เป็นประจำทุกปีเมื่อมีประเพณีสงกรานต์ก็ต้องมีภาพของน้ำเย็นๆชื่นใจสาดกันไปมา เชื่อว่าหลายๆคนออกไปเล่นน้ำก็คงต้องพกมือถือคู่ใจออกไปด้วยเพื่อเอาไว้ติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งก็ต้องหาวิธีป้องกันเป็นอย่างดีเพื่อไม่ให้มือถือโดนน้ำ แต่ … เรื่องที่ไม่คาดคิดก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นในวันนี้เราจึงขอเอาวีธีการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อ Smartphone เปียกน้ำมาฝากให้ดูกันไว้ เวลาเจอเหตุการณ์จริงจะได้ปฏิบัติกันถูก
สำหรับมือถือของใครเป็นรุ่นที่กันน้ำได้ก็อาจจะเบาใจไประดับนึง แต่ … ก็อย่าเพิ่งดีใจสุดตัวว่าเอ้ยมือถือกันน้ำได้ไม่ต้องป้องกันอะไรหรอก ปล่อยชิวไปเลย …. โนวววววนะจ้ะ เพราะมือถือกันน้ำมันก็มีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่ไม่น้อยเลย ศึกษากันก่อนสักหน่อยจะได้ไม่ต้องมานั่งหงุดหงิดใจทีหลังเนาะ
เอาจริงๆ เจ้ามาตรฐาน IP68 ที่มากับมือถือรุ่นใหม่ๆเนี่ย มันสามารถกันน้ำได้ในสภาวะน้ำนิ่งสะอาดปกติ ไม่รวมถึงน้ำทะเล น้ำที่มีแรงดันสูงหรือไหลเชี่ยว และน้ำสบู่นะจ้ะ และกันได้ลึกสุด 1.5 เมตรเป็นเวลานานสุด 30 นาทีเท่านั้น แถมถ้าเครื่องเปียกอยู่ก็เสียบชาร์จไม่ได้นะต้องรอแห้งก่อนอยู่ดี ดังนั้นใช้งานแค่พอดีๆ ก็พอ แต่ถ้าอยากสุดแนะนำให้หาซองกันน้ำมาใส่อีกชั้นรับรองว่าเล่นน้ำกันมันส์หายห่วงแน่นอนค่ะคุณขาาาา แต่ถ้าเปียกไปแล้วก็ไม่ต้องแซดเสียใจ ตั้งสติแล้วมาดูวิธีการแก้ไขทางนี้กันเลยค่ะ
4 ขั้นตอนกู้ชีพ Smartphone คู่ใจ
1. อย่ากดปุ่มต่างๆใดๆ เพราะการกดปุ่มต่างๆ จะทให้แฝงวงจรอิเล็ครอกนิกส์ทำงานและส่งผลให้น้ำซึมเข้าไปเปียกแผงวงจรจนเกิดการลัดจงวรขึ้นได้
2. ถอดฝาหลัง ถอดซิม ถอดแบตเตอรี่ และทำการเช็ดภายในเครื่องให้แห้ง และไม่ควรเอาไดร์เป่าหรือไปตากแดด
3. ทิ้งสมาร์ทโฟนไว้ให้แห้งสนิทประมาณ 1-2 วัน หรือนำไปใส่ในวัสดุดูดความชื้น เช่น ข้าวสาร หรือ Silica Gel
4. หลังจากทิ้งไว้จนเครื่องแห้งสนิทก็ทำการประกอบเครื่องกลับคืน และทดลองใช้งานปกติ
จากขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นนั้น เป็นเพียงวิธีแก้ไขเบื้องต้นเมื่อสมาร์ทโฟนเปียกน้ำ ซึ่งไม่รับรองว่าสมาร์ทโฟนคู่ใจของเพื่อนๆจะกลับมาใช้งานได้เหมือนอย่างปกติเช่นเดิม 100% หรือไม่ อย่างไรก็ตามควรนำสมาร์ทโฟนคู่ใจไปตรวจเช็คสภาพความสมบูรณ์ที่ศูนย์บริการอีกครั้งจะเป็นการดีที่สุดค่ะ