เสียวหมี่ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตที่ก้าวเป็นหนึ่งในผู้นำด้านสมาร์ทโฟนและสมาร์ทฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อบนแพลตฟอร์ม Internet of Things (IoT) เปิดเผยในงานประชุมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (MIDC 2018) ในปีนี้ว่า ได้ร่วมเป็น “พันธมิตรทางยุทธศาสตร์” (Strategic Partnership) กับ อิเกีย ( IKEA ) โดยตั้งแต่เดือนธันวาคมเป็นต้นไป อุปกรณ์หลอดไฟอัจฉริยะทุกรุ่นของ อิเกีย จะสามารถเชื่อมต่อผ่าน Internet of Things (IOT) ของเสี่ยวหมี่ได้ทั้งหมด นับเป็นความร่วมมือครั้งแรกของ อิเกีย กับบริษัททางด้านเทคโนโลยีชั้นนำของจีน
เสียวหมี่ ได้ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent :AI) และ Internet of Things (IoT) มาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จากข้อมูลเดือนกันยายนที่ผ่านมา พบว่ามีอุปกรณ์ IoT ที่ต่อเขื่อมอินเทอร์เน็ต (ไม่รวมสมาร์ทโฟนและแล็ปท็อป) บนแพลตฟอร์ม IoT ของเสียวหมี่มากกว่า 132 ล้านชิ้น และเป็นอุปกรณ์ที่มีการใช้งานในลักษณะ daily active devices มากกว่า 20 ล้านชิ้นใช้งานในประเทศต่าง ๆ มากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก จากการเปิดเผยของ นาย เล จุน ผู้ก่อตั้ง ประธานกรรมการ และซีอีโอของ เสียวหมี่ ถึงการให้บริการผู้ช่วยดิจิตอล Xiao AI (Xiao Ai voice assistant) มีผู้ใช้งานที่เป็น monthly active users มากกว่า 34 ล้านคนทั่วโลก
นาย ฟาน เดียน ผู้จัดการทั่วไปดูแลการพัฒนาแพลตฟอร์ม IoT ของ เสียวหมี่ กล่าวว่า “อิเกีย และ เสียวหมี่ มีมุมองร่วมกันในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี จากความร่วมมือระหว่างกันนี้ เรามั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาอุตสาหกรรม Smart Home ให้ขยายตัวออกไปทั่วโลกได้อย่างแน่นอน”
นางแอนนา พาลาค-คูลิกา (Anna Pawlak-Kuliga) ซีอีโอ และประธาน อิเกีย กรุ๊ป ประจำประเทศจีน กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองบริษัทจะได้รับประโยชน์การร่วมมือกันในครั้งนี้ และจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าทั่วโลกได้ด้วยโซลูชันส์อัจฉริยะของเราภายในบ้านของตนเอง”
ตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้ อุปกรณ์หลอดไฟฟ้า ของ อิเกีย ในประเทศจีนทั้งหมด จะสามารถเชื่อมเข้ากับแพลตฟอร์ม IoT ของเสียวหมี่ ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์ของเสียวหมี่ รวมถึงระบบผู้ช่วยดิจิตอล Xiao AI และ Mi Home app ในการควบคุมการใช้งานได้ โดยหลอดไฟฟ้ายังสามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ ของ เสียวหมี่ ไม่ว่าจะเป็นระบบเซนเซอร์ (sensors) และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ (electrical appliances) ซึ่งเป็นควบคุมการทำงานในรูปแบบ Smart Scene โดยหลอดไฟฟ้าอัจริยะ (smart lighting) ทำงานโดยเชื่อมกับ Mi Control Hub ผ่านโปรโตคอล ZigBee (ZigBee Protocal)
นอกจากนี้ เสียวหมี่ และ อิเกีย ยังได้แถลงถึงความร่วมมือกับ Ji Hotel CHJ Automotive และ Ikongiian ซึ่งเป็นบริษัทออกแบบตกแต่งภายใน ในการนำอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออัจฉริยะของเสียวหมี่ (Xiaomi smart IoT devices) ไปใช้ให้เหมาะสมใน Scene ที่แตกต่างกันไป
จากงานประชุมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ครั้งแรก (MIDC 2017) เสียวหมี่ ได้มอบแนวทางให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ ในการใช้ประโยชน์จาก AI และ IoT ให้มากที่สุด โดยได้เปิดโปรแกรมนักพัฒนา IoT (Xiaomi IoT Developer Program) ทำให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์ สามารถเข้าใช้ประโยชน์จาก Mi Home Platform ในการนำไปใช้งานในการควบคุม Smart Home Scenarios โดยใช้งานผ่าน Cloud + AI + Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปีที่ผ่านมา อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่คิดค้นขึ้นมาใหม่มากกว่า 1,000 รายการ ได้ผ่านการใช้งานบน IoT Platform ของเสียวหมี่ ซึ่งรองรับนักพัฒนาซอฟท์แวร์องค์กรได้มากกว่า 1,000 คน และนักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระอีกกว่า 7,000 คน ส่งผลให้การใช้งานผู้ช่วยดิจิตอล Xiao Ai ทำงานในรูปแบบที่หลากหลายกว่า 1,300 รูปแบบ เสียวหมี่ ยังได้เริ่มโครงการสนับสนุนนักพัฒนา โดยอนุญาตให้เข้าไปใช้ประโยชน์จาก AI และ IoT ได้อีกด้วย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเข้าไปยังเว็ปไซต์ Xiaomi IoT Developer
ในปีนี้ เสียวหมี่จะเปิดใช้งาน AIoT และได้ประกาศให้ทุนสนับสนุนจำนวน 1 ล้านหยวน ในการจัดตั้งกองทุน Xiaomi AIoT Developer Fund เพื่อช่วยให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และบริษัทพัฒนาเทคโลยีปัญญาประดิษฐ์ ในการพัฒนาต่อไป
เสียวหมี่ ยังได้เปิดตัว Mi Smart Door Lock ที่ประยุกต์การใช้งานการตรวจสอบลายนิ้วมือ 3D หรือ 3D live fingerprint recognition โดยมีระบบการปลดล็อคทั้งการใช้พาสเวิร์ด เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย (Near Field Communication – NFC) รวมทั้งผ่านระบบ Bluetooth ได้อีกด้วย