บริษัท โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ อิงค์ (NYSE: MSI) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้จัดสรรเครือข่ายการสื่อสารที่ล้ำสมัยขั้นสูง รวมถึงการบริการยามฉุกเฉินที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานให้แก่หน่วยงานภาครัฐบาล และองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้สามารถจัดการเครือข่ายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
Motorola Solutions มุ่งเชื่อมต่อหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนด้วยระบบเททรา ( TETRA) อันล้ำสมัย
ด้วยระบบร่วมจากผู้ให้บริการที่มีความยืดหยุ่นและรองรับการขยายตัวขั้นสูง ทำให้ประเทศไทยสามารถรองรับการสั่งงานด้วยเสียงที่ไว้วางใจได้และมั่นคงปลอดภัยด้วยระบบเททราซึ่งได้รับการพัฒนาและรับรองมาตรฐานระดับโลก
เครือข่ายดังกล่าวนั้นอยู่ระหว่างการติดตั้ง และเมื่อแล้วเสร็จจะสามารถรองรับผู้ใช้งานได้มากกว่า 200,000 ราย ตอบสนองการใช้งานขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย ตั้งแต่ภาครัฐบาลไปจนถึงธุรกิจน้ำมันและก๊าซ ผู้ให้บริการด้านระบบขนส่งมวลชนและหน่วยงานอื่นๆ
ระบบดังกล่าวยังมาพร้อมศักยภาพใหม่ที่เหนือระดับ อาทิ บริการระบุตำแหน่งที่ตั้งของผู้ใช้งานวิทยุสื่อสารและการใช้งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังใช้วิทยุสื่อสารระบบ Push to talk Platform หรือ ระบบวิทยุสื่อสารแบบดิจิตอล ผ่านบรอดแบนด์ของโมโตโรล่า โซลูชั่นส์เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่นระหว่างผู้ใช้งานวิทยุสื่อสารและผู้ใช้งานคนอื่นๆ ที่ใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และอุปกรณ์อื่นๆ ในการติดต่อสื่อสาร
ระบบการให้บริการที่มีขนาดใหญ่รองรับเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูของประเทศไทย
การลงทุนในด้านเครือข่ายการสื่อสารในประเทศไทยเกิดขึ้นพร้อมกับการประเมินของธนาคารโลกที่คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555
มาร์เซล เวอร์ดองค์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย โมโตโรล่า โซลูชั่นส์ กล่าวว่า เมื่อระบบนี้มีการวางโครงข่ายเสร็จสมบูรณ์ จะกลายเป็นหนึ่งในเครือข่ายวิทยุเพื่อการปฏิบัติงานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
“ประเทศใดก็ตามที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในด้านโครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม การศึกษา และทักษะความเชี่ยวชาญต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารที่ล้ำหน้า” เวอร์ดองค์ กล่าว
“ระบบเททราจะช่วยสนับสนุนการลงทุนอันมหาศาลของประเทศไทยในการยกระดับความทันสมัยของโครงสร้างพื้นฐานและสร้างตำแหน่งงานผ่านการวางระบบนี้” เวอร์ดองค์กล่าวเพิ่มเติม
“เครือข่ายดังกล่าวจะช่วยให้การบริการฉุกเฉินและการดำเนินธุรกิจต่างๆ มีความครอบคลุมมากขึ้นและเพิ่มศักยภาพไปในตัว อีกทั้งช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานรายวันของหน่วยงานและองค์กร พร้อมกับมอบศักยภาพและความยืดหยุ่นในการรับมือกับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญและสถานการณ์ที่วิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพ” เวอร์ดองค์กล่าวปิดท้าย