Article

Power Bank ความจุเท่าไรจึงจะเหมาะกับการใช้งาน ??

Power Bank samsung

เดี๋ยวนี้หันไปไหนก็มีแต่คนใช้สมาร์ทโฟนกันเต็มไปหมด นั่นก็เป็นเพราะสมาร์ทโฟนสามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้อย่างไม่มีขีดจำกัด จึงมีอะไรให้เล่นมากขึ้น และเมื่อเล่นมาก แบตเตอรี่ก็หมดเร็วตามไปด้วย ดังนั้นในวันนี้เราจึงมีเทคนิคในการคำนวณสำหรับเลือกซื้อ Power Bank มาฝากกัน

เดี๋ยวนี้หันไปไหนก็มีแต่คนใช้สมาร์ทโฟนกันเต็มไปหมด นั่นก็เป็นเพราะสมาร์ทโฟนสามารถติดตั้งแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมได้อย่างไม่มีขีดจำกัด จึงมีอะไรให้เล่นมากขึ้น และเมื่อเล่นมาก แบตเตอรี่ก็หมดเร็วตามไปด้วย ดังนั้นในวันนี้เราจึงมีเทคนิคในการคำนวณสำหรับเลือกซื้อ Power Bank มาฝากกัน ซึ่งในปัจจุบันก็มีมากมายหลากหลายขนาดตั้งแต่ 1,000 มิลลิแอมป์ ไปจนถึง 10,000 มิลลิแอมป์ก็มี แต่จะเลือกอย่างไรให้ตรงกับความต้องการ เพราะบางคนใช้มาก ใช้น้อยแตกต่างกันไป เรามีสูตรคำนวณง่ายๆมาให้ขมลองไปดูกัน

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าพื้นฐานกันก่อนครับ

  • แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็นโวลท์ (Volt) ลองนึกภาพท่อน้ำก่อนนะครับ แรงดันไฟฟ้าเปรียบเสมือนกับความแรงของน้ำ ยิ่งแรงดันมากเท่าใด ก็ยิ่งส่งได้ไกลมากเท่านั้น อย่างเช่นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ตามบ้านจะมีแรงดัน 220 โวลท์ แต่หากใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ก็จะใช้แรงดันไฟต่ำลงมา อย่างเช่น 5-12 โวลท์ และแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนจะมีแรงดันประมาณ 3.7 โวลท์
  • กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็นแอมแปร์ (Ampere) กระแสไฟฟ้าเปรียบเสมือนปริมาณน้ำที่ไหลผ่านในท่อ ยิ่งมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านมากก็ยิ่งกินไฟมาก แบตเตอรี่ก็จะเต็มเร็วขึ้น
  • วัตต์ (Watt) คือหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า โดยมีหน่วยเป็นวัตต์

Power Bank

 

สูตรคำนวณการใช้ไฟฟ้า

ความเชื่อที่ว่าแบตเตอรี่เสริมที่ซื้อมีปริมาณแอมป์เท่านี้ สามารถใช้ได้เต็มควาจุ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการที่แบตเตอรี่เสริมจะชาร์จเข้ากับโทรศัพท์มือถือที่ใช้แบตเตอรี่แรงดัน 3.7 โวลท์ได้นั้นต้องแปลงให้มีแรงดันสูงกว่าคือ โวลท์ จึงจะชาร์จเข้าไปได้ ซึ่งการแปลงนี้จะมีผลทำให้จำนวนแอมป์ในแบตเตอรี่เสริมลดน้อยลงตามสูตรคำนวนการใช้ไฟฟ้าพื้นฐานง่าย คือ P = IV ตัวอักษรทั้ง คือตัวแปรมีความหมายดังนี้

P = วัตต์
I = แอมป์
V = โวลท์

ยกตัวอย่างเช่น : เราต้องการซื้อแบตเตอรี่เสริมขนาด 5,000 มิลลิแอมป์ (แอมป์) และแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออนมีแรงดันไฟฟ้า 3.7 โวลท์ แทนค่าในสูตรในสมการได้ดังนี้

P = IV
P = 5 x 3.7
P = 18.5 วัตต์ ดังนั้นแบตเตอรี่เสริมก้อนนี้ให้พลังงานได้ 18.5 วัตต์

เมื่อนำมาใช้งานจริง : ชาร์จกับโทรศัพท์มือถือของเราก็จะต้องแปลงแรงดันให้สูงขึ้นเป็น โวลท์ เพื่อให้มีแรงดันสูงกว่า จึงจะชาร์จแบตเตอรี่ของเราได้ เราจึงนำค่าที่ได้มาแทนในสมการ P = IV อีกครั้ง เพื่อแปลงกลับให้ได้กระแสไฟฟ้า หรือปริมาณแอมป์ที่ได้

P = IV
18.5 = I x 5
I = 18.5 / 5
I = 3.7 แอมป์

∴ ดังนั้นกระแสไฟฟ้าที่ถูกแปลงเป็น โวลท์ จะมีกระแสไฟฟ้าเหลือ 3.7 แอมป์ หรือ 3,700 มิลลิแอมป์ นั่นก็หมายความว่า หากโทรศัพท์ของเรามีแบตเตอรี่ความจุ 1,000 มิลลิแอมป์ก็นำไปหารค่าที่ได้ นั่นก็คือ 3,700 / 1,000 จะชาร์จโทรศัพท์ของเราได้ประมาณ 3.7 ครั้ง

หรือหากแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือของเรามีความจุ 1,500 มิลลิแอมป์ นำไปหาร 3,700 มิลลิแอมป์ก็จะได้ 2.46 ครั้ง หรือประมาณ ครั้งกว่าๆ แต่การชาร์จแต่ละครั้งจะมีพลังงานที่สูญเสียไปกับวงจรไฟฟ้า และการแปลงแรงดันไฟฟ้า ปริมาณไฟฟ้าที่สูญเสียไปจะอยู่ในรูปแบบของความร้อนที่เกิดขึ้นกับตัวเครื่อง และแบตเตอรี่

โดยคิดเป็นปริมาณไฟฟ้าที่สูญเสียไปประมาณ 10% หรือมากกว่า จากที่ชาร์จได้ ครั้ง อาจจะเหลือเป็น 1.8 ครั้ง ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวงจรไฟฟ้าที่ออกแบบมา

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับสูตรคำนวนพร้อมตัวอย่างการคำนวน หวังว่าท่านผู้อ่านจะไม่งงกับสูตรการคำนวน และตัวแปรต่างๆ ที่ผมอธิบายนะครับ ซึ่งก็ถือว่าไม่ยากจนเกินไป เพราะเป็นสมการง่ายๆ เพียงแค่ย้ายตัวแปรไปมา ยังไงลองทำความเข้าใจ รับรองว่าไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน!!

power bank

Click to comment

You must be logged in to post a comment Login

Leave a Reply

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save