อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter connection network หมายถึง เครือข่ายของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลกให้สามารถ ติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ซึ่งถูกพัฒนามาจากโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทางทหารของกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Project Agency) |
ซึ่งประเทศไทยของเรานั้นก็เริ่มใช้อินเทอร์เน็ตเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารทางอีเมล์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ถัดมาอีกไม่นานในปีพ.ศ.2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตได้เป็นแห่งแรกและใช้ชื่อว่า “sritrang.psu.th” หลังจากนั้นอีกไม่กี่ปีถัดมา ในช่วง พ.ศ.2535 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการเชื่อมต่อเครือข่ายผ่านระบบ THAINET และ NECTEC ได้สำเร็จและจัดตั้งเครือข่าย THAISARN ขึ้นอย่างเป็นทางการ และได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนกระทั่งจากสาย LAN ก็พัฒนาต่อจนมาเป็นอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ซึ่งอินเทอร์เน็ทความเร็วสูงนั้นจะมีด้วยกันทั้งหมดอยู่ 5 แบบด้วยกัน ได้แก่ ระบบ ISDN ระบบ ADSL เคเบิลโมเด็ม อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม WiMAX และ 3G ซึ่งระบบ ISDN (Integrated Service Digital Network) เป็นการเชื่อมต่อ สายโทรศัพท์ ระบบใหม่ที่ รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัล ทั้งหมด ส่วนระบบ ISDN เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม แต่ใช้การส่งด้วยความถี่สูงกว่า โดยชุมสายที่ให้บริการ ADSL จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ DSLAM เพื่อทำการแยกสัญญาณความถี่สูงออกจากระบบเดิม และลัดเข้าเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรงกับระบบโทรศัพท์ ADSL ส่วนอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable modem) นั้นเป็นการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูงโดยไม่ใช้ สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของ ผู้ให้บริการเคเบิลทีวีเอาว่าง่ายๆ คือถ้าไม่มีสายเคเบิ้ลก็ใช้เน็ทประเภทนี้ไม่ได้นะจ้ะ ถัดไปจะเป็นอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำหรับบรอดแบนด์ ไร้สาย เป็นมาตรฐานที่มีวิวัฒนาการสำหรับ การสร้างเครือข่ายไร้สายแบบหนึ่งจุดเชื่อม ต่อไปยังอีกหลายจุด และทำงานได้ในระยะ ทางไกล มีชื่อว่า Wi-MAX และสุดท้ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ทผ่านเครือข่าย 3G , 4G , LTE โดยเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อที่สามารถเข้าถึงกับอุปกรณ์ Smart device ต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่พลาดทุกการติดต่อสื่อสาร จุดเริ่มต้นของ Internet of Things แนวคิดของ Internet of Things นั้นถูกคิดขึ้นโดย Kevin Ashton ในปี 1999 ซึ่งเขาเริ่มต้นโครงการ Auto-ID Center ที่มหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT จากเทคโนโลยี RFID โดยมีแนวคิดที่จะทำให้เป็นมาตรฐานระดับโลกสำหรับ RFID Sensors ต่างๆ ที่จะเชื่อมต่อกันได้ ต่อมาในยุคหลังปี 2000 ก็ได้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ออกมาเป็นจำนวนมากมาย และมีการใช้คำว่า Smart นำหน้าอุปกรณ์ต่างๆ อาทิเช่น Smart device, Smart home, Smart network, Smart intelligent transportation ต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ตไร้สายได้ ซึ่งการเชื่อมต่อเหล่านั้นถูกนำมารวมกัน และกลายมาเป็นแนวคิดที่ว่าอุปกรณ์เหล่านั้นย่อมต้องสามารถสื่อสารกันได้ด้วยการอาศัยตัว Sensor เป็นสื่อกลางในการสื่อสารถึงกัน และนอกจาก Smart devices ต่างๆ จะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แล้วมันยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ได้ด้วยเช่นกัน โดย Kevin นิยามสิ่งนี้ไว้ว่าเป็น “ Internet-like ” หรือว่าง่ายๆ ก็คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถสื่อสารพูดคุยกันเองได้ ซึ่งในปี 2016 นี้ก็เริ่มมีปริมาณอุปกรณ์ที่สามารถใช้ IoT สูงขึ้นกว่าเมื่อปี 2015 ถึง 30% หรือคิดเป็นจำนวน 6.4 พันล้านชิ้น และคาดว่าในอนาคตจะเพิ่มขึ้นอีก 3 – 4 เท่าภายในปี 2020 ในขณะที่ตลาดผู้ใช้งานทั่วไปจะมีการใช้งานอุปกรณ์ IoT สูงถึง 4,000 ล้านชิ้นในปี 2016 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 19 ล้านล้านบาท ด้วยมูลค่าระดับนี้ หลายประเทศทั่วโลกจึงจัดให้ IoT เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อที่จะได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง และเป็นการพลิกโฉมให้กับทางภาคเศรษฐกิจ สังคม และการดำรงชีวิตของผู้คนให้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และนอกจากนี้ก็อาจมีส่วนในการพัฒนาประเทศหลายๆ ด้านในอนาคต อาทิเช่น การสร้างงานวิจัยและความรู้ต่างๆ ทางด้าน Computer Science ไม่ว่าจะเป็น Data Mining, Embedded System , ระบบ Cloud สารพัดอย่าง , งานวิจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งมีการใช้ Wireless Sensor เข้าไปเก็บข้อมูลแบคทีเรียในถังส้วม เพื่อตรวจสอบกระบวนการย่อยสลายของมูล จากนั้นก็ส่งข้อมูลกลับมาให้ทีมนักวิจัยผ่านอินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ IoT รูปแบบนี้ช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลในที่ที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้ รวมทั้งการเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะช่วยเพิ่มความแม่นยำ และถูกต้องของข้อมูลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย มันทำงานยังไง ? แล้วจะใช้ทำอะไร? สำหรับกลไกหลักของ Internet of Things ที่ใช้ในการสื่อสารนั้นไม่ได้มีเพียงแค่เครือข่ายอินเตอร์เพียงเท่านั้น แต่ยังมีกลไกอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นก็คือ Sensor node จำนวนมากที่ทำให้เกิด Wireless sensor network หรือที่เราเรียกกันแบบย่อๆ ว่า WSN นั่นเอง ซึ่งเจ้า WSN ตัวนี้จะคอยทำหน้าที่เหมือนเป็นทางเชื่อมให้กับอุปกรณ์ต่างๆ นั้นสามารถเชื่อมต่อเข้ามาได้ กล่าวคือ มันสามารถตรวจจับปฏิกิริยาต่างๆ ที่เกิดภายในเครือข่ายได้ ยกตัวอย่างเช่น แสง อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกอย่าง หรือ สิ่งของต่างๆ จะสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับ Internet ได้ อย่างเช่น ผ้าอ้อมเด็กอัฉริยะ ที่ Acer พัฒนาร่วมกับ Intel ที่สามารถแจ้งเตือนว่าเด็กปัสสาวะ-อุจจาระ นอนคว่ำหน้าหรือหงายหน้าอยู่ ให้กับพ่อแม่ผ่านทางมือถือได้ หรือเราสามารถสั่งปิดเปิดไฟบ้านผ่านอินเตอร์เน็ต หรือเจ๋งๆ หน่อยคืออุปกรณ์ของเราส่งข้อมูลหากันได้ อาทิเช่น เมื่อเรากำลังจะถึงบ้านสามารถใช้มือถือสั่งให้แอร์ที่บ้านของเราเปิดอัตโนมัติ มาถึงบ้านก็เย็นฉ่ำทันที นี่ก็แค่ตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ เท่านั้น ภาพ : Wireless Sensor Network By purelink.ca ซึ่งในการพัฒนา IoT นี้นอกจากจะพัฒนาเทคโนโลยีในฝั่งของ Hardware ซึ่งได้แก่ Processors, Radios และ Sensors ซึ่งจะถูกรวมเข้าด้วยกันเรียกว่า A single chip หรือ System on a chip (SoC) แล้ว ก็ยังมีในส่วนของการพัฒนา WSN ไปพร้อมๆ กันอีกด้วย และเมื่อพูดถึงการเชื่อมต่อปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการเชื่อมต่อสำหรับ Internet of Things หรือ Access technology มีอยู่ 3 ตัวด้วยกัน ได้แก่ Bluetooth 4.0, IEEE 802.15.4e และ WLAN IEEE 802.11™ (Wi-Fi) โดยในแต่ละ Access นั้นมีการส่งข้อมูลที่แตกต่างกันดังเช่นในภาพ กลุ่มของ Internet of Thingsปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม Internet of Things ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่มได้แก่
|
วิวัฒนาการ Internet ในไทย | Luckiiz
อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter connection network หมายถึง เครือข่ายของ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก