รางวัล Nobel Price ประจำสาขาเคมีปีนี้มอบให้กับสามนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมกันสร้างสรรค์แบตเตอรี Lithium Ion ที่อยู่ในมือถือและคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในปัจจุบัน
ผู้ที่ได้รับรางวัล Nobel Price ร่วมกันรอบนี้มีสามคนด้วยกัน ได้แก่ John B Goodenough (University of Texas), M Stanley Whittingham (Binghamton University) และ Akira Yoshino (Meijo University) โดยทั้งสามคนจะได้รับเงินรางวัลราวๆ 9 ล้านเหรียญโครเนอร์ (สกุลเงินของสวีเดน มีค่าราวๆ 27.83 ล้านบาท
หลายๆ คนที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะเริ่มรู้สึกแปลกๆ Lithium Ion เป็นแบตเตอรีที่เราใช้กันมาหลายสิบปีแล้วไม่ใช่หรือ? คำตอบก็คือใช่แล้วครับ รางวัลครั้งนี้เพิ่งจะมอบให้ปีนี้ แต่ความเป็นจริงแล้วผลงานวิจัยแบตเตอรีนี้เสร็จสิ้นมาตั้งแต่ยุค 80 และกลายเป็นมาตรฐานแบตเตอรีที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในรถยนต์ไฟฟ้า มือถือ คอมพิวเตอร์ ไมโครโฟน และอื่นๆ อีกมากมาย
จุดเริ่มต้นมาจากความขาดแคลนน้ำมันในยุค 70 ทำให้ Stanley Whittingham เริ่มงานวิจัยด้านแบตเตอรี ซึ่งเขาสามารถสร้างขั้วแคโทดที่เก็บไอเออนของลิเธียมได้สำเร็จ ส่วน John Goodenough นั้นเข้ามามีส่วนร่วมในยุค 80 เมื่อเขาโชว์ต้นแบบแบตเตอรีที่สามารถเก็บพลังงานที่ชาร์จไฟเข้า 4 โวลต์ได้เป็นผลสำเร็จ และ Akira Yoshino ก็เป็นผู้ที่ต่อยอดจนกลายเป็นแบตเตอรีที่เราเห็นในปัจจุบันสำเร็จในปี 1985 นั่นเอง
อาจจะกล่าวได้ว่างานวิจัยนี้แจกย้อนหลังไปไกลถึง 34 ปี โดย Stanley Whittingham และ Akira Yoshino ปัจจุบันมีอายุราวๆ 70 กว่าปี ขณะที่ John Goodenough มีอายุ 97 ปีแล้ว และยังมีส่วนร่วมในวงการงานวิจัยปัจจุบันอย่างมาก และรางวัลนี้ก็ทำให้แกก็กลายเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่มีอายุมากที่สุดในปัจจุบันด้วย
ที่มา – Engadget