กรุงเทพ-8 มิถุนายน 2559 : ปัจจุบัน ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในเอเชียแปซิฟิก กำลังประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจแต่ละวัน สืบเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง ค่าใช้จ่ายทางธุรกิจที่สูงขึ้น การขาดแคลนเงินทุนที่จำเป็นในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจหรือขยับขยายธุรกิจที่มีอยู่ให้เติบโตขึ้น รวมถึงคู่แข่งที่เพิ่มจำนวนขึ้นและเข้มแข็งมากขึ้นทั้งในตลาดประเทศไทยและต่างประเทศ และช่องว่างด้านทักษะของบุคลากร เป็นต้น
นอกจากนั้น ธุรกิจเอสเอ็มอีต่างต้องดิ้นรนเพื่อเอาชีวิตรอดในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ท่ามกลางคู่แข่งจำนวนมากในตลาด ตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญ ไปจนถึงบริษัทสตาร์ทอัพที่มีความทันสมัยกว่า และดำเนินธุรกิจได้รวดเร็วกว่า
แต่เอสเอ็มอีเหล่านี้ ยังมีโอกาสในการยกระดับความคล่องตัวและความเร็วเพื่อบุกเข้าสู่ตลาดใหม่ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ประสบการณ์ที่ตนเองมีเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันกับบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ ได้ โดยมีเทคโนโลยีดิจิตอลเป็นตัวแปรสำคัญที่จะช่วยให้เอสเอ็มอีเหล่านี้ มีข้อได้เปรียบทั้งในด้านความเร็ว ค่าใช้จ่าย และความง่ายในการดำเนินธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้จาก ไอดีซี และเอสเอพี พบว่า เกือบ 1 ใน 3 (29 เปอร์เซ็นต์) ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีในเอเชียแปซิฟิคกล่าวว่า พวกเขาเสียเวลาส่วนมากไปกับการบริหารจัดการการปฏิบัติงานในแต่ละวัน แทนที่จะวางแผนสำหรับการเติบโตของธุรกิจ
นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า 55 เปอร์เซ็นต์ของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีมองเห็นแนวโน้มที่ดีของธุรกิจจากเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในขณะที่ 47 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าการให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในยุคเศรษฐกิจดิจิตอลเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการอยู่รอดของธุรกิจ ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เกินครึ่งของผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอี ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสู่ระบบดิจิตอลเป็นอันดับแรกในการบริหารธุรกิจ
นอกจากนั้น กว่า 1 ใน 4 ของ ผู้นำธุรกิจเอสเอ็มอีเหล่านี้ ยังมองไม่เห็นคุณค่าจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจของตนสู่ระบบดิจิตอล เนื่องมาจากความกังวลด้านความเสี่ยง ก้าวแรกที่สำคัญของเอสเอ็มอี ในการสร้างมูลค่า และสร้างโอกาสเติบโตให้กับธุรกิจ มาจากกรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิตอล (digital framework) ทั้งนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอีควรดำเนินธุรกิจอย่างทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยีระดับเดียวกับองค์กรใหญ่ในปัจจุบัน แทนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมที่เริ่มตกยุค
ยกตัวอย่าง เช่น บริษัท MEMEBOX บริษัทเครื่องสำอางสตาร์ทอัพสัญชาติเกาหลี ที่ได้ใช้ประโยชน์จากโซลูชั่นเอสเอพี ในแผนการขยายธุรกิจสู่ประเทศจีน อเมริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปพร้อมๆกับการขยายช่องทางซื้อขายจากออนไลน์มาสู่หน้าร้าน การใช้เทคโนโลยี ช่วยให้ MEMEBOX สร้างความชัดเจนในการดำเนินงานฝ่ายโลจิสติกส์ได้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งช่วยให้บริษัทขยายตัวบนแพลตฟอร์มศูนย์กลางเพียงหนึ่งเดียวสำหรับทุกเครือข่ายทั่วโลกได้
เทคโนโลยีควรมีส่วนช่วยในการผลักดันธุรกิจให้เติบโตขึ้น ไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ในปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่ระบบดิจิตอลไม่ได้เกี่ยวกับการใช้นวัตกรรมใหม่อีกต่อไป แต่มันคือความจำเป็นต่อการอยู่รอดของแต่ละองค์กร
กรอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับองค์กรดิจิตอล (Digital Business Framework)
เพื่อผลักดันให้ธุรกิจเอสเอ็มอีในประเทศไทย เปลี่ยนแปลงตนเองและกลายเป็นองค์กรดิจิตอลอย่างแท้จริง เอสเอพี ได้ออกแบบและสร้างสรรค์กรอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับเอสเอ็มอี เพื่อให้เกิดความเสี่ยงน้อยที่สุดในการเปลี่ยนแปลงธุรกิจสู่ระบบดิจิตอล โดยกรอบแนวคิดพื้นฐานสำหรับองค์กรดิจิตอล (Digital Business Framework) ดังกล่าว จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจแบบดิจิตอลได้อย่างแท้จริง ด้วยการครอบคลุมทุกมุมของธุรกิจ เอสเอ็มอีสามารถดำเนินกลยุทธ์ด้านดิจิตอลในด้านต่างๆได้ดังนี้
- แกนหลักแบบดิจิตอล: ด้วยแกนการทำงานหลักแบบดิจิตอล เอสเอ็มอีสามารถดำเนินธุรกิจได้แบบเรียลไทม์ และต่อยอดข้อมูลเชิงลึกของธุรกิจเพื่อการคาดการณ์และพัฒนาการตัดสินใจ การเพิ่มผลผลิต และการเพิ่มกำไรได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
- ประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า: การพัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านการบริการผ่านช่องทางที่หลากหลาย ผ่านการผสมผสานการตลาด การขาย การให้บริการ และการค้า ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวกัน
- การมีส่วนร่วมของบุคลากร: ทุกวันนี้ ผู้คนทำงานหนักขึ้น แต่ประสบความสำเร็จน้อยลง เนื่องมาจากความซับซ้อนภายในองค์กร เอสเอ็มอีจำเป็นต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของบุคลากรและมีการวิเคราะห์ที่ลึกขึ้น เพื่อช่วยในการค้นหาและรักษาบุคลากรที่ดีที่สุดให้อยู่กับองค์กรไปในระยะยาว
- เครือข่ายธุรกิจ และการร่วมมือกับซัพพลายเออร์: การร่วมมือกันระหว่างตลาดต่างๆ คือกุญแจสำคัญสู่การสร้างมูลค่าให้กับองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเอสเอ็มอีที่กำลังก้าวสู่การเป็นสากลมากขึ้น ความท้าทายและโอกาสที่ใหญ่ที่สุดในการเชื่อมต่อ ecosystem ต่างๆเป็นวงกว้าง คือจำนวนข้อมูลที่เพิ่มขึ้นแบบยกกำลังและสูญหายไปในเครือข่าย การใช้โซลูชั่นที่เหมาะสม จะช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถส่งต่อข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งมอบข้อมูลเชิงลึก และเพิ่มประสิทธิภาพของวิธีการที่บริษัทต่างๆแลกเปลี่ยนและนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น
- สินทรัพย์และ อินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT): เอสเอ็มอีสามารถต่อยอดการพัฒนาไอโอทีเพื่อสร้างมูลค่าที่มากขึ้นให้แก่ลูกค้าได้ พร้อมๆไปกับการพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ และรูปแบบรายได้ใหม่ ผ่านการสร้างพันธมิตรรูปแบบต่างๆ ด้วยการใช้ดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำงานพื้นฐาน เอสเอ็มอีจะสามารถรองรับการพัฒนารูปแบบใหม่ๆได้ดียิ่งขึ้น และสามารถกลายเป็นผู้นำในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นได้เช่นกัน
กรอบแนวคิดพื้นฐานด้านดิจิตอล ถูกออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้เอสเอ็มอีต่างๆ สามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วขึ้นและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม แทนที่จะรอโซลูชั่นที่สมบูรณ์แบบเพียงอย่างเดียว เอสเอ็มอีควรเริ่มต้นโดยการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ และมองหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกวัน
โดย นพดล เจริญทอง ผู้อำนวยการฝ่ายขายกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เอสเอพี ประเทศไทย