม่ให้เข้าไปในตัวเครื่อง

water-test

ในคลิปมีการทดสอบหยดน้ำลงบนสติกเกอร์ที่อยู่ใกล้ๆ กับช่องเสียบถาดซิม ซึ่งมันจะทำปฎิกริยากับน้ำ เมื่อโดนน้ำหรือความชื้นจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู

inner-simtray

ถ้าส่องเข้าไปจากในช่องถาดใส่ซิม ใกล้ๆ กับช่องรูกดถาดออกจะมองเห็นสติกเกอร์วัดความชื้นอยู่ ถ้าเครื่องใครเปลี่ยนเป็นสีชมพูก็แปลว่าเคยมีน้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในเครื่องแล้ว ซึ่งจะมีผลกับการรับประกันกับทาง Samsung ได้

sim-alert

ทุกครั้งที่แกะถาดซิมออกมา ที่หน้าจอจะเตือนผู้ใช้ทุกครั้งว่า ตรวจเช็คให้มั่นใจทุกครั้งว่าเสียบถาดซิมกลับเข้าไปเรียบร้อยแล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปในตัวเครื่องได้

inner-board

ยังมีจุดสติกเกอร์เช็คความชื้นภายในเครื่องอีกจุด แต่อันนี้เอาไว้สำหรับช่างเทคนิคตัวเช็คกรณีที่เครื่องเกิดความเสียหายภายใน

ดังนั้นในการใช้งาน Samsung Galaxy S7 เวลาที่แกะถาดซิมออกมา ต้องเช็คให้ดีว่าเสียบกลับเข้าไปสนิทเรียบร้อยดีหรือไม่ และถ้าให้มั่นใจเรื่องไม่ให้มีน้ำเข้า อาจจะใส่เคสแบบกันกระแทกที่มีส่วนของยางกระชับกับบริเวณขอบๆ รอบเครื่อง ก็พอช่วยให้อุ่นใจได้ว่าจะไม่มีช่องให้น้ำเข้าไปได้ และที่สำคัญ ถ้าไม่มีเหตุจำเป็นจริงๆ ก็ไม่ควรที่จะนำเอาเครื่องลงไปใช้งานใต้น้ำเป็นเวลานานๆ

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save