หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับการส่งเสบียงไปยัง สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS : International Space Station) ที่เป็นข่าวน่าสนใจในช่วงประมาณสองเดือนที่แล้วใช่ไหมครับ แล้วก็อาจจะมีคำถามว่า เอ๊ะ แล้วสถานีอวกาศนานาชาติ (ต่อไปขอเรียกสั้นๆ ว่า ISS ละกันนะครับ) คืออะไรล่ะ?
ประวัติย่อๆ ของ ISS มีดังนี้ครับ ISS เป็นโครงการระหว่างประเทศที่ร่วมมือกันเพื่อสร้างสถานีวิจัยทางด้านอวกาศ และวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยประเทศสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, ญี่ปุ่น, แคนาดา, องค์การอวกาศแห่งยุโรป (11 ประเทศ) และบราซิล เป็นสถานีทดลองและวิจัยทางด้านอวกาศในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ได้โคจรอยู่เหนือจากพื้นโลกประมาณ 350 กิโลเมตร โดยทำการโคจรรอบโลก 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 90 นาที
ดังนั้นในเวลา 1 วันจะโคจรรอบโลกได้ประมาณ 16 รอบ และบน ISS จะมีนักบินอวกาศประจำอยู่ข้างบนคราวละ 2-3 คนเป็นประจำ นับตั้งแต่เริ่มโครงการเป็นต้นมา( 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2543 ) อยู่ประจำในอวกาศ ผลัดละ 6 เดือน และมียานเสบียงคอยส่งน้ำและเสบียง ทุกๆ 3 เดือน โดยรัสเซีย
และโดยมากแล้วการติดตามการโคจรของ ISS นั้น ก็มีหลายกลุ่มที่สนใจครับ เช่น นักวิทยุสมัครเล่นของไทยจะมีบางกลุ่มที่คอยติดตามอยู่เพราะว่า สามารถใช้คลื่นความถี่ในย่านนักวิทยุสมัครเล่นติดต่อกับนักบินอวกาศได้ด้วย หรือจะใช้กล้องโทรทรรศน์หรืออาจจะเป็นกล้องถ่ายรูปที่มีกำลังขยายสูงในระดับนึงมองและถ่ายรูปเห็น ISS ขณะโคจรผ่านเหนือหัวเราได้อีกด้วยครับ
และการติดตามวงโคจรของ ISS นั้นนอกเหนือจากการติดตามจากเว็บไซต์ด้วยการดูบนคอมพิวเตอร์แล้ว เราสามารถติดตั้งโปแกรม ISS Detector Satellite Tracker บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์จาก Play Store ได้อีกด้วยครับ เพื่อความสะดวกที่ว่าเราสามารถพกพาไปนอกสถานที่ได้อย่างสะดวกครับ
Have you seen the International Space Station? เป็นคำโปรยที่ดูวิทยาศาสตร์มากๆ
เมื่อทำการติดตั้งแล้ว เปิดโปรแกรมกันมาเลยครับ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไว้ด้วยนะครับ การเปิดใช้งานครั้งแรกจะใช้เวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลเริ่มต้นนานสมควร รอกันนิดนึง
เมื่อข้อมูลปรากฏแล้วจะมี Iridium เพิ่มเข้ามาด้วย โดย Iridium เป็นดาวเทียมสื่อสารที่บริษัทเอกชนของสหรัฐผลิตขึ้นเพื่อสร้างเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ครับ
กำหนดค่าการใช้งานกันก่อนครับ โดยเข้าที่ Settings
ในส่วนของ Settings นี้ไม่มีอะไรมากครับ จะเป็นการเตือนและการอัพเดตข้อมูล
เช่นว่า ต้องการให้โปรแกรมทำการอัพเดตข้อมูลทุกๆ เมื่อไรหรือทำการอัพเดตด้วยตนเอง
ในส่วนของ Removal เป็นการลบข้อมูลการโคจรเมื่อ ISS ผ่านไปเป็นเวลาเท่าไร เราจะได้ค้นหาข้อมูลใหม่ๆ เจอได้สะดวกขึ้น
ต้องการให้มีการเตือนแบบสั่นหรือแบบเสียงด้วยหรือไม่ ก็สามารถเลือกได้
โดยการเตือนนั้นก็ตั้งเวลาได้ว่าก่อนถึงเวลาเท่าไร
ที่เหลือเป็นการกำหนดค่าเกี่ยวกับเวลา
ในส่วนของ Filters มีให้เราเลือกว่า ต้องการติดตามดาวเทียมดวงใด ถ้าไม่ต้องการปิดการแสดงผลข้อมูลนั้นได้
มีการเตือนย่อยๆ ให้เลือกด้วย คือ ระยะความสูงต่ำสุด, ความสูงสุดที่เรากำหนดไว้และเส้นทางที่ตาเปล่ามองเห็น
เมื่อกำหนดค่าการใช้งานเรียบร้อยแล้ว มาดูกันครับ วิธีสังเกต ISS ให้เอียงเครื่อง จนวงกลมสีฟ้ามาอยู่ที่ตำแหน่งวงกลม จะเป็นมุมเอียงให้เราเงยหน้าไปที่องศานั้นครับ หรือสังเกตที่มุมล่างขวา จะบอกมุมเอาไว้ว่าเงยกี่องศา ในที่นี้คือ 39.9 องศา
เมื่อเลือกที่แถบ Details จะมีรายละเอียดข้อมูลแบบละเอียดให้เราได้ทราบ
แตะที่รูปตรงกลาง จะแสดงการเคลื่อนแบบเวลาจริง โดยจะแสดงเส้นทางโคจรคือเส้นสีแดง
หรือจะซูมออกมาก็ได้ โดยตำแหน่งของเราคือจุดสีแดง จังหวะกำลังได้เลยครับ วงโคจรล่าสุดของ ISS อยู่ใกล้ๆ พอดี
กลับมาที่หน้ารายละเอียดหลักเทียบกับรูปก่อนหน้าครับ จะมีการเปลี่ยนแปลงของค่าต่างๆ อยู่ตามเวลาเลย เช่น Latitude, Longitude, Direction, Elevation และ Height เพราะว่าระหว่างการโคจรนั้น ISS จะพยายามรักษาระดับการโคจรให้นิ่งที่สุด อาจจะมีแกว่งไปบ้างใน Height ซึ่งก็คือความสูงจากพื้นโลก
ส่วนการเปลี่ยนตำแหน่งตามวงโคจรนั้นก็คือ เปลี่ยน Latitude เอง Longitude นั่นเอง และ Elevation คือมุมเงย ยิ่งไกลออกไปมุมเงยก็จะลดลงเว้นแต่ว่าความสูงเปลี่ยนไปบ้าง
แตะเลือกที่รูปสี่เหลี่ยมด้านบนขวา เป็นการเข้าปฏิทินกำหนดการเตือนเข้าสู่ปฏิทินของเรา
มีรายละเอียดให้ครบในข้อมูลการเตือน ในข้อความแสดงไว้คือ จะผ่านบริเวณที่ผมอยู่อีกครั้ง เวลา 04:42 หรือ ตีสี่ เช้ามืดวันอังคารที่ 8 กันยายน จนถึงเวลา 04:45 ที่จะมองเห็นได้ ในมุมเงย 40 องศา
มาลองดูการติดตามดาวเทียม Iridium กันบ้างครับ คล้ายๆ กันครับ
อันนี้ผมลองดูข้อมูลการโคจรของ ISS ล่วงหน้าของอีกสองวันข้างหน้า มุมเงยเปลี่ยนไปเป็นน้อยลง ก็คือ ตามวงโคจรและตามเวลาที่จะผ่านเหนือหัวของเราครับ
ถ้าต้องการซื้อรายการเสริมก็สามารถทำได้ครับ ราคาไม่แพง มีข้อมูลอื่นๆ เสริมให้ท่านที่สนใจได้เป็นอย่างดี ถ้าซื้อแบบ Combo ก็ถูกหน่อย
หรือจะเลือกซื้อแยกก็ได้ครับ แต่รวมๆ แล้ว ราคาจะแพงกว่าซื้อทีเดียว
สำหรับคุณผู้อ่านที่สนใจทางดาราศาสตร์ผสานกับวิทยาศาสตร์ โปรแกรมนี้น่าสนใจมากครับ ทั้งในการติดตามวงโคจรของ ISS รวมไปถึงท่านที่สนใจการถ่ายภาพเทหวัตถุ ก็สามารถใช้โปรแกรมนี้ในการติดตาม ISS ได้เช่นกัน ไม่แน่นะครับ เราจะได้เห็น ISS ได้ด้วยตามเปล่า รวมไปถึงมีรูปถ่ายของ ISS ที่เราสามารถถ่ายมาได้เป็นของตัวเอง นอกเหนือจากที่เราเห็นจากคนอื่นหรือจากอินเตอร์เน็ต เป็นความภูมิใจจากสิ่งที่เราสนในได้เป็นอย่างดีเลยครับ