News & Update

AIS ผนึกพันธมิตร จัดเวทีเสวนา ชู ครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสารระดับโลก

AIS ผนึกพันธมิตรจัดเวทีเสวนา ชู ครีเอเตอร์ไทย ผู้นำการเปลี่ยนแปลงบริบทการสื่อสาร ต่อยอด อาชีพครีเอเตอร์ สู่ผู้ประกอบการให้เติบโตอย่างยั่งยืน

AIS จัดเสวนา Global Creator Culture Summit เชิญกูรูระดับโลก Professor David Craig นักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดตัวเลขการเติบโตของครีเอเตอร์ในเวทีโลก ตอกย้ำบริบทแห่งการสื่อสารในโลกใบใหม่ ควงพันธมิตรครบทั้ง Ecosystem และสุดยอดครีเอเตอร์ไทย เผยแรงบันดาลใจ สูตรเด็ด เคล็ดลับ สร้างครีเอเตอร์สู่อาชีพที่สามารถต่อยอดให้เติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืน

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด กลุ่มลูกค้าทั่วไป AIS กล่าวว่าในฐานะผู้พัฒนา Digital Infrastructure ของประเทศ นอกเหนือจากเป้าหมายในการส่งมอบประสบการณ์และเทคโนโลยีเพื่อลูกค้าและคนไทยแล้ว เรายังพร้อมสนับสนุนด้วยเครื่องมือต่างๆ ตลอดจน เชื่อมโยง องค์ความรู้ ทักษะ ให้แก่ผู้ประกอบการทุกกลุ่ม ตามแนวคิด Ecosystem Economy หรือ เศรษฐกิจแบบร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม Content Creator ที่ถือเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและยังเป็นศูนย์กลางความเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกในทุกแง่มุม

จึงเป็นที่มาของการจัดงานเสวนา “Global Creator Culture Summit” ที่นอกจากจะได้รับเกียรติจากนักวิชาการระดับโลกอย่างโปรเฟสเซอร์เดวิด เครค (Professor David Craig) หนึ่งในนักวิชาการด้านโซเชียลมีเดียชั้นนำของโลกจากสหรัฐอเมริกา มาร่วมให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงานของ Content Creator ไทยแล้ว เรายังได้เชิญสุดยอด Content Creator คนไทย พร้อมกับผู้เกี่ยวข้องใน Ecosystem การขับเคลื่อน Creator Culture ของไทยมาร่วมแลกเปลี่ยนบนเวทีนี้อีกด้วย

AIS

ด้านโปรเฟสเซอร์เดวิด เครค กล่าวว่าวันนี้ครีเอเตอร์ คือ กลุ่มผู้ทรงอิทธิพล ที่เป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก เพราะมีศักยภาพเป็นได้ทั้งแบรนด์ด้วยตัวเอง, เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์, สร้างรายได้แบบ O2O ทั้งจากพื้นที่ตัวเองแพลตฟอร์มช่องทางอื่นและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมแวดล้อมอื่นๆได้อีกด้วยอาทิมีพลังขับเคลื่อนการพัฒนาบริการและฟีเจอร์ต่างๆบนโทรศัพท์มือถือที่มีความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

นี่คือสิ่งยืนยันที่ว่า ครีเอเตอร์คือศูนย์กลางการสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจของแพลตฟอร์มและ Ecosystem ที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าถึงประมาณ 7 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก ดังตัวอย่างจาก วัฒนธรรมหว่างหง (Wanghong Culture) หรือเน็ตไอดอล ผู้ทรงอิทธิพลบนโลกออนไลน์ของจีน ที่สร้างโซเชียลคอมเมิร์ซให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด เพราะที่จีน ไม่ว่าใคร แม้แต่แรงงานเกษตรกร ก็สามารถเป็นอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังได้ เพราะได้รับการสนับสนุนให้เป็นหว่างหงครีเอเตอร์ ดังนั้นการเดินทางมาแลกเปลี่ยนและทำงานวิจัยในครั้งนี้ของผม จึงเชื่อว่าจะได้แนวทางชัดเจน ที่ทำให้เราสามารถสร้างเศรษฐกิจจากวัฒนธรรมครีเอเตอร์ระดับโลก และสามารถกำหนดอนาคตและทิศทางของเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกต่อไปได้อย่างเป็นรูปธรรมร่วมกัน

งานเสวนา “Global Creator Culture Summit” จัดขึ้นโดย AIS และเหล่าพันธมิตร ในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยในงานมีเหล่ากูรูมากมายมาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แรงบันดาลใจและเคล็ดลับต่อยอดความสำเร็จในการเป็นครีเอเตอร์ประกอบด้วย

  • อาสา ผิวขำ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาธุรกิจและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) CEA ในหัวข้อทิศทางและบทบาทการส่งเสริมครีเอเตอร์ไทยไปไกลระดับโลก
  • ศรัณย์ แบ่งกุศลจิต CEO Uppercuz Creative ในหัวข้อ “How to ทำอย่างไรให้สร้างรายได้จากการเป็น Content Creator”
  • อติชาญ เชิงชวโน (อู๋ Spin 9) Founder of Spin 9 ในหัวข้อโอกาสของ Creator ไทยที่ได้รับการยอมรับจากแบรนด์ระดับโลก
  • วุฒิพงษ์ ลิขิตชีวัน (อาตี๋รีวิว) CEO of Artee Media, CEO of VEGA Creator (Thailand) ในหัวข้อเปิดเส้นทาง Creator สู่ Live Commerce อันดับ 1 ในไทย ผู้สร้างยอดขาย 1,000 ล้านบาท
  • ธรรมชาติ โยธาจุล (Thammachad) TikToker ชื่อดัง ในหัวข้อเปิดความไม่ธรรมดาของธรรมชาติ” LGBTQ+ ผู้ทลายทุกความกลัว สู่ Drag Queen Creator ที่รันวงการโซเชียล
  • กวิน ภาณุสิทธิกร Head of Seller Management Thailand, TikTok Shop ในหัวข้อจาก Seller สู่ Creator สร้างรายได้จาก TikTok”
  • ธนพล ทรัพย์สมบูรณ์ CEO YDM Thailand กลุ่มบริษัทด้านดิจิทัลมาร์เก็ต ในหัวข้อกลยุทธ์ Creator Marketing สูตรสำเร็จใหม่ของธุรกิจยุคดิจิทัล
  • คณาธิป ธีรทีป หัวหน้าแผนกงานการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และลูกค้าโพสต์เพด AIS ในหัวข้อของดี ของดัง ของเอไอเอสที่จะเสริมส่ง Creator ให้ไปได้ไกล Beyond Frontier”

AIS

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save