เทคโนโลยีการชาร์จเร็วถูกพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหนึ่งในแบรนด์สมาร์ตโฟนอย่าง Infinix ก็ได้ให้ความสำคัญกับด้านนี้ ด้วยการออกแบบโทรศัพท์ที่มีคอนเซ็ปต์ชาร์จไว 160W ซึ่งใช้เวลา 10 นาทีในการชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็ม อีกทั้งยังปรับปรุงประสิทธิภาพการชาร์จที่ช่วยผลักดันมาตรฐานอุตสาหกรรมให้ก้าวไปข้างหน้า จึงทำให้ผู้ใช้งานมีอิสระในการใช้งานได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลว่าแบตเตอรี่จะลดลงหรือหมดระหว่างวัน
สุดยอดประสบการณ์การชาร์จเร็ว 160W
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการออกแบบการชาร์จความเร็วสูง คือ อัตราส่วนของกระแสการชาร์จแบตเตอรี่ที่มาพร้อมกับการสร้างสรรค์ โดยอินฟินิกซ์ได้ร่วมมือกับหนึ่งในผู้ผลิตแบตเตอรี่ชั้นนำของโลกเพื่อการพัฒนาเซลล์แบตเตอรี่แบบใหม่ 8C ซึ่งเป็นอัตราการชาร์จที่รวดเร็วมากพอสำหรับแบตเตอรี่แบบลิเธียม เมื่อเทียบกับโครงสร้างของอิเล็กโทรดเดี่ยว เซลล์ 8C จึงมีความต้านทานภายในที่ต่ำกว่ามาก เนื่องจากเป็นโครงสร้างอิเล็กโทรดหลายขั้วที่ล้ำหน้าที่สุด และเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ 6C แล้ว 8C จะช่วยลดความต้านทานภายในได้มากกว่าถึง 18% ทำให้เกิดความร้อนได้น้อยกว่า และมีกระแสไฟที่แรงกว่าอย่างไม่จำกัด จึงทำให้ได้รับพลังงานจากการชาร์จได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และในส่วนของการจ่ายไฟฟ้า มีตัวแปลงแบบ DC-DC ที่ใช้เก็บประจุสำหรับการแปลงแรงดันไฟฟ้า โดยผู้เชี่ยวชาญของอินฟินิกซ์ได้แนะนำรูปแบบการชาร์จเร็ว 160W ที่ใช้ชิปชาร์จหลายตัวในการเปลี่ยนแปลงแหล่งจ่ายไฟ ชิปเหล่านี้ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งรองรับการแปลงพลังงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพแปลงการชาร์จได้มากถึง 98.6% ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตราการจ่ายไฟฟ้าที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยช่วยลดอัตราการเกิดโอเวอร์โหลดและความร้อนที่สูงเกินไปที่มาจากการจ่ายไฟอย่างเห็นได้ชัด
สำหรับคอนเซปต์สมาร์ตโฟนต้นแบบของอินฟินิกซ์ยังมาพร้อมการชาร์จแบบไร้สายด้วยความเร็วที่ 50W เป็นการตอบรับเทรนด์การชาร์จไร้สายในยุค “ซูเปอร์ชาร์จ” โดยการชาร์จเร็วไร้สายด้วยกำลังไฟ 50W จะใช้เวลา 30 นาทีในการชาร์จให้เต็ม ดังนั้นแล้วการชาร์จเร็วแบบไร้สายจึงเป็นเหมือนนวัตกรรมแห่งอนาคต และยังเป็นก้าวเล็กๆ ที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้เข้าใกล้การบูรณาการเทคโนโลยีการชาร์จเร็วแบบไร้สายเข้ากับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างยอดเยี่ยมมากที่สุด
การป้องกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ
เทคโนโลยีชาร์จเร็วนั้นจะทำให้อุณหภูมิของสมาร์ตโฟนสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยระบบการชาร์จของโทรศัพท์ต้นแบบจากอินฟินิกซ์จะมีเซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิกว่า 20 ตัว ซึ่งกระจายอยู่ในที่ต่างๆ ของยูเอสบี ชิปแบตเตอรี่ และส่วนอื่นๆ ภายในตัวเครื่อง ซึ่งโทรศัพท์ต้นแบบนี้จะได้รับการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ผ่านอัลกอริธึมการควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะที่คอยตรวจจับความร้อนอย่างใกล้ชิด โดยระบบนี้ใช้การควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าอุณหภูมิในระหว่างการชาร์จจะต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ เทคโนโลยีการชาร์จเร็ว 160W ของสมาร์ตโฟนต้นแบบยังมาพร้อมกับกลไกการป้องกันความปลอดภัยแบบครบวงจร ที่ครอบคลุมมากกว่า 60 แบบ ตั้งแต่การป้องกันความปลอดภัยของหัวชาร์จ อินเทอร์เฟซ การป้องกันสายเคเบิล และการป้องกันเทอร์มินัลมือถือ รวมถึงหากตรวจพบว่าเกิดความผิดปกติของอุณหภูมิที่ตัวเครื่อง แรงดันฟ้าไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า กลไกการป้องกันจะทำงานเพื่อความปลอดภัยของระบบทันที
หมดห่วงเรื่องอุปกรณ์การชาร์จที่เข้ากันไม่ได้
หลายคนคงเบื่อที่จะพกที่ชาร์จหลายแบบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน โทรศัพท์ต้นแบบของอินฟินิกซ์ได้แก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยการรองรับหัวชาร์จซึ่งทำให้การชาร์จรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ผู้ใช้งานสามารถชาร์จอุปกรณ์อื่นๆ ได้ด้วยสายเดียวกันและด้วยนวัตกรรมที่ก้าวล้ำไปอีกขั้นของอินฟินิกซ์นี้ ทำให้อุปกรณ์สามารถชาร์จเต็มได้ 100% ภายในเวลา 18 นาที โดยใช้หัวชาร์จ 65W ซึ่งเร็วกว่าเดิมถึง 30 – 40 นาที รวมถึงยังใช้หัวชาร์จที่ใช้โปรโตคอลหลายตัว ซึ่งหมายความว่าจะสามารถชาร์จเร็วได้ทั้งสมาร์ตโฟนและแล็ปทอป อีกทั้งยังเป็นพอร์ตหัวชาร์จแบบ Type-C ที่มีขนาดกะทัดรัด ใช้งานง่ายและพกพาได้สะดวก
จากภาพรวมของอุตสาหกรรมสมาร์ตโฟนในปัจจุบัน เทคโนโลยีการชาร์จเร็วยังคงทำได้แค่เพียงการชาร์จเร็วที่ 125W แต่สำหรับแบรนด์สมาร์ตโฟนจาก Infinix นั้น ถือได้ว่าเป็นการก้าวหน้าครั้งสำคัญที่ได้มีการพัฒนาการชาร์จเร็วสูงสุดถึง 160W และถึงแม้ว่าอุปกรณ์นี้จะยังคงเป็นเพียงโทรศัพท์ต้นแบบก็ตาม แต่จุดประสงค์จริงๆ แล้วนั้น คือการปูทางสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมุ่งหวังให้เกิดการนำเอาเทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้เข้ามาสู่คนในยุคปัจจุบันในราคาที่จับต้องได้อย่างแท้จริง สำหรับบทความนี้เป็นการแนะนำโดยพาทุกคนมาเตรียมความพร้อมและทำความรู้จักกับเทคโนโลยีการชาร์จเร็ว 160W เท่านั้น ซึ่งจะมีการเปิดตัวหรือในอนาคตทุกคนจะได้ใช้งานจริงหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป