ขณะที่เทรนด์การทำงานจากที่บ้านหรือ “Work From Home” กับการทำงานแบบ BYOD (Bring Your Own Device) คือการนำอุปกรณ์ไอทีส่วนตัวมาใช้ในการทำงานร่วมกันได้รับความนิยมสูงขึ้นมาก แน่นอนว่าการใช้งานลักษณะนี้ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อีกทั้ง ยังเป็นการเปิดช่องโหว่ให้เหล่าอาชญากรไซเบอร์หรือแฮกเกอร์ฉวยโอกาสสร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตหลายรูปแบบ ทั้งการตั้งเว็บไซต์ปลอม แพร่มัลแวร์ผ่านอีเมลฟิชชิ่ง (Phishing) หรือเผยแพร่ข้อมูลปลอม (Fake news)
นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้[1] ได้ตรวจพบว่าเหล่าอาชญากรไซเบอร์กลุ่มนี้ใช้ความหวาดกลัวต่อโรคระบาดของคน โดยการปลอมแปลงเอกสารให้มีลักษณะคล้ายกับอีเมล์ของหน่วยงานภาครัฐ แล้วเมื่อไรที่ผู้ใช้กดเปิดลิงก์ที่แนบมาก็อาจถูกดึงข้อมูลไปได้ ดังนั้นการที่พนักงานออฟฟิศส่วนมากที่ใช้สมาร์ทดีไวซ์ส่วนตัวมาเรียกใช้ข้อมูลของหน่วยงาน อาทิ อ่านอีเมล์ของหน่วยงานผ่านแท็บเล็ตส่วนตัว ใช้โปรแกรมแชทแอปพลิเคชั่นพูดคุยเรื่องเนื้อหาในการทำงาน รวมถึงส่งข้อมูลสำคัญของบริษัทผ่านสมาร์ทโฟนส่วนตัวก็อาจเกิดอันตรายต่อการโจรกรรมข้อมูลได้
สมาร์ทดีไวซ์แบบไหนที่มั่นใจได้ในเรื่อง ‘ความปลอดภัย’
ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ ผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลก ให้ความสำคัญมากกับความปลอดภัยของข้อมูลที่มาพร้อมกับสมาร์ทดีไวซ์ทุกชนิดบนทั้งสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต แน่นอนว่า ข้อดีของการใช้สมาร์ทดีไวซ์ของตนเองในการทำงาน คือ ความสะดวก รวดเร็วในการเข้าถึงทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบริษัท ไม่ต้องถ่ายโอนไฟล์ไปมา รวมถึงความคุ้นเคยในการใช้อุปกรณ์ แต่อย่างไรก็ตามความสะดวกสบายเหล่านี้อาจมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญๆ ดังนั้น ข้อแนะนำการเลือกซื้อสมาร์ทดีไวซ์ ที่มาใช้งานมีดังนี้
- มีแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัย: สมาร์ทโฟนควรได้รับการออกแบบให้มีความปลอดภัยตั้งแต่วินาทีแรกที่เปิดเครื่อง โดยควรเป็นแพลตฟอร์มที่ถูกฝังอยู่ในเครื่องตั้งแต่ขั้นตอนการผลิต และมีระบบมาตรฐานความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดย “ซัมซุง น็อกซ์” (Samsung Knox) มีระบบความปลอดภัยในระดับเทียบเท่ากับที่ใช้ในหน่วยงานความมั่นคง (Defense-grade security) ที่ประกอบไปด้วยการป้องกันและกลไกด้านความปลอดภัยที่ซ้อนกันหลายระบบช่วยป้องกันการบุกรุก มัลแวร์ และภัยคุกคามอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมีมากับสมาร์ทโฟนและแท๊บเล็ตของซัมซุง กาแลคซี่ ทุกรุ่น
- มีการยืนยันตัวตนแบบไบโอเมตริกซ์: การพกพาสมาร์ทดีไวซ์ไปด้วยทุกที่อาจมีความเสี่ยงที่อุปกรณ์จะ สูญหายหรือถูกขโมยข้อมูลสำคัญ ดังนั้นการยืนยันตัวตนแบบไมโอเมตริกซ์หรือการพิสูจน์ตัวตนด้วยการจดจำใบหน้าและลายนิ้วมือ จะช่วยให้มั่นใจว่าคุณเป็นคนเดียวที่ใช้งานสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นได้ อีกทั้งยังง่ายยิ่งขึ้นเมื่อใช้งานร่วมกับ Samsung Pass ที่จะช่วยจดจำพาสเวิร์ดสำคัญ ให้คุณเข้าถึงการใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัย เพียงแค่ใช้การมองหรือสัมผัส ผ่านการทำงานของเทคโนโลยี FIDO (Fast Identity Online) เพื่อให้การตรวจสอบถูกต้องอย่างแท้จริง
- มีพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลส่วนตัว: สมาร์ทโฟนถือเป็นอุปกรณ์อเนกประสงค์ เปรียบได้ทั้งเป็นกระเป๋าสตางค์ สมุดโทรศัพท์ อัลบั้มภาพถ่าย คอมพิวเตอร์พกพา ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ผู้ใช้งานควรสร้างพื้นที่เข้ารหัสแยกเพื่อสร้างความเป็นส่วนตัวอีกชั้นหนึ่ง โดย Secure Folder จะเก็บข้อมูลของคุณเพื่อให้คุณคนเดียวเท่านั้นที่จะเข้าใช้งานส่วนที่เป็นส่วนตัวที่สุดของโทรศัพท์
- สามารถการป้องกันการเชื่อมต่อที่อันตราย: การเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi สาธารณะ อาจทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีเห็นข้อมูล ดักจับ แอบอ้างหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ใช้ได้ จึงควรเลือกสมาร์ทโฟนที่มี Secure Wi-Fi เพื่อเข้ารหัส คุมปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตขาออกและปิดการใช้งานแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ที่ติดตาม จะช่วยให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยในการเชื่อมต่อไร้สายสาธารณะโดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีการละเมิดความปลอดภัย
- สามารถแบคอัพข้อมูลยามฉุกเฉิน: เมื่อเกินเหตุไม่คาดฝัน อย่างเช่น เครื่องหายหรือโดนขโมย การที่เรายังสามารถติดตามเครื่องหรือจัดการกับข้อมูลในเครื่องได้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดย Find My Mobile service ของซัมซุงจะอนุญาตให้คุณเข้าถึงตำแหน่งของโทรศัพท์ได้ แบคอัพข้อมูลไปยัง Samsung Cloud, ล็อคหน้าจอ, ล็อคโทรศัพท์ และถ้าคุณต้องการยังสามารถลบข้อมูลทั้งหมดได้อีกด้วย
เพราะความปลอดภัยในข้อมูลของลูกค้าคือสิ่งที่ซัมซุงให้ความสำคัญมากที่สุด ดังนั้นผู้ใช้จึงมั่นใจได้ว่าหากคุณเลือกสมาร์ทโฟนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ รับรองได้เลยว่าคุณจะหมดกังวลเรื่องเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมทั้งได้ขยายขีดจำกัดการทำงานจากที่บ้านให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิม
[1] https://www.kaspersky.com/blog/coronavirus-corporate-phishing/34445/