Article

รู้จัก พรบ. คอม ใหม่ …เกี่ยวอะไรกับผู้ใช้มือถือ ? | สมคิด เอนกทวีผล

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ 2559 ที่ผ่านสภาฯเมื่อ 15 ธ.ค. ที่ผ่านไปหมาดๆ นี้ มีสาระสำคัญมากมาย ..แม้เจตนารมณ์จะใช้ป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีจุดที่เกี่ยวกับผู้ใช้มือถืออย่างเราๆ เต็มๆ
…นั่นเพราะทุกวันนี้คนไทยใช้เน็ตและโซเชี่ยลโพสต์ๆ อ่านๆ กันมากกว่าคอมพิวเตอร์ตามชื่อ พ.ร.บ. ซะอีก
ผลกระทบก็มีทั้งไม่ว่าจะใน “ทางบวก” หรือ “ทางเสี่ยง” ที่ต้องระวังว่าเราจะไปมีพฤติกรรมความผิดเสียเองทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ

พรบ. คอม ฉบับใหม่ 2559  ที่ผ่านสภาฯเมื่อ 15 ธ.ค. ที่ผ่านไปหมาดๆ นี้  มีสาระสำคัญมากมาย   ..แม้เจตนารมณ์จะใช้ป้องกันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แต่ก็มีจุดที่เกี่ยวกับผู้ใช้มือถืออย่างเราๆ เต็มๆ

…นั่นเพราะทุกวันนี้คนไทยใช้เน็ตและโซเชี่ยลโพสต์ๆ อ่านๆ กันมากกว่าคอมพิวเตอร์ตามชื่อ พรบ. คอมซะอีก

ผลกระทบก็มีทั้งไม่ว่าจะใน “ทางบวก” หรือ “ทางเสี่ยง” ที่ต้องระวังว่าเราจะไปมีพฤติกรรมความผิดเสียเองทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ

เริ่มที่ผลบวกชัดๆ ก่อน นั่นคือความรำคาญจากการ “สแปม” อาจจะลดลง สแปมทั้งหลายนี้ก็เช่นอีเมล์โฆษณาจากแหล่งที่เราไม่เคยยินยออมบอกรับ หรือโพสต์โฆษณาที่แท็กชื่อเราโดยไม่ได้รู้จักอะไรกัน หรือ SMS กระหน่ำขายของดูดวงต่างๆ เป็นต้น

…ซึ่ง พ.ร.บ. ใหม่นี้จะกำหนดให้ผู้ส่งต้องเปิดช่องให้ผู้รับยกเลิกการรับได้ด้วย ไม่อย่างนั้นถือว่าผิดกฎหมาย

พรบ. คอม

เรื่องต่อไปก็คือ การลงข้อมูลต่างๆ ทางออนไลน์ จะไม่ไปปะปนกับโทษ “หมิ่นประมาท” แบบเดิม เช่น สมมติเราโพสต์ลงเฟสบุ้คตำหนิร้านอาหารขายแพงเกิน  ซึ่งเดิมทางร้านอาจไปฟ้องหมิ่นประมาท โดยชี้ว่าที่โพสต์นั้นๆ เป็นข้อความเท็จ   

…แต่ พ.ร.บ. คอมฯ ใหม่นี้จึงระบุว่าจะมีโทษได้ ต้องไม่ใช่แค่ข้อมูลเท็จเท่านั้น แต่ต้องเป็นการเจตนาหลอกลวงด้วยจึงจะเข้าข่ายความผิด

hhz5npnr1t

มาที่เรื่องความเสี่ยงกันบ้าง …ข้อแรกคือฐานความผิด “กรณีโพสต์ข้อมูลที่ส่งผลเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ เศรษฐกิจ โครงสร้างพื้นฐาน ความปลอดภัยสาธารณะ”  

…ถ้าเราได้รับผลกระทบจากหน่วยงานรัฐบาล แล้วไปโพสต์วิจารณ์ในเน็ต ก็น่าจะผิดตามข้อนี้เต็มๆ หรือไม่ ?  และจะรวมไปถึงกรณีที่ไปใช้บริการรัฐแล้วไม่พอใจมาบ่นในเน็ตด้วยเหรือเปล่า ?

%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%95-www-ilaw-or

อีกความเสี่ยงสำคัญที่สยองขวัญหลายๆ คนคือ ถ้าประชาชนคนไหน มีข้อมูล เช่นไฟล์เอกสาร ภาพ คลิปเสียง หรือคลิปวิดีโอ ที่เคยถูกศาลตัดสินว่ามีความผิด อยู่ในเครื่องตัวเอง ก็ต้องลบด่วน มิฉะนั้นจะมีความผิดกึ่งหนึ่งของคนทำ 

…งานนี้ต้องรีบตรวจสอบในมือถือและในคอมฯและอาจจะรวมถึงใน “แคช” ของคอมฯด้วยว่าเคยไปดูไปเซฟอะไรที่เข้าข่ายฯไว้บ้าง ?!?

…แถมท้ายคือประเด็นที่ไม่เกี่ยวกับผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่โดยตรง  แต่ส่งผลกระทบตรงๆ ต่อบรรดาเจ้าของเว็บ ผู้ดูแลเพจ ต่างๆ นั่นคือจะมี “คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์”  5 คน (3 ใน 5 มาจากภาครัฐ) มาเฝ้าดูว่ามีข้อมูลอะไรในอินเตอร์เน็ตที่เข้าข่ายผิด พ.ร.บ. คอมฯ หรือ “ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน”  แล้วส่งเจ้าหน้าที่ไปขอคำสั่งศาลให้บล็อคหรือลบทิ้งได้ทันที

เดิมก่อนนี้ การจะ “ปิดเว็บ ปิดเพจ” ได้นั้นต้องมีการแจ้งความก่อน แล้วจึงไปขออำนาจศาลในการปิดเว็บบล๊อคเว็บ …แต่ต่อไปคณะกรรมการชุดนี้จะเป็นศูนย์กลางจัดการแทนเต็มตัว  จากที่ปัจจุบันก็มีทีมลักษณะนี้อยู่แล้วแต่ยังไม่มีอำนาจเท่าใน พ.ร.บ. นี้

…ข้อถกเถียงก็คือสื่อเว็บไซต์และเพจต่างๆ จะถือว่ามีสิทธิเสรีภาพลดลงหรือไม่ ?  มีความกลัวและ “เซ็นเซอร์ตัวเอง” มากขึ้นหรือเปล่า ?

และจากข้อนี้ …ระยะยาวจะทำให้ประชาชนทั่วไปมีทางเลือกน้อยลงในการติดตามข้อมูลข่าวสารหรือไม่ ?    หากเว็บไหนถูกปิดไปเพราะลงสิ่งที่ผิดกฎหมายชัดๆ และส่งผลเสียต่อผู้อื่นและสังคมชัดๆ เช่นภาพอนาจารเด็ก หรือ สอนเสพยา  ก็คงไม่เป็นไร  …แต่ถ้าเป็นลักษณะอื่นๆที่ ก้ำกึ่งกว่านี้  เช่นการวิจารณ์รัฐบาลหรือบุคคลสาธารณะต่างๆ  จะเป็นทางให้ปิดสื่อนั้นๆ ได้ง่ายขึ้นหรือไม่ ?

41

 

“ดราม่า” ต่างๆ ที่เราได้ข่าวว่ามีผู้ต่อต้าน พ.ร.บ. ใหม่นี้ตลอดปลายปีที่แล้ว  และยังมีควันหลงอยู่บ้างหลัง พ.ร.บ.ผ่านมาถึงวันนี้ ส่วนใหญ่ก็มาจากสารพัด ความเสี่ยงและ ความกลัว ประเด็นท้ายๆ นี้เองเป็นสำคัญ 

หลังจากนี้พวกเราคงต้องติดตามผลการใช้ พ.ร.บ. นี้ปฏิบัติงานจริงกันต่อไป  พร้อมกับพยายามระวังไม่ให้เราไปเป็นผู้กระทำผิดเสียเอง !

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save