ปัจจุบันประชาชนได้รับอันตรายจากการรับประทานเห็ดพิษเป็นจานวนมาก เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจ และความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในการระบุชนิดของเห็ดที่รับประทานได้และเห็ดพิษ จึงทำให้มีการเก็บเห็ดพิษที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเห็ดรับประทานได้มาประกอบอาหารรับประทาน ซึ่งอาจส่งผลให้มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงได้ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชั่น Mushroom Image Matching สำหรับตรวจสอบชนิดของเห็ดได้อย่างรวดเร็วจากโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน และได้ร่วมวิจัยและจัดทำฐานข้อมูลเห็ดพิษและเห็ดรับประทานได้ เพื่อเป็นข้อมูลในพิพิธภัณฑ์เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยาของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้เป็นแหล่งข้อมูลสายพันธุ์เห็ดอ้างอิงในประเทศ และเพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงในการตรวจสอบลักษณะของเห็ดในโปรแกรมแอปพลิเคชั่นที่จาเป็นต้องใช้ภาพถ่ายลักษณะที่สำคัญต่าง ๆ ของเห็ดเพื่อใช้ในการประมวลผลที่ถูกต้องและแม่นยำ
การพัฒนาโปรแกรม Application Mushroom Image Matching ได้เสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้ ได้รวบรวมภาพถ่ายของเห็ดทั้งเห็ดพิษและเห็ดรับประทานได้ กลุ่มละ 1,000 ภาพ เก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่อใช้ประมวลผลด้วยโปรแกรมจดจำรูปภาพและแสดงผลชนิดของเห็ดด้วยชื่อและร้อยละของความถูกต้อง
สามารถดาวโหลดได้ที่ google play >>> ดาวน์โหลด <<<
การใช้งานแอปพลิเคชั่น Mushroom Image Matching
ติดตั้งแอปเสร็จแล้ว จากนั้นทำการลงทะเบียนข้อมูลขั้นต้นก่อน
การใช้งาน ใช้ได้ทั้งรูปภาพและสแกน
การใช้งานแอปด้วยการเปิดกล้องและสแกนดอกเห็ดที่ต้องการทราบชนิด แอปจะเริ่มประมวลผลแบบ real time และจะหยุดเมื่อความถูกต้องของชนิดเท่ากับร้อยละ 95 หรือเราสามารถกดปุ่มเพื่อหยุดได้ นอกจากนี้แอปนี้ยังสามารถตรวจสอบชนิดของเห็ดจากภาพถ่ายที่เก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือได้เช่นกัน
แอปในเวอร์ชั่นปัจจุบันมีฐานข้อมูลรูปภาพเห็ดเพื่อประมวลผลทั้งหมด 14 กลุ่ม
- เห็ดก่อและเห็ดน้ำหมากกินได้
- เห็ดผึ้งกินได้
- เห็ดระงากพิษ
- เห็ดระโงกกินได้
- เห็ดระโงกไส้เดือน
- เห็ดหมวกจีน
- เห็ดคันร่มพิษ
- เห็ดโคนกินได้
- เห็ดหัวกรวดครีบเขียวพิษ
- เห็ดบานค่ำ
- น้ำหมึก
- เห็ดถ่านใหญ่
- เห็ดถ่านเลือด
- เห็ดกระโดงหรือเห็ดนกยูง
นอกจากข้อมูลภาพถ่ายแล้วในฐานข้อมูลได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมของเห็ดแต่ละชนิด เช่น ชื่อพื้นเมือง พิษที่พบในเห็ด อาการที่แสดงหลังจากได้รับสารพิษดังกล่าว เป็นต้น
สำหรับแอปพลิเคชั่นนี้ เป็นประโยชน์มากสำหรับผู้อาศัยอยู่ต่างจังหวัด หาของป่าหรือผู้ที่ต้องเดินป่าตั้งแคมป์ และในปีนี้ทางผู้พัฒนาจะเพิ่มฐานข้อมูลเห็ดเข้าระบบเพิ่มมากขึ้นด้วย