ดีแทค มุ่งเป้าสู่วิสัยทัศน์โมบายล์อินเตอร์เน็ตเป้นบริการหลักของการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมทั่วประเทศไทย พร้อมเป็นผู้นำในกรให้บรารอินเตอร์เน็ตทั่วพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญด้วยโมเดลการทำงานและการทำการตลาดแบบรายภูมิภาค (Regional Clustering Model) และเน้นทำการตลาดลงลึกทั่วทุกภูมิภาคด้วยจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 จำนวน 419,000 เลขหมาย ทำให้ฐานลูกค้าทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็น 28.4 ล้านเลขหมาย
ดีแทคประเมินตลาดในประเทศไทยว่า กำลังเจริญเติบโตสำหรับตลาดดทรคมนาคมครั้งใหญ่ในช่วงเวลาอันใกล้นี้ พร้อมทั้งการลงทุนวางระบบโครงข่าย 4G ให้มีการครอบคลุมพื้นที่มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ทั้งประเทศ (Internet for all) ด้วยสถิติที่พบว่ากลุ่มคนช่วงอายุ 18-34 ปี มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตสูงที่สุด พร้อมทั้งพฤติกรรมการถ่ายภาพเพื่ออัพโหลดของคนไทยที่มีปริมาณสูงสุดในโลกถึง 495.5 ล้านภาพในปีที่ผ่านมา และ 85%ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในไทยมีจำนวนสูงถึง 35 ล้านรายที่ชื่นชอบการชอบวิดีโอผ่าน Youtube และในรูปแบบสตรีมมิ่ง มองในปัจจุบันซึ่งดีแทคมีลูกค้าที่ใช้งานสมาร์ทโฟนมากถึง 14.9 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็น 52% ของลูกค้าทั้งหมด โดยมีแนวดน้มการเติบโตของลูกค้าลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งการใช้งานที่หลากหลายรูปแบบทั้งในเรื่องของ การธนาคาร และความบันเทิง
นายลาร์ส โอเคะ นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า “สาระสำคัญของประเทศไทยคือ การปลดล็อคศักยภาพ 4G อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดีแทคต้องการที่จะเห็นภาครัฐเร่งวางโรดแมปคลื่นความถี่ที่จะนำมาประมูลในอนาคตอันใกล้ให้ชัดเจน การประมูลใบอนุญาตคลื่น 1800Mhz และ 900 Mhz ในช่วงปลายปีนี้ นับเป้นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศไทยที่จะเร่งบริหารจัดสรรคลื่นความถี่อันเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของชาติมาใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำคัญที่สุด ซึ่งดีแทคมองว่าการนำเอาคลื่นความถี่ที่ยังไม่ได้ใช้ เช่น 1800,850 และ 2600Mhz มาร่วมประมูลในอนาคต จะสร้างความเชื่อมั่นต่อคุณภาพและพื้นที่การให้บริการ 4G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ จากรายงานของ GSMA เรื่อง Building Thailand’s Digital Economy and Society 2015 ระบุว่าจะมีผู้ใช้งาน 4G สูงถึง 13.8 ล้านคน ในปี 2562 และอัตราการเข้าถึง mobile broadband จะพุ่งสุงจาก 55% เมื่อปี 2556 ไปเป็น 133% ในปี 2563 จะช่วยเพิ่ม GDP ของประเทศมากขึ้นอีก 7.3 แสนล้านบาท และจากการคาดการณ์ของดีแทคต่ออัตราการเจริญเติบโตของธุรกิจ M2M ในประเทศไทยว่า จะมีจำนวนซิมที่ connected device มากถึง 400 ล้านเครื่องเป็นอย่างน้อยในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล ธุรกิจ M2M และ internet of Things จะเป็นแกนหลักสำคัญที่จะถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริหารดิจิทัลและติดตามหาพิกัดดำแหน่งยานพาหนะ ระบบการจัดการการส่งสินค้าหรือข้อมูล หรือแม้แต่การนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในระดับผู้บริโภคทั่วไปในวงกว้าง ได้แก่การติดตามเด็กและผู้สูงอายุ และเพื่อสุขภาพ
ดีแทคประกาศเป้าหมายที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำในการให้บริการอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สำคัญๆ ในต่างจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อให้กลยุทธ Internet for all เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด ดีแทคจึงปรับยุทธศาสตร์การดำเนินงานที่เน้นสร้างกลไกการขาย การตลาด และการจัดจำหน่ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการปรับโครงสร้างการทำงานแต่งตั้งผู้ดูแลใน 5 พื้นที่ Regional Business Head (RBH) ที่เปรียบเสมือน มินิซีอีโอ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของธุรกจและการให้บริการลูกค้าทั่วประเทศ คือ
- นายปภาพรต ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภาคกรุงเทพ และปริมณฑล
- นายปกรณ์ มโนรมย์ภัทรสาร ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภาคเหนือ
- นายวรวัฒน์ วงศ์สง่า ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- นายปัญญา เวชบรรยงรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภาคใต้และตะวันตก
- นายอำนาจ โกศลรอด ผู้อำนวยการอาวุโสธุรกิจภาคกลางและตะวันออก
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างในองค์กรครั้งนี้ เพื่อให้บริษัทมีความเข้าใจ และสามารถตอบสนองความต้องการซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อลูกค่าอย่างแท้จริง เป็นสิ่งที่จะเสริมความแข็งแกร่งของการใบรารในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีความจ้องการที่แตกต่างกันออกไป และการส่งมอบประสบการณ์ทีดีกับลูกค้า ซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
นายลาร์ส กล่าวว่า “แต่ละทีมงานภูมิภาคใน 5 พื้นที่ อยู่ภายใต้การดูแลของ RBH ซึ่งจะรับผิดชอบขับเคลื่อนธุรกิจในพื้นที่ให้เป็นไปตามเป้าหมาย หน่วยงานดังกล่าวจะทำงานในรูปแบบผสมผสาน โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต้มที่จากหน่วยงานอื่นๆ ในบริษัท หัวหน้าทีมที่ดูแลทั้ง 5 พื้นที่นี้จะเป็นหนึ่งในผู้บริหารสูงสุดของดีแทค การทำงานในระดับภูมิภาคเป็นแนวทางที่เทเลนอร์นำมาใช้ในหลายประเทศทั่วโลก ดีแทคได้เริ่มปรับการทำงานในระดับภาคมาแล้ว 8 เดือน และเริ่มมีพัฒนาการในการทำความเข้าใจและทำงานในระดับภูมิภาคดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นการโฟกัสพื้นที่ในการดพเนินุรกิจ ด้วยกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งประกอบกับวงจารการทำงานที่ดูแลลูกค้าตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้ดีแทคเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าได้ดีมากขึ้น โมเดลการทำงานในระดับภูมิภาคช่วยเสริมประสิทธิภาพและวัฒนธรรมการทำงานในดีแทคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทำงานในระดับภูมิภาคทำให้บริษัท ต้องปรับวิธีคิดและวิธีการทำงานใหม่ นอกจากผู้บริหารในระดับหัวหน้าทั้ง 5 ภาคแล้ว ยังมีการแต่งตั้ง ผู้บริหารระดับโซนพื้นที่อีก 22 โซน (Zonal Business Heads) และระดับพื้นที่ ที่เล็กลงมา อีก 95 คน (Cluster Business Heads) เพื่อให้เกิดการแข่งขันภายในของแต่ละทีมแต่ละพื้นที่ และยังช่วยให้ทีมลงมือปฎิบัติงานได่ตรงจุด ซึ่งหัวหน้าทีมที่ดูแลทั้ง 5 ทีม พื้นที่นี้จะรายงานผลการดำเนินงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และบริหารจัดการดูแลเยี่ยมเยือนผู้ร่วมธุรกิจ ผู้ค้าปลีกอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมวอร์รูมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แก้ปัญหาในการทำงานและประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็ว วางแผนงานเป็นประจำรายวัน และรายสัปดาห์เพื่อให้ทราบถึงควมเคลื่อนไหวและการใช้งานดาต้าของลูกค้าแต่ละพื้นที่