PR News

ดีแทคจับมือกระทรวงดีอี สร้างอินเทอร์เน็ตปลอดภัย ลดปัญหาการกลั่นแกล้ง

ดีแทคจับมือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกำหนดกรอบความร่วมมือเพื่อลดปัญหาการกลั่นแกล้งทางโลกไซเบอร์ พร้อมเปิดตัวห้องแชท “Stop Bullying” มุ่งสร้างสังคมอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย โดยทางกระทรวงดีอี ทำหน้าที่ระบบส่งต่อ-ประสานภาครัฐ

(22 มีนาคม 2560) – กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และดีแทค ร่วมกำหนดกรอบความร่วมมือเพื่อลดปัญหาการกลั่นแกล้งทางโลกไซเบอร์ พร้อมเปิดตัวห้องแชท “Stop Bullying” อย่างเป็นทางการ มุ่งสร้างอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัย โดยทางกระทรวงดีอี ทำหน้าที่ระบบส่งต่อ-ประสานภาครัฐทางด้านงานวิจัยเผย 1 ใน 3 ของเด็กไทยเผชิญปัญหาการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ ชี้พฤติกรรมติดสื่อสังคมออนไลน์มีแนวโน้มก่อให้เกิด Cyberbullying มากขึ้น

Cyberbullying ไม่ใช่เรื่องเล็กสำหรับดีแทค

 

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ปัจจุบันเครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ Social Network เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น จากผลสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ.2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า เด็กอายุระหว่าง 15-24 ปี มีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตสูงถึง 89.8% ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา หรือวัยรุ่น โดยกลุ่มดังกล่าวมีการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และเปิดเผยความเป็นตัวตนชัดเจนขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการถูกล่อลวงทางโลกออนไลน์มากขึ้น

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตระหนักถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างไรก็ตามยังอาจมีผลทางด้านลบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งนับวันปัญหาจะทวีความรุนแรงและมีรูปแบบที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา กระทรวงฯ โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดงานประชุมสัมมนา “สานพลังป้องกัน Cyberbullying” เพื่อรวบรวมสถานการณ์และความคิดเห็นในการแก้ปัญหาการกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อยกระดับสังคมดิจิทัล และปีนี้เป็นปีแห่งการเรียนรู้และทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน เน้นแนวทางในการปฏิบัติการผนึกกำลังเป็นพันธมิตรภาคีร่วมโครงการ “Stop Bullying เลิฟแคร์ไม่รังแกกัน” และเปิดตัวบริการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนผ่าน Stop Bullying Chat Line จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งรังแกในโลกออนไลน์ (Cyberbullying) ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์การส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ของรัฐบาล เพื่อให้สังคมไทยมีระบบและกลไกในการขับเคลื่อน ส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนให้รู้เท่าทันสื่อออนไลน์และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์

ดร.พิเชฐ กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือกับดีแทคในครั้งนี้ กระทรวงฯ โดย สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะประสานกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ในการให้คำปรึกษาเบื้องต้นทางเทคนิคสำหรับการส่งต่อกรณีที่มีการกลั่นแกล้งรังแกในโลกออนไลน์ โดยขอความร่วมมือ ปอท. ในการให้คำปรึกษาฯ ในช่วงเวลา 16.00 – 22.00 น. พร้อมกันนี้ ยังร่วมกันให้บริการคำปรึกษา/แนะนำ Stop Bullying Chat Line ผ่านศูนย์ดิจิทัลชุมชน พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยผ่านกิจกรรมยุวทูตในโรงเรียน

ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับเด็กและเยาวชน

นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่า ดีแทคได้วางตำแหน่งด้านการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับเด็กและเยาวชน (Child-friendly Business) สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ (Responsible business) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานของดีแทค โดยถูกกำหนดอยู่ในกลยุทธ์บริษัท และในฐานะของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ได้ตระหนักถึงบทบาทการส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย จึงได้ริเริ่มโครงการ Safe Internet ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมทางอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยต่อเด็กและเยาวชน

โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. สร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาทางอินเทอร์เน็ตที่มีต่อเด็ก 2. ผสานเข้าไปกับผลิตภัณฑ์และบริการ 3. สร้างความร่วมมือทางอินเทอร์เน็ตเพื่อระบบนิเวศที่ดีขึ้น และ 4. ร่วมสร้างนโยบายและการกำกับที่ดี ซึ่งที่ผ่านมา ดีแทค ได้เดินสายโร้ดโชว์ให้ความรู้แก่กลุ่มนักเรียนประถมปลายกว่า 50 แห่ง เพื่อจัดเวิร์กช้อปให้ความรู้และสอนวิธีการรับมือหากถูกผู้อื่นกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ โดยมีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 27,000 คน

นายลาร์ส กล่าวเสริมว่า สำหรับบริการห้องแชท Child Chat Line ที่ได้เปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา พบผู้ขอคำปรึกษาจำนวน 278 คนและมีผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 40,000 ครั้ง สะท้อนถึงความรุนแรงของปัญหาในกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ของประชากรอินเทอร์เน็ตไทย

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save