หลังจากซุ่มพัฒนามานาน Google ก็เปิดตัวมือถือฝาพับรุ่นแรกแล้วโดยใช้ชื่อว่า Google Pixel Fold ที่มีสเปคใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ตัวอื่นๆ ในรอบปีที่ผ่านมา
สเปคคร่าวๆ ของ Google Pixel Fold มีดังนี้
- หน้าจอ 1: 5.8 นิ้ว – 2092 x 1080 Pixel (OLED 120Hz)
- หน้าจอ 2: 7.6 นิ้ว – 2208 x 1840 Pixel (OLED 120Hz)
- ชิปประมวลผล: Google Tensor G2
- พื้นที่เก็บข้อมูล: 256GB
- แรม: 12GB
- กล้องหลัง: 48 (Main) + 10.8 (UltraWide) + 10.8 (Telephoto) Megapixel
- กล้องหน้า 1: 9.5 Megapixel
- กล้องหน้า 2: 8.0 Megapixel
- แบตเตอรี: 4,821 mAh
- พอร์ต: USB-C รองรับการชาร์จไฟ 30W
- รองรับการชาร์จไฟไร้สาย
ตัวเครื่องจะมีหน้าจอทั้งหมดสามจอด้วยกัน ได้แก่จอด้านนอกขนาด 5.8 นิ้ว (ใช้งานตอนที่พับเครื่อง) และจะด้านใน 7.6 นิ้ว (ตอนที่กางออก) ทั้งคู่มีรีเฟรชเรทที่ 120Hz มีลักษณะเดียวกันกับ Galaxy Z Fold นั่นเอง และจากวิดิโอแนะนำดูเหมือนว่าการพับจะยังไม่ได้ใช้เทคนิคแบบมือถือจีนที่จะงอๆ หน้าจอเอาไว้ ทำให้มีรอยยับจากการพับให้เห็นอีกด้วย
ฟีเจอร์ที่โชว์บนเวทีส่วนใหญ่ไม่ใช่ของแปลกใหม่ ผู้ที่เคยดูงานเปิดตัว Galaxy Z Fold รุ่นต่างๆ คงจะรู้สึกคุ้นเคยกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการทำอะไรเร็วๆ ก็ทำบนหน้าจอภายนอก แต่พอจะจริงจังก็เปิดเครื่องเป็นหน้าจอใหญ่ขึ้นมา ตัวเครื่องเหมือน Pixel 7 Pro ที่หน้าจอใหญ่ขึ้นและพับได้มากเสียกว่าจะเป็นมือถือตัวใหม่ ทำให้ราคา $1799 เกินความคาดหมายของหลายๆ คนไปมาก
สเปคกล้องหลังนั้นลดลงมาจาก Pixel 7 Pro ของปีที่แล้วเล็กน้อย คือกล้องหน้าภายนอกมีความละเอียด 9.5 Megapixel ส่วนกล้องหน้าด้านในมีความละเอียด 8 Megapixel ส่วนกล้องหลังจะมีความละเอียด 48 (Main) + 10.8 (UltraWide) + 10.8 (Telephotos) Megapixel (ขณะที่ Pixel 7Pro จะเป็น 50 + 12 + 48) โดยทาง Google ระบุว่าที่ต้องลดสเปคลงมานั้นก็เพราะว่าตัวเครื่องต้องทำให้บางลงกว่าเดิม เซนเซอร์ที่ใช้ได้จึงต้องเล็กลงตามไปด้วย
การพัฒนามือถือฝาพับได้นี้ทำให้ Google พัฒนาหน้าจอการใช้งานและซอฟท์แวร์ให้รองรับการแสดงผลบนหน้าจอใดหน้าจอหนึ่ง และส่งข้อมูลไปยังอีกหน้าจอ (เมื่อกางหน้าจอออก หรือพับเข้ามา) ทำให้นอกจากตัว Google Pixel เองจะทำงานได้ดีแล้ว เราน่าจะเห็นอานิสงค์นี้ไปยังมือถือรุ่นอื่นๆ ในอนาคตที่เป็นฝาพับอีกด้วย
ตัวเครื่องจะไม่ได้ใช้การแสกนลายนิ้วมือบนหน้าจอเหมือนกับ Pixel รุ่นอื่นๆ เพราะตัวอ่านลายนิ้วมือถูกย้ายไปอยู่บนปุ่มเปิดปิดเครื่องแทน
ที่มา – Engadget