News & Update

วิศวะจุฬา ผนึก AIS 5G อวดโฉม AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE Sandbox สร้าง 5G Use case หนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

วิศวะ จุฬา ผนึก AIS 5G อวดโฉม AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE Sandbox พร้อมเครือข่าย 5G บนคลื่น 2600 MHzและ 26 GHz แห่งแรกของไทย เตรียมความพร้อมนิสิต นักพัฒนา สร้าง 5G Use case หนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือ AIS 5G ต่อเนื่อง หลังจากร่วมเป็นพันธมิตรทดลอง ทดสอบ 5G ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ร่วมเปิดตัวศูนย์ 5G R&D ในชื่อ “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” แห่งแรกของสถาบันการศึกษาในเมืองไทย ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา ที่ติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHzและ 26 GHz (mmWave) พร้อมกิจกรรมส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรม 5G ให้นิสิตและคณาจารย์ หนุนภาคอุตสาหกรรม เสริมแกร่งประเทศ

AIS 5G PLAY GROUND

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวในโอกาสเปิดตัว “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” ซึ่งเป็นความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า “เรารู้สึกเป็นเกียรติและภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ที่ได้มีส่วนสนับสนุนภาคการศึกษา เปิดพื้นที่เพื่อพัฒนาความพร้อมให้แก่นิสิต นักศึกษา นักพัฒนา รวมถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในแวดวงของเทคโนโลยี Digital ของไทย ได้มีโอกาสลงมือทดลอง ทดสอบ เพื่อพัฒนาไอเดียด้วยเทคโนโลยีอย่าง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse,Robotic ,ฯลฯ บนเครือข่าย 5G”

AIS 5G PLAY GROUND

“แม้ว่าวันนี้ประเทศไทยจะมีบริการ 5G เชิงพาณิชย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 โดย AIS เป็นรายแรกที่เปิดให้บริการด้วยการมีคลื่นความถี่มากที่สุดคือ 1420 MHz แต่ประโยชน์ของ 5G ยังจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะในส่วนของ Digital Transformation ที่จะพลิกโฉม Business Model ของทุกภาคส่วนให้พร้อมกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจาก Digital Disruption และการเกิดขึ้นของโควิด ดังนั้นการทำงานร่วมกับภาคการศึกษา เพื่อค้นคว้า วิจัย ทดลอง ทดสอบ จึงเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญสูงสุดเสมอมา ดังเช่น ความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ที่ยังทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องผ่าน use case ต่างๆ ทั้งที่เป็นผลงานวิจัยของคณาจารย์ หรือ โครงการของนิสิต ที่ล้วนแต่มีเป้าหมายเดียวกันคือ นวัตกรรมเพื่อประเทศ”

“จึงเป็นที่มาของการเปิดตัว  “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” แห่งแรกของสถาบันการศึกษา ในเมืองไทย ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา ที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริงด้วย LIVE Private Network   ซึ่งนิสิต นักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงนักพัฒนา ใน 5G Ecosystem สามารถใช้เป็นพื้นที่ศึกษา เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยีต่างๆทั้ง AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse, Robotic, ฯลฯ บน 5G ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพราะได้ติดตั้งสถานีฐาน 5G ที่เลือกเอาคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) ที่เหมาะกับการพัฒนา Use case ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA   เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก (Low Latency), การสนับสนุนอุปกรณ์ส่งสัญญาณอย่าง 5G CPE , องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G, พร้อมทั้งการสัมมนา workshop จาก Guest Speaker หลากหลายวงการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รวมไปถึงการเชิญชวนร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G อีกด้วย”

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “วิศว จุฬาฯ เป็น 1 ในสถาบันการศึกษาด้านเทคโนโลยีที่เข้าไปร่วมทำงานกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กสทช. , DE หรือ ภาคเอกชน เพื่อทดลอง ทดสอบ use cases ต่างๆที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ sector หลักของประเทศให้ได้มากที่สุด ดังนั้นการมีสถานที่ ซึ่งมีสภาพแวดล้อมเสมือนจริงอย่าง AIS 5G Playground และ 5G Garage ที่มีความครอบคลุมของคลื่นความถี่ของ 5G แบบ LIVE Network จึงถือว่าตอบโจทย์และสามารถส่งเสริมให้นิสิต และ คณาจารย์ ได้ใช้เป็นแหล่งทำงานวิจัย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมบน Sandbox ได้อย่างดี ที่สำคัญถือเป็นการผสมผสานองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีจากเราและภาคปฏิบัติที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงานจริงของ AIS ที่จะมาช่วยเสริมทักษะให้แก่นิสิตและคณาจารย์ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อประเทศไทย ผ่าน 5G ได้อย่างตอบโจทย์ที่สุดต่อไป”

AIS 5G PLAY GROUND

นายวสิษฐ์ กล่าวตอนท้ายว่า “การที่ภาคการศึกษา ให้ความสำคัญกับการฝึกฝน สร้างทักษะเพื่อเตรียมรองรับเทคโนโลยี 5G ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องอย่างยิ่ง เพราะ 5G คือเทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากคุณสมบัติ 3 ส่วน คือ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น, ขยายขีดความสามารถการเชื่อมต่อของ IoT และ ทำให้เครือข่ายตอบสนองได้รวดเร็วและเสถียรที่สุด  ดังนั้นการศึกษาให้มากที่สุดย่อมทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ ได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาแนวคิดจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่ง AIS พร้อมสนับสนุนอย่างเต็มที่”

ข้อมูล Use case ที่นำมาจัดแสดงในโอกาสเปิดตัว “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” @CHULAENGINEERING

  1. หุ่นยนต์ WALKIE : หุ่นยนต์บริการในครัวเรือน หรือ Domestic service robot ที่สามารถทำงานบ้าน และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อาศัยภายในบ้านได้ เพราะมี AI อัจฉริยะที่ทำให้รู้ตำแหน่งของสิ่งของต่าง ๆ และหุ่นสามารถเดินไปที่บริเวณห้องที่มีสิ่งของเหล่านั้นได้อัตโนมัติ พร้อมโต้ตอบได้แบบ Real Time ซึ่งต้องใช้ศักยภาพของ 5G ในการทำงาน โดยเป็นนวัตกรรมของชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ จุฬาฯ (EIC Chula) ที่สามารถคว้ารางวัลอันดับที่ 2 ของโลกมาได้ในรายการ RoboCup@Home Open Platform League

AIS 5G PLAY GROUND

2. หุ่นยนต์ไข่มุก: หุ่นยนต์ Home Healthcare ที่มีการใช้งานหลากหลายด้าน TeleHealth หนึ่งในการใช้งานที่โชว์ในงานนี้คือ ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน สามารถทำกายภาพได้ตามคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โดยผู้ป่วยไม่ต้องเข้ามาที่โรงพยาบาล พร้อมเก็บและส่งต่อสถิติเพื่อให้คุณหมอและนักกายภาพสามารถดูพัฒนาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ผ่านการใช้ขีดความสามารถของ 5G

3. หุ่นยนต์ Rehab : Universal Controller ด้วยลักษณะของแขนกลที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถฝึกทำกายภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเก็บและส่งต่อสถิติบนโครงข่าย 5G เพื่อให้สามารถดูพัฒนาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ อีกทั้งแขนกลนี้จะช่วยลดภาระของนักกายภาพบำบัด ทำให้สามารถที่จะกายภาพคนไข้ได้ปริมาณจำนวนคนต่อวันที่เพิ่มขึ้น

4. Autonomous Shuttle Bus : รถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก กสทช. และกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ กทปส. ที่ใช้ระบบ 5G เป็นตัวเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยกับการทำงานของรถไร้คนขับ โดยคาดว่าปลายปีจะเริ่มนำไปวิ่งบนพื้นที่ถนนจริง

5. IntaniaVerse : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ริเริ่มการทำเมตาเวิร์สเพื่อการศึกษา อาทิ โรงไฟฟ้า ณ เขื่อนท่าทุ่งนา การฝึกและบำบัดผู้สูงวัยด้วยแอปพลิเคชันโลกเสมือนจริง และรวมถึง AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE นอกจากนี้ มีหลักสูตรอบรมการสร้างโลกเมตาเวิร์สภายใต้โครงการ Chula Engineering สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต Lifelong Learning สำหรับบุคคลทั่วไป นิสิต นักศึกษา และหน่วยงานที่สนใจ โดย AIS ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการนี้ด้วย

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save