นักวิจัยยังคงพยายามคิดค้นตามหาวิธีที่จะสร้างแบตเตอรี่ที่ราคาถูก ผลิตได้มาก ประสิทธิภาพดีกว่าเดิม และที่สำคัญคือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีไอเดียที่น่าสนใจก็คือนำขยะรีไซเคิลกลับมาสร้างเป็นแบตเตอรีอีกครั้งโดยมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า Battery trash
Battery trash
ก่อนหน้านี้เคยมีคำแนะนำในทางวิทยาศาสตร์ว่าควรจะหันไปใช้ธาตุอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับลิเธียม แต่หาง่ายกว่าอย่างเช่นโซเดียม เนื่องจากลดต้นทุนได้ หาง่าย และปลอดภัยไม่ระเบิดหรือเกิดความร้อนสูง (โซเดียมสามารถหาได้จากการสกัดเกลือแกงจากน้ำทะเล) รายงานวิจัยล่าสุดเผยว่านักวิจัยได้ทดลองสร้างแบตเตอรีขึ้นจากธาตุโปแตสเซียม และเศษโลหะรีไซเคิลอื่นๆ ได้เป็นผลสำเร็จ
กระบวนการผลิตนั้นเริ่มจากนำสเตนเลสสตีลที่ขึ้นสนิมไปทำปฏิกริยากับ โปแตสเซีย เฟอร์โรไซยาไนด์ (เป็นสารเคมีที่ใช้ในการทำปุ๋ยและบ่มไวน์) จะทำให้ไอออนจากสนิมมารวมกัน เมื่อรวมกับไอออนของสารละลายแล้วจะเกิดขึ้นเป็นเกลือโลหะแบบนาโนคิวบ์ ซึ่งสามารถกักเก็บพลังงาน และปลดปล่อยโปแตสเซียมไอออนได้ ทำให้ทำงานได้ลักษณะเดียวกันกับแบตเตอรี่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ และหากนำไปทำการชุบเคลือบออกซิไดซ์ กราไฟต์ ตัวโปแตสเซียมไอออนจะนำไฟฟ้าได้ดีขึ้นมาก
การทดลองสร้างแบตเตอรี่จากโปแตสเซียมนี้เป็นการทดลองเพื่อพิสูจน์สมมติฐานเฉยๆ แต่ทว่าแบตเตอรี่ที่ได้นั้นมีความจุสูง ปลดปล่อยแรงดันไฟฟ้าได้ดี มีความสเถียรในการใช้งาน และวัสดุที่ใช้ก็เป็นการรีไซเคิลอีกด้วย ถือว่าเป็นการพิสูจน์สมมติฐานที่ดี หวังว่าจะมีงานวิจัยหรือบริษัทไหนสนใจนำไปต่อยอดเพิ่มเติมในอนาคตเพื่อโลกสีเขียวของเรา เนื่องจากผลลัพธ์ออกมาดีเกินกว่าที่คาดเอาไว้มาก
ที่มา – Engadget