News & Update

ระวัง !! มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวใหม่ Petya ทำงานแบบเดียวกับ WannaCry เริ่มระบาดอีกแล้ว

พบไวรัสมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า Petya ซึ่งใช้วิธีการเดียวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry มีคนติดไปแล้วกว่า 300,000 เครื่องภายใน 72 ชั่วโมง

เมื่อวานนี้ (วันที่ 27 มิถุนายน 2560)  มีรายงานแจ้งเตือนจากสำนักข่าวต่างประเทศเรื่องการแพร่ระบาดของเจ้าไวรัสมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่อว่า Petya ซึ่งใช้วิธีการแพร่กระจายผ่านช่องโหว่ของระบบ SMBv1 แบบเดียวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่ WannaCry  เลย ล่าสุด! สถิติความเสียหายพบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกติดมัลแวร์นี้ไปแล้วกว่า 300,000 เครื่องภายใน 72 ชั่วโมงไปแล้ว

Petya Ransomware

Petya

ตอนนี้มีการแจ้งข้อมูลมาแล้วว่าประเทศที่ถูกโจมตีก็มี ได้แก่ รัสเซีย ยูเครน อินเดีย และประเทศในแถบยุโรป หน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น ธนาคารกลาง บริษัทพลังงานไฟฟ้า สนามบิน เป็นต้น ซึ่งมัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวนี้ เคยมีการแพร่ระบาดมาแล้วก่อนหน้านี้เมื่อกลางปี 2559 ลักษณะการทำงานจะไม่ใช่การเข้ารหัสลับไฟล์ข้อมูลเหมือนมัลแวร์เรียกค่าไถ่ทั่วไป แต่จะเข้ารหัสลับ Master File Table (MFT) ของพาร์ทิชัน ซึ่งเป็นตารางที่ใช้ระบุตำแหน่งชื่อไฟล์และเนื้อหาของไฟล์ในฮาร์ดดิสก์ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ได้

สำหรับเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์เรียกค่าไถ่ก็จะไม่สามารถเปิดระบบปฏิบัติการขึ้นมาใช้งานได้ตามปกติ โดยจะปรากฏหน้าจอเป็นข้อความสีดำตามรูปผู้พัฒนามัลแวร์เรียกร้องให้เหยื่อจ่ายเงินเป็นจำนวน 300 ดอลลาร์สหรัฐ โดยให้จ่ายเป็น Bitcoin เพื่อปลดล็อกถอดรหัสลับข้อมูล จากข้อมูลเบื้องต้น มัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ใหม่ (ถูกเรียกชื่อว่า Petwrap) มีความสามารถในการแพร่กระจายโดยอัตโนมัติผ่านช่องโหว่ของระบบ SMBv1 ใน Windows ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ยังไม่ได้อัปเดตแพตช์แก้ไขช่องโหว่หรือเปิดให้สามารถเชื่อมต่อบริการ SMBv1 ได้จากเครือข่ายภายนอก มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อได้

ข้อแนะนำในการป้องกัน

  1. สำหรับครั้งแรกก่อนมีการเปิดใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้ตัดการเชื่อมต่อทางเครือข่ายก่อน (LAN และ WiFi) จากนั้นเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อติดตั้งแพตซ์ (ข้อ 3) หรือตั้งค่าปิดการใช้งาน SMBv1 (ข้อ 4) และทำการ Restart เครื่องคอมพิวเตอร์อีกครั้ง
  2. ในขณะใช้งานหากเครื่องคอมพิวเตอร์หยุดทำงานและแสดงหน้าจอสีน้ำเงิน ห้าม Restart เครื่อง เนื่องจากมัลแวร์ตัวนี้จะเข้ารหัสลับข้อมูลหลัง Restart เครื่อง ฉะนั้นให้รีบปิดเครื่องคอมพิวเตอร์และติดต่อผู้ดูแลระบบเพื่อสำรองข้อมูลออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์โดยด่วน
  3. ติดตั้งแพตช์แก้ไขช่องโหว่ SMBv1 จาก Microsoft โดย Windows Vista, Windows Server 2008 ถึง Windows 10 และ Windows Server 2016 ดาวน์โหลดอัปเดตได้จาก UpdateWin10 ส่วน Windows XP และ Windows Server 2003 ดาวน์โหลดอัปเดตได้จาก UpdateXP
  4. หากไม่สามารถติดตั้งอัปเดตได้ เนื่องจากมัลแวร์เรียกค่าไถ่แพร่กระจายผ่านช่องโหว่ SMBv1 ซึ่งถูกใช้ใน Windows เวอร์ชันเก่า เช่น Windows XP, Windows Server 2003 หรืออุปกรณ์เครือข่ายบางรุ่น หากใช้งาน Windows เวอร์ชันใหม่และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ SMBv1 ผู้ดูแลระบบอาจพิจารณาปิดการใช้งาน SMBv1 โดยดูวิธีการปิดได้จาก Close SMBv1
  5. หากไม่สามารถติดตั้งอัปเดตได้ ผู้ดูแลระบบควรติดตามและป้องกันการเชื่อมต่อพอร์ต SMB (TCP 137, 139 และ 445 UDP 137 และ 138) จากเครือข่ายภายนอก อย่างไรก็ตาม การบล็อกพอร์ต SMB อาจมีผลกระทบกับบางระบบที่จำเป็นต้องใช้งานพอร์ตเหล่านี้ เช่น file sharing, domain, printer ผู้ดูแลระบบควรตรวจสอบก่อนบล็อกพอร์ตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
  6. อัปเดตระบบปฎิบัติการให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ หากเป็นได้ได้ควรหยุดใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows XP, Windows Server 2003 และ Windows Vista เนื่องจากสิ้นสุดระยะเวลาสนับสนุนด้านความมั่นคงปลอดภัยแล้ว หากยังจำเป็นต้องใช้งานไม่ควรใช้กับระบบที่มีข้อมูลสำคัญ
  7. ติดตั้งแอนติไวรัสและอัปเดตฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ปัจจุบันแอนติไวรัสจำนวนหนึ่งสามารถตรวจจับมัลแวร์สายพันธุ์ที่กำลังมีการแพร่ระบาดได้แล้ว

ข้อแนะนำในการแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อ

  1. หากพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ตกเป็นเหยื่อมัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวนี้ ให้ตัดการเชื่อมต่อเครือข่าย (ถอดสาย LAN, ปิด Wi-Fi) และปิดเครื่องทันที
  2. แจ้งเตือนผู้ดูแลระบบในหน่วยงานว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ตกเป็นเหยื่อ

ข้อแนะนำอื่นๆ

  • ควรสำรองข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ และหากเป็นไปได้ให้เก็บข้อมูลที่ทำการสำรองไว้ในอุปกรณ์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอื่นๆ 
  • หากมีการแชร์ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย ให้ตรวจสอบสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วน และกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้มีสิทธิ์อ่านหรือแก้ไขเฉพาะไฟล์ที่มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิเหล่านั้น

แหล่งข่าวอ้างอิง 

thehackernews ,telegraph.co.uk ,labsblog.f-secure.com ,bleepingcomputer.com , independent.co.uk , thaicert.or.th

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save