Article

แท็กซี่จีนวันนี้ยังเก่า…แต่เก๋ามาก

คุณอาจจะแปลกใจที่ทำไมครั้งนี้หัวข้อของบทความในคอลัมน์ Mobile Insider มิใช่เรื่องในวงการมือถือเหมือนทุกครั้ง แต่เมื่อตริตรองอีกทีคุณก็จะทราบได้ทันทีว่า

คุณอาจจะแปลกใจที่ทำไมครั้งนี้หัวข้อของบทความในคอลัมน์ Mobile Insider มิใช่เรื่องในวงการมือถือเหมือนทุกครั้ง แต่เมื่อตริตรองอีกทีคุณก็จะทราบได้ทันทีว่าวันนี้ “วงการแท็กซี่” เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เพราะแอพฯ เล็กใช้เรียกแท็กซี่แบบออนดีมานด์จากมือถือสมาร์ทโฟนนั่นเอง ทั้งปรากฎการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในทุกหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกด้วย!

112-115-mon

สำหรับเมืองไทยตลาดของแอพฯ เรียกแท็กซี่ถือว่ากำลังร้อนระอุเลยทีเดียว เริ่มจากคนขับแท็กซี่หลายพันคันเริ่มหันมาจอยกับบริษัท แอพฯ เรียกแท็กซี่ และใช้สมาร์ทโฟนรับผู้โดยสาร ช่วยให้ลดเวลาการวนรถหาลูกค้า ผู้ใช้ก็ต่างตื่นเต้นที่จะมีโอกาสเรียกแท็กซี่ที่ไม่ปฏิเสธลูกค้า แต่บางคนไม่คิดใช้บริการเพราะต้องยอมเสียค่าเรียกแท็กซี่เพิ่มจากค่าโดยสาร

เพียงเวลาไม่กี่ปี วันนี้เมืองไทยก็มีผู้ให้บริการแอพฯ เรียกแท็กซี่ถึง 3 รายปูพรมกินทั้งตลาดแล้ว โดยทุกรายล้วนเป็นบริษัทต่างชาติทั้งสิ้น ได้แก่ อูเบอร์ (Uber) จากอเมริกา ที่เน้นบริการแท็กซี่ป้ายดำเป็นหลัก ส่วนอีก 2 รายเน้นไปที่การจับมือกับสหกรณ์แท็กซี่ท้องถิ่น ได้แก่ แกร็บแท็กซี่ (GrabTaxi) จากสิงคโปร์ ที่เน้นเจาะตลาดทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสุดท้ายคือ อีซี่แท็กซี่ (Easy Taxi) จากสำนักงานใหญ่ของบริษัท Rocket Internet ในบราซิล (เจ้าของเดียวกับเว็บ lazada) ซึ่งมีให้บริการถึง 27 ประเทศทั่วโลก

web 4de73c192d1c3_500

อย่างไรก็ดีตลาดแอพฯ เรียกแท็กซี่ที่ผู้เขียนคิดว่า “ฮอต” ไม่แพ้กับไทย แถมยังแฝงไปด้วยความไฮเทคอย่างไม่น่าเชื่อนั้น กลับอยู่ที่ “ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่” โดยตลอดเวลา 3 เดือนที่พำนักในเมืองเล็กๆ ทางตอนกลางของจีน ผู้เขียนได้มีโอกาสสัมผัส และสัมภาษณ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทรนด์แท็กซี่ร้อนนี้ด้วยตัวเอง จึงอยากเก็บเรื่องราวสนุกๆ ในอีกมุมของอุตสาหกรรมแอพฯ เรียกแท็กซี่ในจีนมาฝากคุณผู้อ่าน โดยมีหลายแง่มุมที่ธุรกิจแอพฯ เรียกแท็กซี่ในจีนสร้างนวัตกรรมแบบไม่เหมือนที่ไหนในโลก!

คนที่เคยไปเที่ยวเมืองจีนแล้วจะพบว่า หากมิใช่เมืองใหญ่ๆ สภาพภายนอกของรถแท็กซี่นั้นเข้าขั้นไม่โอ ดูเก่า ไม่อนามัย และนั่งไม่สะดวก แถมยังมีกรงพลาสติกคั่นกลางคันอีกต่างหาก แต่เพราะประชากรมีมากเหลือเกิน และภาครัฐควบคุมปริมาณรถแท็กซี่ เช่นเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง มีแท็กซี่วิ่งบนถนนได้เพียง 660,000 คัน (จากจำนวนประชากร 23 ล้านคน) แท็กซี่จึงมักจะไม่พอต่อความต้องการของประชากรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะเวลาเร่งรีบ ปัญหาการปฏิเสธลูกค้าที่ไม่ไปตามเส้นทางที่คนขับอยากจะไปจึงพบได้บ่อยๆ

q1

q2

อย่างไรก็ดีปีนี้เป็นปีแรกที่รัฐบาลจีนจัดการอัปเกรด “ภายใน” ของรถแท็กซี่ในเมืองลำดับ 1 และ 2 เช่น นานจิง, เซี่ยงไฮ้, หยางโจว ใหม่หมดจรด เพิ่มอุปกรณ์ไฮเทคหลายด้วยกัน จากเดิมที่เคยมีแต่เครื่องพิมพ์ใบเสร็จ ก็เพิ่มเป็นติด 1. เครื่องจีพีเอสที่มีระบบจ่ายเงินด้วยการแตะบัตรไปในตัว  2. กล้องวงจรปิดที่อัดทั้งภาพและเสียงของการโดยสารรถทุกคันได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 3. จอโฆษณาพร้อมปุ่มกดประเมินความพอใจ ไม่พอใจ และ 4. ป้ายไฟพร้อมตัวอักษรวิ่งบนหลังคารถ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ทั้งหมดนี้ ถูกจัดหาให้โดยรัฐแบบบังคับติด เพื่อความเป็นระเบียบและปลอดภัยสำหรับรถแท็กซี่ที่ถูกกฎหมาย

และสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ แท่นวางโทรศัพท์ที่ติดไว้ที่มุมเล็กๆ ด้านซ้ายมือของคนขับ สำหรับวางสมาร์ทโฟนเพื่อกดรับ “ออเดอร์” ที่ลูกค้าเรียกจากแอพฯ เรียกแท็กซี่ได้ (ส่วนนี้คนขับจัดหามาเอง)

IMG_4201

IMG_4204

แค่ 2 แอพฯ แต่กินตลาดรถแท็กซี่ทั้งประเทศ

2014-11-22_15-44-08

2014-11-22_17-31-24

162096274

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยเขียนบทความเรื่อง “แอพฯ เรียกแท็กซี่ เทรนด์ร้อน ทั่วโลก” ลงใน Mobile Insider มาแล้ว โดยมีการเกริ่นถึงฟีเจอร์พิเศษของแอพฯ เรียกแท็กซี่จีนสุดฮอตอย่างระบบให้ทิป ระบบเรียกด้วยการอัดเสียง ผู้นำในตลาดแอพฯ เรียกแท็กซี่ของแดนมังกร ดูเผินๆ มีเพียง 2 ราย ได้แก่ “ตีตีต่าเชอ” ที่เพิ่งแจ้งเกิดเพียง 2 ปี แต่ก็กินตลาด 60% (มีผู้หุ้นคนดัง คือไป๋ตู้ หรือที่รู้จักกันว่ากูเกิลแห่งแดนมังกร) และ “ไคว้ตี้ ต่าเชอ” กินตลาด 30% (หุ้นใหญ่คืออลีบาบา บริษัทอี-คอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลกเวลานี้) อาทิ  เป็นต้น

ปัจจุบัน “ตีตีต่าเชอ” ยังคงเป็นเบอร์ 1 ในวงการตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้โดย มียอดเรียกรถผ่านระบบถึงวันละ 5 ล้านครั้ง ครอบคลุม 178 เมือง มีคนขับเป็นสมาชิก 9 แสนราย และยอดยิ่งดีขึ้นเมื่อจับมือกับ WeChat เรียกแท็กซี่ ผสานระบบเรียกรถแท็กซี่เข้าไปกับ Official Account ทำให้เรียกรถได้ง่ายๆ แค่พิมพ์เลข 1 ตอบกลับในช่องข้อความ ระบบก็จะส่งลิงก์ให้เปิดเว็บแอพฯ เรียกรถได้ทันที (หน้าตาเหมือนกับในแอพฯ หลัก)

อย่างไรก็ดี “ตีตีต่าเชอ” ยังเพิ่มบริการน้องใหม่ที่มาแรงอย่าง “อีเฮ้าจวนเชอ (vvipone.com) ที่เน้นการโคลนนิ่งอูเบอร์ ทำแท็กซี่ป้ายดำ นำรถหรูอย่างออดี้ บีเอ็มฯ เบนซ์ มาบริการ เจาะกลุ่มนักธุรกิจและนักเดินทาง ซึ่งขณะนี้ใส่งบโปรโมทเต็มแรงโดยการลงโฆษณาหลังตั๋วเครื่องบิน ตั้งซุ้ม ณ สนามบินและรถไฟ

vv1

vv2

เบื้องหลังรายได้ของแอพฯ เรียกแท็กซี่จีนที่ไม่เหมือนใคร!

บริษัทผู้ทำแอพฯ เรียกรถแท็กซี่ของฝรั่งที่มาบุกไทยทั้ง 3 รายข้างต้น มีวิธีการหารายได้ที่คล้ายๆ กัน นั่นก็คือ 1. การแบ่งรายได้ที่ได้จากการขึ้นรถแต่ละครั้ง เช่น Uber แบ่ง 3 ส่วน 20:20:40 คือ อูเบอร์ได้เท่ากับสหกรณ์และคนขับได้มากที่สุด และ 2 คือ การเก็บจากลูกค้าที่มาเรียกรถ เป็นค่าบริการเสริมจากที่ต้องจ่ายค่าแท็กซี่ ก็มีตั้งแต่ 20-25 บาท (ซึ่งเงินจำนวนนี้เบื้องต้นจะจ่ายให้กับคนขับเป็นทิป) ซึ่งจุดนี้ดูๆ ไปแล้วก็เป็นวิธีหารายได้ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย  ทั้งรูปแบบการจ่ายเงินก็หนีไม่พ้นเงินสด และบัตรเครดิต

แต่ที่จีนมีเคล็ดลับการหารายได้ที่มากกว่านั้น เพราะจำนวนประชากรที่ต้องการเรียกแท็กซี่มากเหลือเกิน ตลาดแอพฯ เรียกแท็กซี่จึงใหญ่มหึมาตามไปด้วย (คิดเล่นๆ จากยอดเรียกแท็กซี่ผ่านแอพฯ ตีตีต่าเชอ วันละ 5 ล้านครั้งก็คงจะพอนึกภาพตลาดออก) ทั้งลูกค้าจีนมีความอ่อนไหวต่อราคา หากเรียกแท็กซี่ 50 บาท แต่ต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มอีก 25 บาท ย่อมไม่มีใครยอมใช้แน่ๆ

ดังนั้นทางแอพฯ เรียกรถแท็กซี่ของจีนในช่วงเปิดตัวแรกๆ มีการทำโปรโมชั่นสุดกระหน่ำเพื่อเรียกความสนใจจากทั้งคนขับและคนนั่ง อาทิ ช่วงเดือนแรก ฝั่งคนขับ ทุกครั้งที่กดรับลูกค้าได้เงินเข้ากระเป๋า 250 บาท/บิล (และลดลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ตอนนี้ได้ออเดอร์ละ 25 บาท) ส่วนคนนั่งก็จ่ายค่ารถ (ไม่มีค่าเรียก) ครั้งละ 5 บาท ไม่ว่าจะนั่งไกลแค่ไหนก็ตาม (แต่ตอนนี้เมื่อผ่านช่วงโปรโมชั่นแล้วก็จ่ายราคาปกติ) เวลาผ่านไปเพียง 2 ปี ทั้งคนขับ คนนั่งก็รู้และแบรนด์ก็มีประสบการณ์ในการเรียกแท็กซี่ผ่านแอพฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ก็ฉีดเงินเข้าระบบจากผู้มาลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัปไปแล้วถึงกว่า 5,000 ล้านบาท ฟังๆ ดูแล้วเหมือนจะไม่พบว่าแล้วรายได้เข้าบริษัทผู้ผลิตแอพฯ คือทางไหนกัน?

didi

บิ๊กดาต้า ว่าที่แหล่งทำเงินใหญ่ของแอพฯ เรียกแท็กซี่จีน

ถึงแม้ซีอีโอของตีตีต่าเชอจะบอกกับสื่อเสมอว่า ใน 3-5 ปีจากนี้เชื่อว่าบริษัทจะยังไม่กำไร และไม่มีแผนเข้าตลาดหุ้น แต่ลึกๆ แล้วทีมงานวางแผนใหญ่ปั้นให้แอพฯ ติดตลาด  วิธีการหารายได้ของแอพฯ ก็จะตามมาเอง แทนที่จะเก็บจากส่วนแบ่งค่าแท็กซี่ ทีมงานกลับเลือกใช้วิธีการที่ต่างออกไป…

แหล่งรายได้หลักในวันนี้ของแอพฯ ก็คือ รายได้ที่มาจากเงินต่อเงิน อย่างที่ทราบกันว่าแอพฯ เรียกแท็กซี่จีนนั้นจะมีการจ่ายเงินผ่านมือถือเป็นหลัก โดยเงินนั้นมาจากการโอนเงินจากบัญชีเท็นเพย์หรืออลีเพย์  ไปไว้ในกระเป๋าสตางค์เสมือนจริงในแอพฯ เมื่อจ่ายค่าแท็กซี่ก็จะหักเงินจากกระเป๋านี้ (และส่งให้คนขับเต็มจำนวนผ่านทางช่องทางเดียวกันโดยไม่รวมค่าทิปอีก 25 บาท/บิล) ส่วนทางแอพฯ เองก็เอาเงินนับร้อยๆ ล้านที่คนใส่ในกระเป๋าสตางค์เสมือนจริงนี้ไปลงทุนในระบบกองทุนอีกที แต่ละวันมีดอกเบี้ยที่ดีมาก เริ่มต้นเงินฝากหลักแสนก็ได้ดอกเบี้ย 4% ขึ้นไปในทุกๆ วัน ดังนั้นเมื่อเงินไหลเข้าแอพฯ วันละหลายร้อยล้านบาท เงินนี้ที่นำไปฝากก็ยิ่งได้ดอกเบี้ยมากขึ้นไปอีก

แต่เป้าหมายใหญ่ที่สุดที่แท้จริงคือ การทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล เพราะวันนี้แอพฯ ได้ข้อมูลแท้จริงของทั้งผู้ใช้ คนขับแท็กซี่  ข้อมูลการเดินรถและการเดินทาง ในอนาคตก็สามารถนำข้อมูลส่วนนี้ไปขายให้กับพันธมิตรได้ เช่น นำเสนอสินค้าของพันธมิตรที่อยู่ระแวกจุดลงรถ การคำนวน Traffic ของรถที่วิ่งผ่านไปมา ณ สถานที่ต่างๆ และนำไปเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับบริษัทที่อยากเปิดหน้าร้านในแหล่งธุรกิจ เป็นต้น

ถึงตอนนี้คุณเองก็ได้เห็นอีกมุมหนึ่งของวงการแอพฯ เรียกแท็กซี่จีน ที่แฝงไปด้วยความไฮเทค และมีนโยบายการธุรกิจที่ต่างออกไปจากที่ใดๆ ในโลก อยากสัมผัสถึงความไฮเทคของจีนมากกว่านี้ ก็ต้องตีตั๋วไปเยือนดูสักครั้ง

Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save