Article

สัญญาณบ่งบอก คุณอาจป่วยเป็น “nomophobia” โรคขาดมือถือไม่ได้!

ในโลกยุคดิติตอลขณะนี้ คนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวันจำนวนมาก การก้มดูจอนานๆ จนอาจก่อให้เกิดโรค “โนโมโฟเบีย (Nomophobia)” อาการขาดมือถือไม่ได้

ในโลกยุคดิติตอลขณะนี้ คนส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวันจำนวนมาก และใช้เป็นเวลานานในแต่ละครั้ง การก้มดูจอนานๆ จนอาจก่อให้เกิดอาการใหม่ทางสุขภาพจิตที่เรียกว่า “โนโมโฟเบีย (nomophobia)”

hands texting with mobile phones

hands texting with mobile phones

 

โรคโนโมโฟเบีย (nomophobia) คืออะไร

โนโมโฟเบีย มาจากคำว่า โนโมบายโฟนโฟเบีย (no mobile phone phobia) เป็นคำศัพท์ที่องค์การวิจัยของสหราชอาณาจักรบัญญัติขึ้นเมื่อปี 2008  เพื่อใช้เรียกอาการขาดมือถือไม่ได้ เสพติดมือถือ โดยโรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มอาการวิตกกังวล เช่น เราตกอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณมือถือ แบตหมด จะทำให้รู้สึกหงุดหงิด กระวนกระวาย บางรายเป็นมากๆ อาจเกิดอาการเครียด เหงื่ออก ตัวสั่น รวมถึงคลื่นไส้อาเจียนได้ ระดับของอาการจะมากน้อยนั้น ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล

โนโมโฟเบีย ขาดมือถือไม่ได้ เสี่ยงให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพตามมาหลายๆ อย่าง ทั้งนิ้วล็อก สายตาเสื่อม มือไม่มีแรง กล้ามเนื้อที่คอ บ่า ไหล่เกร็งและปวดเมื่อย หมอนรองกระดูกเสื่อมก่อนวัยอันควร ทำให้เกิดอาการแขนชา เดินโคลงเคลงและภาวะอ้วนตามมาได้ ซึ่งผู้มีอาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน มากกว่าวัยผู้ใหญ่สูงวัย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แม้จะมีคนป่วยเป็นโรคนี้มากขึ้นทุกๆ ปีทั่วโลก แต่หลายๆ คนยังไม่รู้จะกับโรคนี้มากนัก

ข้อสังเกตของผู้ที่มีอาการ โนโมโฟเบีย

  1. พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา
  2. หมกมุ่นอยู่กับการเช็กข้อมูลในสมาร์ทโฟน
  3. เมื่อมีเสียงเตือน จะหยุดภารกิจตรงหน้าทั้งหมดเพื่อเช็กโทรศัพท์
  4. ตื่นนอนปุ๊ปหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเช็กข้อความทันที
  5. ใช้เวลากับเพื่อนในโลกออนไลน์มากกว่าเพื่อนที่อยู่ตรงหน้า
  6. ไม่เคยปิดโทรศัพท์มือถือเลย
  7. หากหามือถือไม่เจอ จะรู้สึกตื่นตระหนกตกใจมาก
  8. กลัวโทรศัพท์ตัวเองหาย แม้ว่าจะวางอยู่ในที่ที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม
  9. ไม่สามารถหยุดเล่นมือถือได้ แม้เพียงชั่วโมงเดียว
  10. ชอบเล่นโทรศัพท์เป็นประจำ ในขณะที่ทำกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวันไปด้วย เช่น เวลาขับรถ ระหว่างทานข้าว เข้าห้องน้ำ หรือระหว่างนั่งรอรถเมล์ ขึ้นรถไฟฟ้า

การป้องกันโรคนี้

ต้องสร้างวินัยในการใช้มือถือ ควรใช้เท่าที่จำเป็น ทำกิจกรรมอื่นทดแทน เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย ถ้ารู้สึกเหงาให้หาเพื่อนคุยแทนการสนทนาผ่านทางหน้าจอโทรศัพท์ ตั้งกฎว่าจะไม่แตะต้องมือถือภายในเวลาที่กำหนดเช่น 30 นาที 1 ชั่วโมง แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาห่างมือถือให้มากขึ้น หรือกำหนดให้ห้องนอนเป็นเขตปลอดมือถือ

เพียงเท่านี้อาการต่างๆ ที่จะตามจะลดลง ไม่เป็นการทำร้ายร่างกายเราทางอ้อมด้วยเช่นกัน

 

อ้างอิง : 1

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save