บ่อย ๆ ครั้ง ที่เราใช้แอพของ Google Map เพื่อแสดง Traffic ของถนนแต่ละเส้น เพื่อวางแผนการเดินทาง ซึ่งเราจะดูสีที่บอกถึงความหนาแน่นของการจราจรตอนนั้นแบบเรียวไทม์ แล้วเคยสงสัยกันไหมครับ Google Maps รู้ Traffic บนถนนได้อย่างไร? ใครที่คอยรายงานการจราจรในแต่ละจุด รายงานกันตลอด 24 ชั่วโมงกันเลย มีคนคอยนั่งป้อนข้อมูลอยู่หรือเปล่า ไปหาคำตอบกันครับ
คนที่คอยรายงานสภาพการจราจรแบบเรียวไทม์ จริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นั่นก็คือ User ที่ใช้งาน Google Map นั้นแหละครับ โดยเจ้ากูเกิ้ลแมพ จะดึงข้อมูลจากมือถือของเรา โดยอ่านค่า GPS บนมือถือ แต่มือถือ ต้องเปิดโหมดแชร์ Location Service ด้วยนะครับ เมื่อเราอยู่บนตำแหน่งที่อยู่บนถนน ตัวเครื่องก็จะส่งข้อมูลไปยังกูเกิ้ลแมพ โดยข้อมูลจะค่อนข้างซับซ้อนมาก จึงต้องสร้าง Algorithm ขึ้นมา เพื่อวิเคราห์ คัดกรองข้อมูลเพื่อให้แม่นยำยิ่งขึ้น และนำไปแสดงบนแผนที่นั้นเอง
อีกตัวช่วยนึง ที่เพิ่มความแม่นยำให้กับถนนในเมือง การหาตำแหน่งด้วยวิธี Observed Time Difference Of Arrival (OTDOA) โดยผ่านระบบผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ โดยคำนวนจากมือถือ ที่จับสัญญาณกับเสาของโทรศัพท์แต่ละต้น เพื่อคำนวนหาตำแห่งของโทรศัพท์นั้นเอง ซึ่งจะทราบถึงการเคลื่อนที่ ความเร็ว ทิศทาง เป็นต้น
ด้วยการรวมการใช้งานจาก Location Service จากผู้ใช้งานในจุดนั้น ๆ นำมาคำนวนความหนาแน่นบนเส้นทางการจราจรในเส้นทางต่างๆ ค่อนข้างที่จะแม่นยำ ได้วิเคราะห์จากตำแหน่งจากผู้ที่อยู่ในจุดนั้นจริงๆ แล้วหนึ่งในนั้น คือมือถือของเราเอง ที่คอยส่งข้อมูลออกไปรายงานสภาพการจราจรเองซะงั้นหน่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเกิดกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เราก็สามารถปิด Location Service ได้เช่นกันครับ