“โครงการของเรามีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ที่เราประกาศกลยุทธ์ที่มุ่งเน้น AI ไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว” มร. อีริค สวี่ ประธานกรรมการบริหารแบบหมุนเวียนตามวาระ กล่าว “ทุกอย่างดำเนินไปตามแผน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนาไปจนถึงการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เราได้ให้สัญญาไว้ว่าจะสร้างพอร์ตโฟลิโอ AI ที่ครบวงจรสำหรับทุกสถานการณ์ และวันนี้เราทำสำเร็จแล้ว ด้วยการเปิดตัว Ascend 910 และ MindSpore การเปิดตัววันนี้นับเป็นความสำเร็จอีกขั้นจากกลยุทธ์ AI ของหัวเว่ย”
Ascend 910: ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่เหนือกว่าโพสเซสเซอร์ AI ทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้
Ascend 910 เป็นโพสเซสเซอร์ AI ใหม่จากชิปเซ็ตในซีรีส์ Ascend-Max ของหัวเว่ย โดยหัวเว่ยได้ประกาศสเปกที่คาดไว้ของโพสเซสเซอร์ตัวนี้ในงานหัวเว่ย คอนเน็กต์ 2018 หลังจากที่ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าโพรเซสเซอร์ Ascend 910 บรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพโดยใช้พลังงานน้อยกว่าที่คาดไว้มาก
ในการทดสอบจำนวนจุดลอยตัวแบบฮาล์ฟ เพรซิชั่น (FP16) Ascend 910 ทำความเร็วเท่ากับ 256 เทราฟล็อปส์ และทำความเร็วเท่ากับ 512 เทราฟล็อปส์ สำหรับการคำนวณอินเทอเจอร์ เพรซิชั่น (INT8) นอกจากประสิทธิภาพจะเหนือกว่าแบบเทียบกันไม่ติดแล้ว อัตราการใช้พลังงานสูงสุดของ Ascend 910 ยังอยู่ที่ 310 วัตต์อีกด้วย ซึ่งน้อยกว่าสเปกที่คาดการณ์ไว้ที่ 350 วัตต์
“Ascend 910 ทรงพลังกว่าที่เราคิดไว้มาก พลังในการประมวลผลของตัวนี้นั้นเหนือกว่าโพสเซสเซอร์ AI ตัวอื่นๆ ในโลกแบบไม่ต้องสงสัย”
โพรเซสเซอร์นี้นำมาใช้ในการเทรนโมเดล AI ในเซสชันการเทรนปกติโดยอิงจาก ResNet-50 เมื่อใช้คู่กับ MindSpore ร่วมกัน การเทรนโมเดล AI จะเร็วขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับการ์ดการเทรนอื่นๆ ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายผ่าน TensorFlow
ในอนาคต หัวเว่ยจะยังลงทุนกับโพรเซสเซอร์ AI เพื่อมอบพลังการประมวลผลที่สมบูรณ์ เข้ากับทุกสถานการณ์ และมีราคาที่เหมาะสม ตลอดจนตอบสนองความต้องการในสถานการณ์ที่หลากหลาย (เช่น เอจคอมพิวติ้ง การประมวลผลในยานพาหนะสำหรับการขับขี่อัตโนมัติ และการเทรนโมเดล)
MindSpore: เฟรมเวิร์กการประมวลผล AI สำหรับทุกสถานการณ์
หัวเว่ยยังได้เปิดตัว MindSpore เฟรมเวิร์กการประมวลผล AI ที่รองรับการพัฒนาการใช้งาน AI ในทุกสถานการณ์ เฟรมเวิร์กการประมวลผล AI จะช่วยทำให้การพัฒนาการใช้งาน AI ง่ายขึ้น และยังทำให้มีการใช้ AI ในวงกว้างและเข้าถึงได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยรับรองการปกป้องความเป็นส่วนตัว
ในปี 2561 หัวเว่ยประกาศเป้าหมายการพัฒนา 3 ประการสำหรับเฟรมเวิร์ก AI ได้แก่
- การพัฒนาอย่างง่าย: ลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเทรนลงไปอย่างมาก
- การทำงานที่มีประสิทธิภาพ: ใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุดโดยให้มี OPS/W มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- นำไปใช้ได้กับทุกสถานการณ์: รวมถึงการใช้งานในดีไวซ์ เอจ และระบบคลาวด์ทั้งหมด
MindSpore พัฒนาไปได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ปัจจุบันการปกป้องความเป็นส่วนตัวนั้นมีความสำคัญกว่าที่เคย การรองรับทุกสถานการณ์จะช่วยให้ AI ใช้งานได้อย่างแพร่หลายและมีความปลอดภัย นี่ถือเป็นฟีเจอร์หลักในเฟรมเวิร์ก ซึ่งสามารถปรับตามความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายได้ ไม่ว่าสภาพแวดล้อมของต้นทุนสำหรับทรัพยากรจะใหญ่หรือเรียบง่ายมากๆ ก็รองรับทุกสภาพแวดล้อม
ช่วยรับรองการปกป้องความเป็นส่วนตัว เพราะระบบจะจัดการเฉพาะข้อมูลเกรเดียนต์และข้อมูลโมเดลที่ผ่านการประมวลผลแล้วเท่านั้น แต่จะไม่ทำการประมวลผลข้อมูลด้วยตนเอง ดังนั้น ข้อมูลส่วนตัวของผูใช้จะได้รับการปกป้องอย่างมีประสิทธิภาพ แม้อยู่ในสภาพแวดล้อมแบบข้ามสถานการณ์ นอกจากนี้แล้วยังมีเทคโนโลยีการปกป้องโมเดลในตัวเพื่อดูแลให้โมเดลมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือ
เฟรมเวิร์ก MindSpore สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทุกสถานการณ์ได้ พร้อมรองรับดีไวซ์ เอจ และสภาพแวดล้อมคลาวด์ทุกประเภท พร้อมมอบการทำงานร่วมกันระหว่างแพลตฟอร์มแบบออนดีมานด์ด้วย คอนเซปต์การออกแบบ “AI Algorithm As Code (ใช้อัลกอริทึม AI เป็นโค้ด)” ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์พัฒนาการใช้งาน AI ขั้นสูงได้ง่ายๆ พร้อมเทรนโมเดลได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย
ในโครงข่ายประสาทเทียมทั่วไป (Neural Network) สำหรับการประมวลผลภาษามนุษย์ (NLP) MindSpore มีโค้ดหลักน้อยกว่าเฟรมเวิร์กชั้นนำในตลาดถึง 20% ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างน้อย 50%
ด้วยนวัตกรรมด้านเฟรมเวิร์ก รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพที่ส่งเริมการทำงานระหว่าง MindSpore และโพรเซสเซอร์ Ascend โซลูชันของหัวเว่ยจะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์จัดการปัญหาการประมวลผลของ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมตอบสนองความต้องการด้านพลังในการประมวลผลที่หลากหลายในการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ ผลที่ได้ก็คือ ประสิทธิภาพอันทรงพลังและการปฏิบัติงานที่ได้ผลลัพธ์มากขึ้น นอกเหนือจากโพรเซสเซอร์ Ascend แล้ว MindSpore ยังสามารถรองรับ GPU, CPUและโพรเซสเซอร์ประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย
ในขณะเปิดตัว MindSpore มร. ซวี่ ได้เน้นย้ำความตั้งใจของหัวเว่ยในการช่วยสร้างอีโคซิสเต็ม AI ที่แข็งแกร่งและมีความแอ็กทีฟยิ่งขึ้น “MindSpore จะเป็นโอเพนซอร์สในไตรมาสแรกของปี 2020 เราต้องการขับเคลื่อนการใช้งาน AI ที่แพร่หลายขึ้นและสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในเรื่องที่พวกเขาทำได้ดีที่สุด”
ขับเคลื่อน AI ให้แพร่หลายกว่าเคย
ก่อนที่จะประกาศการเปิดตัว Ascend 910 และ MindSpore มร. ซวี่ ได้กล่าวถึงกลยุทธ์ด้าน AI ของหัวเว่ยอีกครั้ง
- ลงทุนด้านการวิจัย AI: พัฒนาความสามารถด้านแมชชีนเลิร์นนิงพื้นฐาน ได้แก่ คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer vision) การประมวลผลภาษามนุษย์ การตัดสินใจและการอนุมาน ฯลฯ โดยมุ่งเน้น:
- การใช้ข้อมูลและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น ใช้ข้อมูล การประมวลผล และพลังงานให้น้อยลง)
- ความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ
- การทำงานอัตโนมัติ/การทำงานเองได้อย่างอิสระ
- สร้างพอร์ตโฟลิโอ AI แบบครบวงจร
- ปรับการทำงานในเข้ากับทุกสถานการณ์ รวมถึงทั้งสถานการณ์แบบสแตนอโลนและที่ทำงานร่วมกันระหว่างคลาวด์ เอจ และดีไวซ์
- พลังการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพในราคาเอื้อมถึง
- แพลตฟอร์ม AI ที่ใช้งานง่าย ทรงพลัง และมาพร้อมบริการรอบด้านแบบครบวงจร
- ส่งเสริมกลุ่มคนที่มีความสามารถและอีโคซิสเต็มที่เปิดกว้าง: สร้างการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบัน อุตสาหกรรม และพาร์ทเนอร์
- เสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตโฟลิโอที่มีอยู่แล้ว: ใส่มายเซ็ตและเทคนิคของ AI ลงในผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่มีอยู่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเสริมความแข็งแกร่งด้านการแข่งขัน
- ขับเคลื่อนประสิทธิภาพในการทำงาน: ใช้ AI เพื่อสร้างระบบอัตโนมัติให้งานปริมาณมากซึ่งเกิดขึ้นซ้ำๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน
พอร์ตโฟลิโอ AI ของหัวเว่ยครอบคลุมถึงสถานการณ์การใช้ทุกประเภท รวมถึงคลาวด์สาธารณะ คลาวด์ส่วนตัว เอจคอมพิวติ้ง อุปกรณ์อุตสาหกรรม IoT และอุปกรณ์คอนซูมเมอร์ พอร์ตโฟลิโอนี้ยังเป็นแบบครบวงจร อันประกอบด้วย Ascend IP และซีรีส์ชิป, CANN เลเยอร์ Chip Enablement, MindSpore เฟรมเวิร์กการเทรนและการอนุมาน และแพลตฟอร์ม Application Enablement ที่ชื่อว่า ModelArts
หัวเว่ยให้คำนิยาม AI ว่าเป็นเทคโนโลยีอเนกประสงค์สมัยใหม่ เปรียบดั่งรางรถไฟและไฟฟ้าในศตวรรษที่ 19 และรถยนต์ คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ตในศตวรรษที่ 21 หัวเว่ยเชื่อว่าจะมีการนำ AI มาใช้ในเศรษฐกิจเกือบทุกภาคส่วน
มร. สวี่ กล่าวว่า AI ยังอยู่ในการพัฒนาขั้นแรก ยังมีปัญหาอีกหลายจุดที่เราต้องแก้ไขเพื่อให้ AI กลายเป็นเทคโนโลยีที่อเนกประสงค์อย่างแท้จริง กลยุทธ์ AI ของหัวเว่ยออกแบบมาเพื่อจัดการกับช่องโหว่เหล่านั้นและเร่งการนำ AI ไปใช้ในระดับโลก หัวเว่ยต้องการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในแง่มุมต่อไปนี้
- มอบพลังการประมวลผลที่ทรงพลังยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความเร็วของการเทรนโมเดลที่ซับซ้อน จากหลายวันหลายเดือนให้เหลือเพียงไม่กี่นาที หรือวินาทีด้วยซ้ำ
- มอบพลังการประมวลผลมหาศาลในราคาที่เอื้อมถึง ปัจจุบันพลังในการประมวลผลนั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและยังมีไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการพัฒนา AI
- มอบพอร์ตโฟลิโอ AI สำหรับทุกสถานการณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจที่หลากหลาย พร้อมดูแลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ พอร์ตโฟลิโอนี้จะทำให้ AI ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่ในคลาวด์สาธารณะ
- ลงทุนกับอัลกอริทึม AI พื้นฐาน อัลกอริทึมแห่งอนาคตควรจะใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ หมายความว่าจะต้องให้ผลลัพธ์เดียวกันแต่ใช้ข้อมูลน้อยกว่า นอกจากนี้ยังจะต้องประหยัดพลังงาน เช่นเดียวกันก็คือ ผลลัพธ์จะต้องเหมือนเดิมแต่ใช้พลังงานในการประมวลผลและพลังงานไฟฟ้าน้อยลง
- ใช้ MindSpore และ ModelArts มาช่วยสร้างระบบอัตโนมัติในการพัฒนา AI เพื่อลดการพึ่งพาการทำงานของมนุษย์
- คอยพัฒนาอัลกอริทึมโมเดลเพื่อสร้าง AI ระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ทำงานได้ดีในสถานการณ์จริง ไม่ใช่แค่ในการทดสอบ
- พัฒนาระบบแบบเรียลไทม์และลูปปิดสำหรับการอัปเดตโมเดล เพื่อให้มั่นใจว่าการใช้งาน AI ในองค์กรดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดเวลา
- เพิ่มมูลค่าของ AI โดยขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น คลาวด์ IoT เอจ
คอมพิวติ้ง บล็อกเชน บิ๊กดาต้า และฐานข้อมูล - ช่วยให้ AI กลายเป็นทักษะพื้นฐานสำหรับนักพัฒนาและเจ้าหน้าที่ด้าน ICT สำหรับการใช้งานทุกรูปแบบผ่านแพลตฟอร์มการพัฒนาพอร์ตโฟลิโอ AI แบบครบวงจร ปัจจุบัน มีเพียงผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะขั้นสูงเท่านั้นที่ทำงานด้าน AI ได้
- ลงทุนให้มากขึ้นกับอีโคซิสเต็ม AI แบบเปิดและผลิตบุคลากรรุ่นใหม่ด้าน AI เพื่อตอบสนองความต้องการคนที่มีความสามารถด้าน AI ที่มากขึ้นเรื่อยๆ
การใช้ Ascend 310 และ ModelArts อย่างกว้างขวาง
ที่งานหัวเว่ย คอนเน็กต์ 2018 หัวเว่ยได้ประกาศกลยุทธ์ด้าน AI และพอร์ตโฟลิโอ AI แบบครบวงจรสำหรับทุกสถานการณ์ รวมถึง Ascend 310 โพรเซสเซอร์ AI และ ModelArts ซึ่งให้บริการการผลิตโมเดลแบบเต็มรูปแบบ
Ascend 310 เป็นระบบบนชิป (SoC) สำหรับ AI เชิงพาณิชย์ระบบแรกของหัวเว่ยในซีรีส์ Ascend-Mini โดย Ascend 310 นั้นใช้พลังงานสูงสุดเพียง 8 วัตต์และทำความเร็วได้ 16 TeraOPS ในอินเทอเจอร์ พรีซิชัน (INT8) และ 8 เทราฟล็อบส์ ในฮาล์ฟ พรีซิชัน (FP16) ทำให้เป็น AI SoC ที่ทรงพลังที่สุดสำหรับเอจคอมพิวติ้ง อีกทั้งยังมาพร้อมกับตัวแปลงสัญญาณวิดีโอเอฟเอชดีแบบ 16 แชแนลอีกด้วย
หลังจากที่เปิดตัวไปก็เริ่มมีการใช้งาน Ascend 310 ในผลิตภัณฑ์และบริการคลาวด์รูปแบบต่างๆ เช่น โมบายดาต้าเซ็นเตอร์ (MDC) ของหัวเว่ย ซึ่งใช้ Ascend 310 ก็ได้ให้บริการแก่ผู้ผลิตยานพาหนะชั้นนำหลายราย ไม่ว่าจะเป็น ชัทเทิลบัส ยานพาหนะพลังงานใหม่ และการขับขี่อัตโนมัติ
ตอนนี้ การ์ดและเซิร์ฟเวอร์เร่งความเร็วในซีรีส์ Atlas ที่ขับเคลื่อนโดย Ascend 310 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันในอุตสาหกรรมนับสิบรายการ (เช่น ระบบขนส่งแบบสมาร์ทและสมาร์ทกริด) ซึ่งพัฒนาโดยพันธมิตรหลายสิบราย
ยังเข้ามามีส่วนช่วยบริการหัวเว่ยคลาวด์ ในด้านการวิเคราะห์รูปภาพ การแปลงภาพเอกสารให้กลายเป็นข้อความ (OCR) และการวิเคราะห์วิดีโออัจฉริยะ ตอนนี้มี API กว่า 50 รายการที่ใช้บริการเหล่านี้ ณ ตอนนี้ จำนวนการเรียก API ต่อวันมีจำนวนเกิน 100 ล้านครั้งแล้ว และคาดว่าจะเป็น 300 ล้านครั้งภายในสิ้นปี 2019 มีบริษัทกว่า 100 แห่งที่กำลังใช้ Ascend 310 เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมของตนเอง
ModelArts ของหัวเว่ยมอบบริการการพัฒนาโมเดลที่ทำงานอย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การพัฒนาโมเดล ไปจนถึงการเทรนและการนำโมเดลไปใช้งาน ณ ตอนนี้ มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า 30,000 รายที่ใช้ ModelArts จัดการการเทรนกว่า 4,000 งานต่อวัน (รวมทั้งหมด 32,000 ชั่วโมงการเทรน) จากงานทั้งหมด มีงาน 85% ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลภาพ 10% เป็นการประมวลผลข้อมูลเสียง และ 5% เกี่ยวข้องกับแมชชีนเลิร์นนิง
ด้วยการเปิดตัว Ascend 910 และ MindSpore หัวเว่ยได้เผยให้เห็นองค์ประกอบหลักของพอร์ตโฟลิโอ AI แบบครบวงจรสำหรับการใช้งานทุกสถานการณ์ “ทุกอย่างดำเนินไปตามแผน เราได้ให้สัญญาไว้ว่าจะสร้างพอร์ตโฟลิโอ AI ที่ครบวงจรสำหรับทุกสถานการณ์ และวันนี้เราทำสำเร็จแล้ว” มร. สวี่ กล่าว การเปิดตัวในวันนี้เป็นก้าวใหม่ที่สำคัญในโรดแมปด้าน AI ของหัวเว่ย และยังเป็นดั่งการเริ่มต้นใหม่อีกด้วย
ในช่วงท้ายของการนำเสนอ มร. สวี่ กล่าวเสริมว่า หัวเว่ยจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ AI ที่สะเทือนวงการเพิ่มอีกที่งานสัมมนาที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่าง หัวเว่ย คอนเน็กต์ 2019 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ ตั้งแต่ 18-20 กันยายน 2019 หัวเว่ยจะทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับพันธมิตร เพื่อการมีการใช้งาน AI ในวงกว้างและทำให้คนเข้าถึง AI ได้ง่ายขึ้น พร้อมนำประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่คนทุกคน บ้านทุกหลัง และองค์กรทุกแห่ง