News & Update

แกะเครื่องส่องข้างใน Nintendo Switch มีอะไรบ้าง

Nintendo Switch

เป็นธรรมเนียมของโลกไอทีไปแล้วเวลามีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกวางจำหน่าย ก็จะมีคนนำมาแกะดูกระบวนการผลิตและการออกแบบ ล่าสุดก็แกะ Nintendo Switch มาดูกันข้างในแล้ว

เป็นธรรมเนียมของโลกไอทีไปแล้วเวลามีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกวางจำหน่าย ก็จะมีคนนำมาแกะดูกระบวนการผลิตและการออกแบบข้างใน ของเล่นชิ้นล่าสุดที่ทุกคนอยากจะรู้ว่าข้างในมีอะไรบ้างก็คือ Nintendo Switch นั่นเอง

Nintendo Switch

ทางเว็บ fictiv บริษัทที่ให้บริการด้าน 3D Printing ก็เลยลองแกะดูชิ้นส่วนประกอบทุกชิ้นของ Nintendo Switch ตอบความต้องการของคนที่อยากรู้อยากเห็นนั่นเอง

Nintendo Switch Joycon

JoyCons

จอยคอน ก็คืออุปกรณ์ที่เราใช้บังคับในการเล่นเกมส์นั่นเอง จุดเด่นก็คือเราสามารถถอดชิ้นส่วนแยกออกจากกันได้ หรือจะประกอบให้อยู่ด้วยกันก็ได้ โดยจะเสียบกับกริปแบบในภาพ หรือติดบนตัวเครื่อง Nintendo Switch ก็ได้เช่นกัน

การแกะจอยคอนนั้นง่ายกว่าที่คิดมาก ด้านหลังมีเพียงสกรูว Y-Tip สี่ตัวเท่านั้น เมื่อแกะออกหมดก็จะสามารถดึงออกมาได้ทันที

แม้จะแกะไม่ยากแต่ก็ต้องระวังสายแพด้วย ดึงปุบปับจะขาดเอาได้

พื้นที่ข้างในจอยคอนเกือบทั้งหมดเป็นแบตเตอรีขนาด 525 mAh การแกะไม่ค่อยมีความเสี่ยงที่จะทำพังมากนัก อนาคตถ้าจอยแบตเตอรีเสื่อมก็สามารถแกะเปลี่ยนด้วยตัวเองได้ง่ายๆ

ตัวบอดี้จอยคอนมีชิ้นส่วนด้วยกันทั้งหมดสามส่วนได้แก่

  1. ฝาด้านบน
  2. ฝาด้านล่าง
  3. ด้านข้าง

ด้านข้างนี้เองที่ทำหน้าที่เป็นกลไกใส่เข้ากับตัวเครื่องเล่นเกมส์ กริป หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆ โดยเมื่อใส่เข้าที่แล้วก็จะล็อก พร้อมเสียงดังกริ๊บอันเป็นเอกลักษณ์ของ Nintendo Switch

ด้านข้างของจอยมี Light Pipe อยู่ ทำหน้าที่ส่งต่อแสงที่ LED ข้างในจอยสร้างออกไป มีทั้งหมดด้วยกันสี่ตัว มีพลาสติกสีดำใส่ครอบอีกชั้นหนึ่ง ทำให้กริปไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อแล้วแสดงไฟ LED ด้วยตัวเอง

ข้างใต้ปุ่ม SL, SR, Sync จะมีโลหะชิ้นเล็กๆ อยู่บนแผง

เริ่มต้นการแกะจากจอยคอนข้างซ้าย การทำงานนั้นทาง Fictiv บอกว่าไม่ได้ใช้ Conductive Pad Style Switch แล้ว (ปุ่มกดแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า) โดยที่ผ่านมา Nintendo เลือกใช้ตัวส่งข้อมูลแบบนี้กับเครื่องเล่นเกมส์ของตนทุกรุ่น เปลี่ยนมาเป็น Metal Dome Switch แทน โดยจะดีขึ้นหรือแย่ลงนั้นคงต้องรอดูข่าวที่จะได้ยินกันหลังจากนี้ว่าพังง่ายหรือเปล่า แต่สัมผัสเวลากดจะแตกต่างกับเครื่องเล่นในอดีตแน่นอน

ตัวปุ่ม ZL เปลี่ยนมาใช้แบบ Pushbutton กดแล้วยุบลงไปแทน โดยข้างในจะมีสปริงสองตัวเพื่อดัดกลับหลังจากกดเสร็จ และวัดว่าผู้ใช้งานกดไปมากแค่ไหน แตกต่างจากในอดีตที่วัดแค่กดหรือไม่กดเท่านั้น

ตัวจอยสติ๊กจัดว่าเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวกระโดด น้ำหนักลดลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนๆ อีกทั้งยังกันฝุ่นได้ดีมากขึ้นกว่าเดิมด้วย

ข้างในจอยมี Taptic Engine ที่จะสั่นเมื่อผู้ใช้งานตอบสนองกับเกมส์ ทำให้ผู้ใช้งานรู้ว่าใช้งานได้หรือไม่ได้ ไม่ได้ใช้ Rotating Mass Motor เพื่อสั่นเหมือนมือถือในอดีต

อย่างไรก็ตามทาง Nintendo หมายมั่นปั้นมือกับ Taptic Engine ของตัวเองมาก (ใช้ชื่อเรียกว่า HD Rumble) โดยระบุว่าสามารถให้ความรู้สึกได้เหมือนกับเขย่าแก้วน้ำใส่น้ำแข็งจริงๆ อันนี้อธิบายไม่น่าจะได้ ต้องลองสัมผัสด้วยตัวเอง

สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในจอยบังคับยุคนี้ก็คือตัวกล้อง IR (Infrared) และตัวอ่าน NFC นั่นเอง โดยมีการใช้งานในเกมส์อย่าง 1-2 Switch ด้วย แต่จะมีเกมส์อื่นๆ ใช้งานไหมคงต้องรอดูกันอีกที ส่วน NFC นั้นคาดว่าน่าจะมีแต่เกมส์ของ Nintendo เองที่ใช้ (อ่าน Amiibo)

ตัวแพคเกจจิ้งของจอยนั้นทำมาจาก PC-ABS พลาสติก มีความหนาเพียง 1.1 มิลลิเมตรเท่านั้น แต่ก็ถือว่างานดี วัสดุผิวด้านนอกให้ความรู้สึกด้าน แต่เมื่อแกะมาข้างในกลับสากเหมือนพลาสติกทั่วๆ ไป

ชิ้นส่วนด้านบนและด้านล่างนั้นมีตัวล็อกขบกันอยู่ ทำให้ชิ้นส่วนไม่เคลื่อนจากการใช้งาน

สายรัดข้อมือ

สายรัดข้อมือนั้นจัดเป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้งานกับ JoyCon เพื่อความปลอดภัย เช่นเดียวกันกับสมัยเปิดตัว Wiimote แล้วต้องคล้องมือกันหลุดลอย

บนชิ้นส่วนด้านในภาพลาสพลาสติกเป็นลายตะเข็บ ซึ่งเกิดจากการไหลของเรซิ่นขณะหล่อชิ้นส่วนประเภทที่มีช่อง หรือรู

Light Pipe ข้างในสี่ชิ้นมีลักษณะคล้ายกับสปริง ทาง Fictiv คาดว่าทำให้กระบวนการประกอบชิ้นส่วนยืดหยุ่นขึ้น โดยมีทั้งหมดสี่ชิ้นในแผง

ปุ่มบนสายคล้อง มีด้วยกันสองปุ่ม เนื่องจากตัวสายคล้องจะบัง SL และ SR ที่อยู่ข้างในจอยคอนทำให้ต้องมีกลไกกดจากข้างนอกได้ ข้างในเป็นสปริงธรรมดา

รางแผ่นเหล็ก เป็นตัวที่สัมผัสกับจอยคอนโดยตรง มีหน้าตาเหมือนตัว U หนาเพียง 1.1 มิลลิเมตรเท่านั้น

ตัวล็อกเชือกรัดข้อมือจะเป็นพลาสติกสีขาวขนาดจิ๋วที่เห็น เมื่อกดให้ล็อกแล้วสายจะอยู๋นิ่งๆ ไม่เคลื่อนไหวแม้จะบังเอิญไปกดโดนปุ่ม Lock อีกรอบอย่างไม่ตั้งใจก็ตาม

แน่นอนว่าสายรัดข้อมือกับจอยคอนนั้นออกแบบมาพอดีกันอย่างมาก กลไกต่างๆ ล้วนถูกออกแบบทางวิศวกรรมมาเป็นอย่างดี

จอยคอน กริป

ตัวกริปนั้นออกแบบมาเพื่อให้เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ และความสะดวกในการใช้งานเท่านั้น ตัวกริปไม่มีวงจรภายในอะไรเลย และถือว่าเป็นงานออกแบบที่ไม่น่าเชื่อจริงๆ

ตัวบอดี้นั้นทำมาจากพลาสติก ABS หนากว่าตัวจอยคอนราวๆ สองเท่าเนื่องจากจะทำให้แน่นในมือ ไม่ยวบยาบหรือบอบบางเกินไป (พลาสติกประเภท ABS ของกริปนั้นถูกกว่า PC-ABS ที่ใช้ทำจอยคอนพอควร แม้ที่ความหนาเท่ากันอาจจะไม่ดีเท่า) แต่เนื่องจากกริปนั้นทำการเติมเต็มด้วยข้างในที่หนากว่า ทำให้ชดเชยความอ่อนแอของวัสดุได้

ข้างในกริปมีชิ้นส่วนพลาสติกบัมเปอร์คอยลดแรงที่เกิดขึ้น ทำให้จอยคอนที่ติดตั้งไม่เสียหายจากการใช้งาน หรือติดแน่นจนเกินไป

ข้างในกริปมี Light Pipe ทำมุม 90 องศา แปลว่าเมื่อเราติดตั้งจอยคอนบนกริป มันจะสว่างขึ้น โดยไฟมาจากจอยคอนล้วนๆ

ตัวเครื่อง Nintendo Switch

ในที่สุดก็มาถึงตัวเครื่องเสียที ถือว่าเป็นแทบเล็ตที่มีขนาดพอควร ด้านข้างมีช่องสไลด์ติดจอยคอน ลงสีดำเอาไว้เพื่อให้แนบเนียนไปกับตัวเครื่อง

ก่อนจะเข้าไปข้างใน มาดูรอบๆ กันสักหน่อยว่าหน้าตาเป็นยังไงบ้าง เริ่มจากลำโพงด้านหลัง

เมื่อแกะฝาหลังออกมาแล้ว ชะอ้าว ลำโพงที่เห็นนั้นเป็นเพียงภาพลวงหลอกตาที่ปู่นินสร้างขึ้นมาให้ฉันตายใจ เพราะความจริงแล้วตรงที่เราเข้าใจว่าเป็นลำโพง มันเป็นเทปสีดำเจาะรูเฉยๆ ตัวลำโพงจริงๆ ไม่ได้อยู่ตรงนี้ด้วยซ้ำ

ตัวฝาด้านหลังนั้นบางมาก

ขาตั้งของ Nintendo Switch นั้นค่อนข้างบางมาก ราวๆ 1.4 มิลลิเมตรเท่านั้น ทำมาจากกระจกและไนลอน วิศวกรน่าจะออกแบบมาให้แข็งแรง รองรับน้ำหนักได้ แต่ขณะเดียวกันก็ปรับความทนทานของวัสดุไปด้วย

ตอนนี้วางฝาหลังลงแล้วมองตัวเครื่องกันบ้าง ด้านหลังจะมีแผ่นเหล็กวางครบอีกชั้น เมื่อแกะออกมาก็จะพบแผงวงจร (ที่เห็นม่วงๆ คือ Thermal Paste)

แบตเตอรีมีขนาด 4,310 mAh ขนาดพอๆ กับของ iPad Mini 4 เลยทีเดียว แต่อันนั้นมีแบตเตอรี 5,124 mAh

ตัวแผ่นโลหะใช้แมกนีเซียม ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง และระบายความร้อน

เมื่อแกะมาจะพบว่ามีการใช้ Thermal Paste ลงบนตำแหน่งของ GPU น่าจะเพื่อระบายความร้อนที่เกิดขึ้นให้ออกไปเร็วที่สุดนั่นเอง

ฮึทไปป์ต่อจากแผงวงจรหลัก ผ่านพัดลมและไปสิ้นสุดตรงฮีทซิ้งค์ โดยใช้เลเซอร์ยิ่งเชื่อมฮีทไปป์กับแผ่นโลหะเป็นชิ้นเดียวกัน

ตัวพัดลมนั้นมีขนาดใหญ่กว่าที่คาดเอาไว้มาก แต่เสียงค่อนข้างเบากว่าที่คิดตอนที่ลองเอามือปัดๆ ให้หมุนดู หลังจากประกอบกลับไปแล้วฟังเสียงตอนมันทำงานก็พบว่าช่างหมุนได้เงียบจนลืมไปเลยว่ามันมีการ์ดจอและพัดลมอยู่ข้างใน

คราวนี้มาดูแผงวงจรหลักบ้าง ซึ่งไม่มีอะไรใหม่ มันคือ Nvidia Tegra X1 ที่อยู๋ใน Google Nexus 9 และ Nvidia Shield Tablet, Nvidia Shield K1, Nvidia Shield TV นั่นเอง

Nintendo Switch Dock

ตัว Dock เป็นฐานติดตั้งเครื่องก็ว่างเปล่าเช่นกัน แผงวงจรจริงๆ ทำหน้าที่กระจายพอร์ต USB ทั้ง USB A ด้านหลัง, ปลั๊กไฟ และพอร์ต HDMI ทั้งหมดเชื่อมกับตัวเครื่องด้วยพอร์ต USB Type C อีกทีหนึ่ง ถือว่า Nintendo ครั้งนี้ทำการบ้านมาดี ใช้เทคโนโลยีที่เริ่มเข้าที่ได้เต็มรูปแบบในระดับที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน


แน่นอนว่าบอดี้พลาสติกนั้นใช้ ABS Plastic เนื่องจากไม่ใช่ส่วนที่สำคัญนักนั่นเอง

สรุป

ถ้าย้อนกลับไปพิจารณาเครื่องเล่นเกมส์ของ Nintendo ในยุคต่างๆ จะพบว่าจอยบังคับนั้นล้วนแต่มีขนาดเล็ก การเปลี่ยนแปลงจนเกิดเป็นจอยคอนครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่มากจริงๆ รวมไปถึงการใช้รูปแบบ Low Profile Joystick ถือเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับ Nintendo ในรอบสามสิบปีก็ว่าได้

ตัวกริปนั้นก็น่าทึ่ง เห็นอย่างนั้นมันแทบจะเป็นกลไกล้วนๆ ไม่มีวงจรอะไรอยู่ข้างในเลยแม้แต่น้อย ขนาดไฟ LED ที่เห็นยังใช้หลอดไฟจก จอยคอนเลยด้วยซ้ำ เมื่อลองแกะเครื่องแล้วก็พบว่าผู้ที่ควรจะได้รับคำสรรเสริญไม่ใช่แค่ดีไซน์เนอร์หรือผู้ออกแบบการใช้งานเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงวิศวกรที่ร่วมกันออกแบบการใช้งาน และการผลิตที่ทำออกมาได้เรียบง่ายจนเหลือเชื่อ อีกทั้งยังทำให้ราคาต่ำได้อีกมากเมื่อเทียบกับเครื่องคอนโซลอื่นๆ

ที่มา – Fictiv

To Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณและสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • GA

    Google Analytic

Save