PR News

จากผลกระทบของ COVID-19 เด็กยากจนกว่า 750,000 ชีวิต ต้องอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร

จากผลกระทบของ COVID-19 เด็กยากจนกว่า 750,000 ชีวิต ต้องอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหาร

เสียงเล็กๆ จากผลกระทบมหันตภัย COVID-19 ทำให้เด็กยากจนกว่า 750,000 ชีวิตทั่วปรเทศ ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมให้พ้นจากสภาวะขาดแคลนอาหารในช่วงปิดเทอม

วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่คุกคามสภาพความเป็นอยู่ของคนทั่วโลก และส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะที่ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 แต่ความช่วยเหลือส่วนใหญ่ได้มุ่งเน้นไปยังการจัดการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค การกระตุ้นเศรษฐกิจ และมาตรการในการใช้ชีวิตร่วมกันของคนในสังคมที่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

“ท่ามกลางกระแสการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตในวิกฤตการโควิด-19 ยังมีเสียงเล็ก ๆ จากเด็กยากจนอีกกว่า 750,000 คน ทั่วประเทศ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากสังคมให้พ้นจากสภาวะขาดแคลนอาหารในช่วงปิดเทอม”

การปิดเทอมที่ยาวนานกับมื้ออาหารที่หายไป?

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้รัฐบาลต้องประกาศสั่งเลื่อนการเปิดภาคการศึกษาใหม่ไปเป็น วันที่ 1 ก.ค. ทำให้เด็กๆ มีระยะเวลาในการปิดเทอมที่ยาวนานออกไปถึง 45 วัน สำหรับเด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่ขัดสนก็คงจะไม่มีผลกระทบใดๆ แต่เมื่อหันไปมองเด็กๆ ที่มาจากครอบครัวที่ยากจนเราจะพบวิกฤตที่แฝงอยู่ในวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการบริหาร กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) เปิดเผยว่า “ที่ผ่านมาเครือข่ายครูสังกัด สพฐ. ตชด. และ อปท. กว่า 400,000 คนทั่วประเทศได้มีการลงพื้นที่เยี่ยมสำรวจความต้องการของนักเรียนยากจน เพื่อนำมาประเมินสถานการณ์ ความเสี่ยง และผลกระทบที่นักเรียนจะได้รับเนื่องมาจากการปิดเทอมที่ยาวนานขึ้น เราพบว่าปัญหาอันดับหนึ่งที่เกิดขึ้นคือความกังวลจากการเพิ่มภาระรายจ่ายค่าอาหารของครอบครัว และยิ่งไปกว่านั้นพบว่าเด็กๆ กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนอาหาร เนื่องมาจากเด็กส่วนใหญ่พึ่งพาอาหารกลางวันที่ครบห้าหมู่จากโรงเรียนเป็นหลัก เมื่อการเปิดเทอมถูกเลื่อนออกไปจึงทำให้เด็กเหล่านี้ประสบสภาวะทุพโภชนาการและต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน”

ความช่วยเหลือเร่งด่วน

กสศ.ในฐานะที่เป็นองค์กรทำงานเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาด้วยการยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามาโดยตลอด ซึ่งเป็นเวลากว่า 2 ปีมาแล้วที่ กสศ. ได้เข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมพัฒนา เด็ก เยาวชน ทั้งที่อยู่ในระบบและนอกระบบการศึกษา ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือแก่ครู ผู้พิการ และประชาชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสกว่า 1,147,754 คน ครอบคลุม 27,731 โรงเรียนทั่วประเทศไทย

เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กสศ. จึงเร่งดำเนินการเข้าไปช่วยเหลือกลุ่มเด็กยากจนพิเศษที่กำลังประสบปัญหาอย่างเร่งด่วน ในเบื้องต้น กสศ. ได้ใช้งบประมาณที่ได้คืนมาจากรัฐบาลรวมกับงบประมาณฉุกเฉิน รวมเป็นเงิน 500 ล้านบาท และได้เร่งนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือให้กับนักเรียนยากจนจำนวนคนละ 600 บาท เป็นค่าอาหารเบื้องต้น 30 วัน ซึ่งเฉลี่ยแล้วจะได้คนละเพียง 20 บาทต่อวันเท่านั้นเอง ซึ่งเงินจำนวนนี้นับเป็นเงินฉุกเฉินเบื้องต้นที่ กสศ. ได้ดำเนินการเยียวยาเด็กๆ ที่กำลังประสบปัญหาอย่างเร่งด่วน

อย่างไรก็ตามยังมีช่องว่างอีก 15 วันก่อนที่จะถึงวันเปิดเทอมที่ กสศ. จำเป็นต้องออกมาระดมทุนผ่านโครงการ สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม คนละมือ เพื่อมื้อน้อง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือจากภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปให้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสนับสนุน และร่วมสมทบทุนเพื่อเติมเต็มมื้ออาหารให้กับเด็กๆ

ครูลงพื้นที่พบเด็กอดมื้อกินมื้อ

จากการลงพื้นที่ของเครือข่ายครูเพื่อรายงานสภาพความเป็นอยู่ของเด็กนักเรียนยากจนและจากพื้นที่ทุรกันดาร พบว่าเด็ก ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลและถิ่นทุรกันดารมักจะไม่ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยบางบ้านเด็ก ๆ ต้องกินข้าวต้มกับเกลือเสียด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังพบว่าบางครัวเรือนที่ผู้ปกครองมีอาชีพหาเช้ากินค่ำ จะประสบปัญหาไม่มีเงินซื้ออาหารเนื่องมาจากโดยปกติเด็กจะพึ่งพาอาหารเช้าและอาหารกลางวันจากโรงเรียน เมื่อมีการปิดเทอมที่ยาวนานขึ้นจึงทำให้เด็กต้องอดมื้อกินมื้อ การปิดเทอมที่ยาวนานนี้ หากมองจากมุมของผู้มีอันจะกินคงมิใช่ปัญหา แต่หากมองในมุมของเด็กๆ เหล่านี้มันคือสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น แต่ก็คือเรื่องจริงที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมและต้องการความช่วยเหลือและร่วมมือกันแก้ไขอย่างจริงจัง

สารอาหารที่ไม่เพียงพอกระทบพัฒนาการของเด็กๆ

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการด้านโภชนาการ ที่ปรึกษาโครงการ สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม คนละมือ เพื่อมื้อน้อง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการด้านโภชนาการ ที่ปรึกษาโครงการ สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม คนละมือ เพื่อมื้อน้อง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ นักวิชาการด้านโภชนาการ ที่ปรึกษาโครงการ สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม คนละมือ เพื่อมื้อน้อง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ปัญหาที่พบบ่อยในการติดตามพัฒนาการของเด็กยากจนคือ สภาวะทุพโภชนาการ หรือการที่เด็กไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยเด็กๆ เหล่านี้ต้องการอาหารที่ครบ 5 หมู่ ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สมอง ซึ่งหากเด็กๆ ไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอจะส่งผลกระทบให้มีอาการสมองฝ่อ ร่างกายเตี้ย ผอมแคระแกร็น ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเรียนและพัฒนาการทางสติปัญญา ที่ผ่านมาพบว่าเด็กที่มีปัญหาจะอยู่ในถิ่นทุรกันดารหรือมาจากครอบครัวที่ยากจน โดยเด็กมักจะไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอในระหว่างปิดภาคเรียนเนื่องมาจากความยากจน ซึ่งเด็กเหล่านี้จะพึ่งพาอาหารที่ถูกหลักโภชนาการจากโรงเรียน ดังนั้นเมื่อกำหนดเปิดภาคการศึกษาถูกเลื่อนออกไปจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อเด็กกลุ่มดังกล่าวโดยตรง เพราะโรงเรียนไม่ใช่แค่สถานที่เรียนรู้ แต่คือโรงครัวของเด็กๆ ที่ยากจน”

ปัญหาปากท้องของเด็กยากจนในช่วงปิดเทอมที่ยาวนานอาจจะเป็นปัญหาระยะสั้นที่ต้องเร่งมือกันช่วยแก้ไข แต่ปัญหาระยะยาวนั้นมีผลกระทบเป็นทอดๆ และต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ซึ่งสภาวะขาดแคลนของครอบครัวที่ขาดรายได้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อตัวเด็กแล้ว ยังเชื่อมโยงเป็นลูกโซ่จนสามารถส่งผลกระทบให้เด็กเหล่านั้นจำต้องออกจากระบบการศึกษาในที่สุด และแน่นอนว่าการที่เด็กคนหนึ่งจำต้องออกจากระบบการศึกษาจะส่งผลโดยตรงต่อโอกาสในชีวิตของเด็กและสามารถกลายมาเป็นปัญหาอื่นๆ ให้กับสังคมได้อีกมากมาย

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการบริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กที่ยากจนพิเศษจำนวนกว่า 750,000 คนทั่วประเทศ ในโครงการ #สู้วิกฤตให้น้องอิ่ม กับกสศ. ผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี: กสศ.มาตรา 6(6) เลขบัญชี: 172-0-30021-6 หรือ www.eef.or.th/donate-covid/ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-079-5475

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save